ผู้ใหญ่เจี๊ยบ เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเธอคือผู้ใหญ่บ้านผู้หญิงคนแรกของหมู่บ้านนี้ นอกจากบทบาทผู้นำชุมชน เธอยังเป็นแม่ค้าของเก่ารับซื้อขยะรีไซเคิล และที่สำคัญคือเกษตรกรผู้มากความสามารถ
เส้นทางชีวิตของเธอไม่ธรรมดา จบปริญญาโททางด้านรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง เคยทำงานบริษัท แต่รู้สึกว่าชีวิตวนเวียนซ้ำซาก จึงตัดสินใจลาออกมาเปิดร้านรับซื้อของเก่า และในที่สุดก็ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตามที่เธอเล่าว่า
"ช่วงจังหวะชีวิตมันเป็นช่วงที่ผู้ใหญ่บ้านเก่าใกล้จะหมดวาระ พี่เหมือนอยากให้หมู่บ้านเนี่ยมีความเจริญ เอาความรู้ความสามารถของตัวเองมาทำอะไรที่นี่ เปรียบเสมือนเป็นบ้านเกิดของตัวเอง"
การเป็นผู้ใหญ่บ้านผู้หญิงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะชาวบ้านในพื้นที่มีความเชื่อว่าผู้ใหญ่บ้านควรเป็นผู้ชายเท่านั้น และมีความกังวลว่าผู้หญิงตัวเล็กจะทำงานหนักอย่างการตรวจตราหมู่บ้านในยามวิกาลได้อย่างไร แต่ด้วยความมุ่งมั่นและความสามารถ เธอก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าเธอทำได้
สวนของผู้ใหญ่เจี๊ยบมีพื้นที่ 7 ไร่ เป็นสวนเกษตรผสมผสานที่ปลูกทุกอย่างตั้งแต่ มะพร้าว, กล้วย, ชะอม และผักสวนครัวนานาชนิด เธออธิบายว่า
"พี่ปลูกทุกอย่าง มะพร้าว, กล้วย, ชะอม คือพืชผักสวนครัวทุกอย่างที่กินทุกอย่างที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน"
ภายในสวนมีบ่อน้ำขนาดใหญ่สำหรับกักเก็บน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงปลาหลากหลายชนิด ทั้งปลาหมอ, ปลาตะเพียน และปลานิล นอกจากนี้ยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้คนเข้ามาศึกษาดูงาน และมีโซนกิจกรรมสำหรับเด็ก ๆ ได้เล่นสนุกอีกด้วย
ผู้ใหญ่เจี๊ยบเป็นตัวอย่างของเกษตรกรยุคใหม่ที่นำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ดังเช่น
ระบบสมาร์ตฟาร์มโซนเชื่อมต่อกับไวไฟ สามารถรดน้ำอัตโนมัติ และวัดความชื้นในดินได้
แปลงผักยกแคร่ มีหลังคาเป็นตัวป้องกันเวลาฝนตกหนัก ผักไม่เสียหาย โครงสร้างทั้งหมดเป็นโครงเหล็ก โครงเต็นท์ เก่าที่นำมาประยุกต์
ภายในลังโฟมใช้วิธีการปลูกผักแบบระบบไฮโดรโปนิกส์แบบง่าย ๆ ใช้น้ำแทนดิน และเติมจุลินทรีย์ธรรมชาติ
ตอนแรกที่ผู้ใหญ่เจี๊ยบพยายามชักชวนชาวบ้านให้ปลูกผักสวนครัว เพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบในหมู่บ้าน แต่กลับถูกปฏิเสธ
"พี่ไปชวนให้เขาทำ เขาไม่ทำหรอก เขาก็บอกว่าเขาไปทำงานมาก็เหนื่อยแล้ว แล้วผู้ใหญ่ยังจะมาให้เขาปลูกอีกเหรอ ซื้อเอา 20-30 ก็พอแล้ว ไม่เห็นต้องมานั่งปลูกเอง เสียเวลา"
แต่ผู้ใหญ่เจี๊ยบไม่ย่อท้อ เธอตัดสินใจลงมือทำเองก่อน
"ถ้างั้นเราลองมาทำสักหน่อยไหม เขาจะได้เห็นว่าเราก็ทำเหมือนกัน... ใครไม่ทำไม่เป็นไร เดี๋ยวเราทำเอง"
