ฟาร์มยั่งยืนเพื่อโลกยุคใหม่ ตอน พืชผลกับโลกร้อน และเกษตรกรรมไม่ต้องพึ่งเชื้อเพลิง

ออกอากาศ12 ต.ค. 65

*** รายการโลกหลากมิติ เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3

  • ฟาร์มยั่งยืนเพื่อโลกยุคใหม่ ตอน พืชผลกับโลกร้อน (Farming for the Planet: Ep.12)

เลนทิลเป็นพืชที่ปลูกง่าย เติบโตได้แม้ในพื้นที่แห้งแล้ง เมล็ดของมันเต็มไปด้วยโปรตีนและพลังงาน สารอาหารและจุลธาตุ มีหลักฐานพบว่ามนุษย์กินเลนทิลมากว่า 13,000 ปี เมื่อกินร่วมกับธัญพืชเต็มเมล็ดหรือข้าว จะได้มื้ออาหารที่สมดุล เลนทิลสะสมไนโตรเจน

ในอากาศไว้ที่ปมราก การปลูกพืชชนิดนี้จึงเป็นการเติมปุ๋ยตามธรรมชาติและเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชหมุนเวียน เลนทิลจึงอาจเป็นพืชมหัศจรรย์ที่จะช่วยมนุษยชาติจากความอดอยากหากลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง นักวิจัยกำลังคิดค้นทำให้เลนทิลมีผลผลิตสูง ทนต่อความแห้งแล้งและโรคพืช ปัจจุบันแคนาดาเป็นประเทศผู้ผลิตเลนทิลรายใหญ่ที่สุด ทั้งที่ประเทศนี้แทบไม่บริโภคถั่วเมล็ดแห้ง ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งไปขายที่อินเดียซึ่งเลนทิลเป็นอาหารหลัก การปลูกเลนทิลในแคนาดาใช้การตกแต่งพันธุกรรมและสารเคมีปริมาณมาก เพื่อทำเป็นอุตสาหกรรมทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นในอินเดีย เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากขึ้นที่ปลูกเลนทิลเป็นพืชหมุนเวียน โดยจะหว่านพันธุ์ดั้งเดิมอย่างหลากหลายเพื่อสร้างพันธุ์ใหม่ ที่เข้ากับลมฟ้าอากาศในภูมิภาคนั้น ๆ

  • ฟาร์มยั่งยืนเพื่อโลกยุคใหม่ ตอน เกษตรกรรมไม่ต้องพึ่งเชื้อเพลิง (Farming for the Planet: Ep.13)

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ "การปฏิวัติเขียว" ถูกมองว่าเป็นทางออกของเกษตรกรรม ทำให้ในทศวรรษ 1960 เกิดพื้นที่เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่จำนวนมาก ที่เหล่านี้ทำการเกษตรโดยอาศัยปุ๋ยวิทยาศาสตร์และยาฆ่าแมลงใช้เครื่องจักรกลที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และผลผลิตช่วงแรกจะสูงมาก

แต่ตอนนี้เกษตรกรและนักวิทยาศาสตร์ต้องรับมือกับหายนะใหญ่หลวงที่ตามมา ทั้งดินเสื่อมคุณภาพ น้ำใต้ดินปนเปื้อน ไม่ได้ผลผลิตตามต้องการนักวิจัยด้านการเกษตรทั่วโลกกำลังพัฒนามองหาแนวทางใหม่ รูปแบบหนึ่งที่พอเป็นไปได้ก็คือ "วนเกษตร" โดยจะปลูกพืชผลในพื้นที่เดียวกับไม้ยืนต้น พืชแต่ละชนิดต้องการแสงและอาหารต่างกันและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน การทำเกษตรแบบนี้จึงพึ่งพาสารเคมีน้อยมาก ประเทศคิวบา ในทะเลแคริบเบียน พบว่าการทำเกษตรโดยไม่พึ่งสารเคมีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เพราะการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ประเทศนี้ต้องเจอวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ วิกฤตพลิกสู่โอกาสด้วยการทำสวนเกษตรในเมือง เพื่อผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษคุณภาพดีสำหรับประชากร

สิ่งที่เกิดจากความจำเป็นในประเทศกำลังพัฒนาตอนนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับประเทศในโลกตะวันตก การปฏิวัติเกษตรกรรมในปัจจุบัน ศึกษาคิวบาเป็นตัวอย่างคนในชุมชนปลูกพืชผักผลไม้กันเอง เพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทพลังงานขนาดใหญ่

ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 22.30 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

*** รายการโลกหลากมิติ เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3

  • ฟาร์มยั่งยืนเพื่อโลกยุคใหม่ ตอน พืชผลกับโลกร้อน (Farming for the Planet: Ep.12)

เลนทิลเป็นพืชที่ปลูกง่าย เติบโตได้แม้ในพื้นที่แห้งแล้ง เมล็ดของมันเต็มไปด้วยโปรตีนและพลังงาน สารอาหารและจุลธาตุ มีหลักฐานพบว่ามนุษย์กินเลนทิลมากว่า 13,000 ปี เมื่อกินร่วมกับธัญพืชเต็มเมล็ดหรือข้าว จะได้มื้ออาหารที่สมดุล เลนทิลสะสมไนโตรเจน

ในอากาศไว้ที่ปมราก การปลูกพืชชนิดนี้จึงเป็นการเติมปุ๋ยตามธรรมชาติและเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชหมุนเวียน เลนทิลจึงอาจเป็นพืชมหัศจรรย์ที่จะช่วยมนุษยชาติจากความอดอยากหากลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง นักวิจัยกำลังคิดค้นทำให้เลนทิลมีผลผลิตสูง ทนต่อความแห้งแล้งและโรคพืช ปัจจุบันแคนาดาเป็นประเทศผู้ผลิตเลนทิลรายใหญ่ที่สุด ทั้งที่ประเทศนี้แทบไม่บริโภคถั่วเมล็ดแห้ง ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งไปขายที่อินเดียซึ่งเลนทิลเป็นอาหารหลัก การปลูกเลนทิลในแคนาดาใช้การตกแต่งพันธุกรรมและสารเคมีปริมาณมาก เพื่อทำเป็นอุตสาหกรรมทำให้เกิดการต่อต้านขึ้นในอินเดีย เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากขึ้นที่ปลูกเลนทิลเป็นพืชหมุนเวียน โดยจะหว่านพันธุ์ดั้งเดิมอย่างหลากหลายเพื่อสร้างพันธุ์ใหม่ ที่เข้ากับลมฟ้าอากาศในภูมิภาคนั้น ๆ

  • ฟาร์มยั่งยืนเพื่อโลกยุคใหม่ ตอน เกษตรกรรมไม่ต้องพึ่งเชื้อเพลิง (Farming for the Planet: Ep.13)

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ "การปฏิวัติเขียว" ถูกมองว่าเป็นทางออกของเกษตรกรรม ทำให้ในทศวรรษ 1960 เกิดพื้นที่เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่จำนวนมาก ที่เหล่านี้ทำการเกษตรโดยอาศัยปุ๋ยวิทยาศาสตร์และยาฆ่าแมลงใช้เครื่องจักรกลที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และผลผลิตช่วงแรกจะสูงมาก

แต่ตอนนี้เกษตรกรและนักวิทยาศาสตร์ต้องรับมือกับหายนะใหญ่หลวงที่ตามมา ทั้งดินเสื่อมคุณภาพ น้ำใต้ดินปนเปื้อน ไม่ได้ผลผลิตตามต้องการนักวิจัยด้านการเกษตรทั่วโลกกำลังพัฒนามองหาแนวทางใหม่ รูปแบบหนึ่งที่พอเป็นไปได้ก็คือ "วนเกษตร" โดยจะปลูกพืชผลในพื้นที่เดียวกับไม้ยืนต้น พืชแต่ละชนิดต้องการแสงและอาหารต่างกันและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน การทำเกษตรแบบนี้จึงพึ่งพาสารเคมีน้อยมาก ประเทศคิวบา ในทะเลแคริบเบียน พบว่าการทำเกษตรโดยไม่พึ่งสารเคมีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เพราะการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ประเทศนี้ต้องเจอวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ วิกฤตพลิกสู่โอกาสด้วยการทำสวนเกษตรในเมือง เพื่อผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษคุณภาพดีสำหรับประชากร

สิ่งที่เกิดจากความจำเป็นในประเทศกำลังพัฒนาตอนนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับประเทศในโลกตะวันตก การปฏิวัติเกษตรกรรมในปัจจุบัน ศึกษาคิวบาเป็นตัวอย่างคนในชุมชนปลูกพืชผักผลไม้กันเอง เพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทพลังงานขนาดใหญ่

ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 22.30 - 23.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย