ใครเคยมีเพื่อนในโซเชียลมีเดียที่ชอบโพสต์ระบายความรู้สึกด้วยถ้อยคำรุนแรง หรือแสดงความเกรี้ยวกราดตลอดเวลาไหม ไม่ว่าจะเจอเรื่องราวอะไรในชีวิตที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ ไม่ว่าจะถูกขับรถปาดหน้า ถูกแซงคิว หรือขึ้นรถเมล์ผิดสาย ก็มักจะโพสต์ทุกอย่างลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินกรีนเบย์บอกว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้โพสต์ข้อความออกไปก็จะรู้สึกพึงพอใจและบางครั้งก็รู้สึกสะใจด้วยซ้ำ หรือเพื่อนบางคนที่มักโพสต์ข้อความแสดงความท้อแท้ ผิดหวังหรือในทำนองที่ไม่อยากมีชีวิตอีกต่อไปแล้ว และไม่ว่าเราจะพยายามเข้าไปพูดคุย หรือช่วยเหลือเท่าไร ก็ดูเหมือนว่าเพื่อนคนนี้ก็ยังคงโพสต์ข้อความในทำนองนี้อยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ดูเผิน ๆ แล้วจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการชอบโพสต์ ชอบแชร์เรื่องราวตามประสาของคนในโซเชียล แต่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมเหล่านี้อาจหมายถึง ภาวะการเรียกร้องความสนใจ หรือ Attention Seeking แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเพื่อนในโลกออนไลน์ของเรา ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ หรือแค่เรียกร้องความสนใจ ?
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
รู้เท่าทันสื่อ
พฤติกรรม Sharenting การแชร์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย
เมื่อสื่อขยายประเด็นอาจล้ำเส้นจริยธรรม
เมื่อสมาร์ตโฟนเป็นประตูล้วงข้อมูลส่วนตัว
ทำไมเราเปิดใจใช้แอปพลิเคชันหาคู่
รู้ทันปรากฏการณ์ Filter Bubble
รู้เท่าทันภาวะสะเทือนใจรุนแรงจากการเสพสื่อ
ทำไมเราประจานกันบนโลกออนไลน์
การโพสต์เรียกร้องความสนใจ
รู้เท่าทันการออกแบบ News Feed
โฆษณาแฝงในรายการข่าว
ข่าวการเมืองกับภาวะเครียด
การเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ สำคัญอย่างไร
เมื่อสื่อละเมิดสิทธิ์
รู้เท่าทันสื่อ
พฤติกรรม Sharenting การแชร์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย
เมื่อสื่อขยายประเด็นอาจล้ำเส้นจริยธรรม
เมื่อสมาร์ตโฟนเป็นประตูล้วงข้อมูลส่วนตัว
ทำไมเราเปิดใจใช้แอปพลิเคชันหาคู่
รู้ทันปรากฏการณ์ Filter Bubble
รู้เท่าทันภาวะสะเทือนใจรุนแรงจากการเสพสื่อ
ทำไมเราประจานกันบนโลกออนไลน์
การโพสต์เรียกร้องความสนใจ
รู้เท่าทันการออกแบบ News Feed
โฆษณาแฝงในรายการข่าว
ข่าวการเมืองกับภาวะเครียด
การเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ สำคัญอย่างไร
เมื่อสื่อละเมิดสิทธิ์