เมื่อชาวบ้านหันมาทำเกษตรกันมากขึ้น ผู้ใหญ่เจี๊ยบจึงคิดต่อยอดสร้างรายได้ให้ชาวบ้านอย่างยั่งยืน โดยลองเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ แล้วก็มีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วก็ให้ชาวบ้านมาเป็นวิทยากร นอกจากนี้ยังเชิญวิทยากรมาสอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดวัยรุ่น นอกจากนี้ผู้ใหญ่เจี๊ยบยังเน้นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สิ่งที่ผู้ใหญ่เจี๊ยบให้ความสำคัญมากคือการปลูกฝังทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเกษตรให้กับเด็ก ๆ เธอให้เด็ก ๆ เข้ามาทำกิจกรรมในสวน เช่น อุ้มไก่ เก็บไข่ และเรียนรู้การปลูกผัก
จากเรื่องราวของผู้ใหญ่เจี๊ยบและชุมชนของเธอ แสดงให้เห็นว่าการทำเกษตรสามารถเป็นที่มาของความสุขและความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง ผู้ใหญ่เจี๊ยบเองได้ค้นพบความรักในอาชีพเกษตรกร การเกษตรไม่เพียงแต่สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้กับชาวบ้าน แต่ยังสร้างความสามัคคีในชุมชน และที่สำคัญคือสร้างความสุขทั้งต่อตัวเกษตรกรเองและผู้ที่ได้บริโภคผลผลิตที่ปลอดภัย หากคุณกำลังมองหาอาชีพที่สร้างความสุขและความยั่งยืน การทำเกษตรอาจเป็นคำตอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก แม้แต่พื้นที่หลังบ้านหรือริมรั้ว ก็สามารถเริ่มต้นปลูกความสุขให้กับตัวเองและครอบครัวได้แล้ว เฉกเช่นที่ผู้ใหญ่เจี๊ยบได้ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง
ติดตามชมรายการมหาอำนาจบ้านนา วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.05 - 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
ผู้ใหญ่เจี๊ยบ เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเธอคือผู้ใหญ่บ้านผู้หญิงคนแรกของหมู่บ้านนี้ นอกจากบทบาทผู้นำชุมชน เธอยังเป็นแม่ค้าของเก่ารับซื้อขยะรีไซเคิล และที่สำคัญคือเกษตรกรผู้มากความสามารถ
เส้นทางชีวิตของเธอไม่ธรรมดา จบปริญญาโททางด้านรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง เคยทำงานบริษัท แต่รู้สึกว่าชีวิตวนเวียนซ้ำซาก จึงตัดสินใจลาออกมาเปิดร้านรับซื้อของเก่า และในที่สุดก็ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตามที่เธอเล่าว่า
"ช่วงจังหวะชีวิตมันเป็นช่วงที่ผู้ใหญ่บ้านเก่าใกล้จะหมดวาระ พี่เหมือนอยากให้หมู่บ้านเนี่ยมีความเจริญ เอาความรู้ความสามารถของตัวเองมาทำอะไรที่นี่ เปรียบเสมือนเป็นบ้านเกิดของตัวเอง"
การเป็นผู้ใหญ่บ้านผู้หญิงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะชาวบ้านในพื้นที่มีความเชื่อว่าผู้ใหญ่บ้านควรเป็นผู้ชายเท่านั้น และมีความกังวลว่าผู้หญิงตัวเล็กจะทำงานหนักอย่างการตรวจตราหมู่บ้านในยามวิกาลได้อย่างไร แต่ด้วยความมุ่งมั่นและความสามารถ เธอก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าเธอทำได้
สวนของผู้ใหญ่เจี๊ยบมีพื้นที่ 7 ไร่ เป็นสวนเกษตรผสมผสานที่ปลูกทุกอย่างตั้งแต่ มะพร้าว, กล้วย, ชะอม และผักสวนครัวนานาชนิด เธออธิบายว่า
"พี่ปลูกทุกอย่าง มะพร้าว, กล้วย, ชะอม คือพืชผักสวนครัวทุกอย่างที่กินทุกอย่างที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน"
