เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รายการเปิดปมได้นำเสนอเรื่องราวของชาวมานิและชาวจาไฮ ว่าทั้งสองชาติพันธุ์นี้มักถูกคนในสังคมไทยเรียกรวม ๆ กันว่า "เงาะป่าซาไก" ทั้ง ๆ ที่ชาวมานิและชาวจาไฮใช้ภาษาและมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน นอกจากนี้คำว่า "ซาไก" ยังมีความหมายแปลว่า "ทาส" ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกของคนทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะเป็นคำที่ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หลังจากรายการออกอากาศไป ก็มีคุณผู้ชมหลายคนให้ความสนใจ ส่วนใหญ่ส่งความคิดเห็นเข้ามาบอกว่า มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ จากความคิดเห็นสะท้อนได้ว่า เมื่อคุณผู้ชมได้ทำความรู้จักกับชาวมานิและชาวจาไฮมากขึ้น ก็ทำให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเรียกชื่อชาติพันธุ์ที่มีความหมายเชิงตีตราหรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อาจารย์บัณฑิต ไกรวิจิตร เป็นนักมานุษยวิทยาคนหนึ่ง ที่ศึกษาวิจัยเรื่องชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย และพยายามสื่อสารให้คนในสังคมเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ให้ถูกต้อง จึงอยากชวนคุณผู้ชมไปรับฟังมุมมองของอาจารย์ว่า "สื่อ" มีส่วนช่วยทำให้คนในสังคมเข้าใจความแตกต่างหลากหลายอย่างไรบ้าง
ติดตามชมได้ในรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์ เวลา 13.45 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/OpenThaiPBS
รู้เท่าทันสื่อ
พฤติกรรม Sharenting การแชร์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย
เมื่อสื่อขยายประเด็นอาจล้ำเส้นจริยธรรม
เมื่อสมาร์ตโฟนเป็นประตูล้วงข้อมูลส่วนตัว
ทำไมเราเปิดใจใช้แอปพลิเคชันหาคู่
รู้ทันปรากฏการณ์ Filter Bubble
รู้เท่าทันภาวะสะเทือนใจรุนแรงจากการเสพสื่อ
ทำไมเราประจานกันบนโลกออนไลน์
การโพสต์เรียกร้องความสนใจ
รู้เท่าทันการออกแบบ News Feed
โฆษณาแฝงในรายการข่าว
ข่าวการเมืองกับภาวะเครียด
การเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ สำคัญอย่างไร
เมื่อสื่อละเมิดสิทธิ์
รู้เท่าทันสื่อ
พฤติกรรม Sharenting การแชร์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย
เมื่อสื่อขยายประเด็นอาจล้ำเส้นจริยธรรม
เมื่อสมาร์ตโฟนเป็นประตูล้วงข้อมูลส่วนตัว
ทำไมเราเปิดใจใช้แอปพลิเคชันหาคู่
รู้ทันปรากฏการณ์ Filter Bubble
รู้เท่าทันภาวะสะเทือนใจรุนแรงจากการเสพสื่อ
ทำไมเราประจานกันบนโลกออนไลน์
การโพสต์เรียกร้องความสนใจ
รู้เท่าทันการออกแบบ News Feed
โฆษณาแฝงในรายการข่าว
ข่าวการเมืองกับภาวะเครียด
การเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ สำคัญอย่างไร
เมื่อสื่อละเมิดสิทธิ์