ภายในสวนมีบ่อน้ำขนาดใหญ่สำหรับกักเก็บน้ำใช้ในการเกษตรและเลี้ยงปลาหลากหลายชนิด ทั้งปลาหมอ, ปลาตะเพียน และปลานิล นอกจากนี้ยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้คนเข้ามาศึกษาดูงาน และมีโซนกิจกรรมสำหรับเด็ก ๆ ได้เล่นสนุกอีกด้วย
ผู้ใหญ่เจี๊ยบเป็นตัวอย่างของเกษตรกรยุคใหม่ที่นำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ดังเช่น
ระบบสมาร์ตฟาร์มโซนเชื่อมต่อกับไวไฟ สามารถรดน้ำอัตโนมัติ และวัดความชื้นในดินได้
แปลงผักยกแคร่ มีหลังคาเป็นตัวป้องกันเวลาฝนตกหนัก ผักไม่เสียหาย โครงสร้างทั้งหมดเป็นโครงเหล็ก โครงเต็นท์ เก่าที่นำมาประยุกต์
ภายในลังโฟมใช้วิธีการปลูกผักแบบระบบไฮโดรโปนิกส์แบบง่าย ๆ ใช้น้ำแทนดิน และเติมจุลินทรีย์ธรรมชาติ
ตอนแรกที่ผู้ใหญ่เจี๊ยบพยายามชักชวนชาวบ้านให้ปลูกผักสวนครัว เพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบในหมู่บ้าน แต่กลับถูกปฏิเสธ
"พี่ไปชวนให้เขาทำ เขาไม่ทำหรอก เขาก็บอกว่าเขาไปทำงานมาก็เหนื่อยแล้ว แล้วผู้ใหญ่ยังจะมาให้เขาปลูกอีกเหรอ ซื้อเอา 20-30 ก็พอแล้ว ไม่เห็นต้องมานั่งปลูกเอง เสียเวลา"
แต่ผู้ใหญ่เจี๊ยบไม่ย่อท้อ เธอตัดสินใจลงมือทำเองก่อน
"ถ้างั้นเราลองมาทำสักหน่อยไหม เขาจะได้เห็นว่าเราก็ทำเหมือนกัน... ใครไม่ทำไม่เป็นไร เดี๋ยวเราทำเอง"
เมื่อชาวบ้านหันมาทำเกษตรกันมากขึ้น ผู้ใหญ่เจี๊ยบจึงคิดต่อยอดสร้างรายได้ให้ชาวบ้านอย่างยั่งยืน โดยลองเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ แล้วก็มีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วก็ให้ชาวบ้านมาเป็นวิทยากร นอกจากนี้ยังเชิญวิทยากรมาสอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดวัยรุ่น นอกจากนี้ผู้ใหญ่เจี๊ยบยังเน้นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สิ่งที่ผู้ใหญ่เจี๊ยบให้ความสำคัญมากคือการปลูกฝังทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเกษตรให้กับเด็ก ๆ เธอให้เด็ก ๆ เข้ามาทำกิจกรรมในสวน เช่น อุ้มไก่ เก็บไข่ และเรียนรู้การปลูกผัก
จากเรื่องราวของผู้ใหญ่เจี๊ยบและชุมชนของเธอ แสดงให้เห็นว่าการทำเกษตรสามารถเป็นที่มาของความสุขและความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง ผู้ใหญ่เจี๊ยบเองได้ค้นพบความรักในอาชีพเกษตรกร การเกษตรไม่เพียงแต่สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้กับชาวบ้าน แต่ยังสร้างความสามัคคีในชุมชน และที่สำคัญคือสร้างความสุขทั้งต่อตัวเกษตรกรเองและผู้ที่ได้บริโภคผลผลิตที่ปลอดภัย หากคุณกำลังมองหาอาชีพที่สร้างความสุขและความยั่งยืน การทำเกษตรอาจเป็นคำตอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก แม้แต่พื้นที่หลังบ้านหรือริมรั้ว ก็สามารถเริ่มต้นปลูกความสุขให้กับตัวเองและครอบครัวได้แล้ว เฉกเช่นที่ผู้ใหญ่เจี๊ยบได้ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง
ติดตามชมรายการมหาอำนาจบ้านนา วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.05 - 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง: