อิทธิพลจากตะวันตกกับการใช้มือกินข้าวของไทย

ออกอากาศ21 พ.ย. 62

เรื่องเล่าจากละคร

อิทธิพลจากตะวันตก

กับการใช้มือกินข้าวของไทย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ในแต่ละมื้อของการรับประทานอาหารในครอบครัวของคุณหลวงพิชัยธานี ล้วนเป็นวงล้อมที่ผู้ชมสัมผัสได้จากความสุข เป็นความสุขอันเกิดจากรสชาติอันโอชาที่ภรรยาทั้งสองและลูกสาวทั้งสองของคุณหลวงเป็นผู้ปรุงรสด้วยหัวใจนั่นเอง นอกเหนือจากความน่าลิ้มลองตามดังกล่าว สิ่งที่น่าสนใจคือตัวละครในปลายจวักต่างรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนเช่นเดียวกับในปัจจุบันแล้ว จึงชวนให้ตั้งคำถามว่าตั้งแต่เมื่อไรกันที่คนไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตกจนวัฒนธรรมการใช้มือกินข้าวนั้นหมดสิ้นไป

แต่เดิมเราคนไทยทุกครัวเรือนล้วนล้อมวงกินข้าวกัน จัดอาหารเป็นสำรับ บางบ้านอาจมีการแยกเป็นชายหนึ่งวง หญิงหนึ่งวง ชนชั้นสูง หรือคนฐานะดี ก็จะมีวงสำหรับบ่าวไพร่แยกอีกหนึ่งวง การรับวัฒนธรรมตะวันตกโดยใช้ช้อนกลางและช้อนส้อมคู่กันในการรับประทานอาหารนี้ สยามประเทศรับมาจากสิงคโปร์ โดยเริ่มจากคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาจากสิงคโปร์ จากนั้นจึงเริ่มมีการกินโต๊ะ อันหมายถึงการรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารเกิดขึ้น มีภาชนะเครื่องจานต่าง ๆ ดังเช่นตะวันตก เริ่มมีอาหารฝรั่งเข้ามาบนสำรับอาหาร นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการรับประทานอาหารโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินยังต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันตกมามากมาย เห็นได้ชัดจากพระราชนิพนธ์สารคดีเรื่องไกลบ้าน วัฒนธรรมทันสมัยจากตะวันตกจึงเดินทางมาสู่สยามประเทศ วัฒนธรรมการบริโภคก็พลอยเปลี่ยนแปลงไปด้วย เปลี่ยนจากการเปิบด้วยมือเป็นใช้ช้อนส้อม สันนิษฐานว่าพระองค์ทรงใช้ครั้งแรกจากการเสวยมักกะโรนีที่ประเทศอิตาลี

ต่อมาเมื่อมีการต้อนรับราชอาคันตุกะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างชาติหรือชาวตะวันตก รัชกาลที่ 5 ก็ทรงมีพระราชดำริให้จัดโต๊ะอาหารแบบฝรั่ง มีการตกแต่งสถานที่ให้เป็นเช่นตะวันตกโดยการจัดพุ่มดอกไม้ รวมทั้งการอบรม ฝึกฝนสาวชาววังให้เรียนรู้มารยาทการเสิร์ฟอาหาร เพื่อต้อนรับอาคันตุกะและราชทูตนั่นเอง โดยเครื่องดื่มที่ใช้เสิร์ฟนั้นก็ถอดแบบมาจากตะวันตกคือมีทั้งกาแฟและเหล้า

ครั้นลุมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาสู่ราชสำนักก็เริ่มเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างเต็มที่ จากชาววังสู่ผู้ดี หรือชนชั้นสูง จากข้าราชการสู่ประชาชนคนธรรมดา เหล่านักเรียนนอกครั้นเมื่อกลับมาจากต่างประเทศก็พลอยนำวัฒนธรรมตะวันตกมาเผยแพร่ด้วย ครัวเรือนของขุนนางจึงเริ่มมีภาชนะ ข้าวของเครื่องใช้เฉกเช่นชาวตะวันตก

เมื่อมีภาชนะที่ใช้กินข้าวที่เหมาะสมดังเช่นช้อนกลาง ช้อนส้อม การกินอาหารผ่านการเปิบข้าวโดยใช้มือก็ค่อย ๆ หายไปในที่สุด รวมทั้งเรื่องการจัดงานเลี้ยง เมื่อพระมหากษัตริย์เริ่มเปลี่ยน ชนชั้นสูงก็เปลี่ยนตามพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านชาวบ้านก็เปลี่ยนตามชนชั้นสูงเช่นกัน เมื่อมีงานเลี้ยงจึงมีการทำแกงเฉพาะเทศกาล เช่น สตูลิ้น มัสมั่น หรือแกงกะหรี่ เมนูอาหารเหล่านี้ไม่ได้กินเป็นประจำ แต่จะเป็นอาหารพิเศษเมื่อมีงานเลี้ยงเท่านั้น

ฉะนั้นแล้ว อิทธิพลจากตะวันตกด้านอาหารและการบริโภคนั้น จึงไม่ใช่แค่เรื่องเปลี่ยนการใช้มือกินข้าวเป็นการใช้ช้อนใช้ส้อมเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องการกินโต๊ะ การจัดงานเลี้ยง และเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน ในช่วงแรกอาจยังไม่ได้แพร่หลายมาก แต่ครั้นนานวันเข้าเมื่อวัฒนธรรมตะวันตกดังกล่าวจึงส่งไปยังชาวบ้านเรื่อย ๆ ความนิยมด้านการใช้ช้อนจึงเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า นี่แสดงถึงพระราชวินิจฉัยอันปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวบ้าน ประชาชนก็คำนึงถึงความเหมาะสมด้านการใช้ช้อนใช้ส้อมแทนการใช้มือเช่นกัน ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสุดคือด้านความสะอาดและสุขอนามัยนั่นเอง

ยิ่งในสถานการณ์ที่โรคระบาด เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปในวงกว้างนั้นแล้ว การใช้ช้อน การใช้ส้อม ย่อมดีกว่าการใช้มือเปิบอาหารเข้าปากอย่างแน่นอน ครั้นเมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมด้านการบริโภคเช่นนี้ จึงเป็นอีกกระบวนการที่ทำให้ตะวันตกเห็นว่า สยามประเทศไม่ใช่บ้านเมืองที่ล้าหลัง

จึงเห็นได้ว่าเมื่อศึกษาเรื่องอาหารการกินอย่างถ่องแท้ สิ่งที่ผู้ศึกษาจะได้จึงมีมากกว่าอาหารการกินอย่างแน่นอน


รายการอ้างอิง

  • วชิรญาณ. (2563). พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/-พระราช นิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 พฤษภาคม 2563).
  • สุกัญญา สุจฉายา. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นบ้าน. สัมภาษณ์, 5 มีนาคม 2563.
  • สุกัญญา สุจฉายา, ศาสตราจารย์. (2561). สำรับอาหารไทย จากบ้านสู่วัง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

เรื่องเล่าจากละคร

อิทธิพลจากตะวันตก

กับการใช้มือกินข้าวของไทย

เรียบเรียงโดย : จักร ปานสมัย

ในแต่ละมื้อของการรับประทานอาหารในครอบครัวของคุณหลวงพิชัยธานี ล้วนเป็นวงล้อมที่ผู้ชมสัมผัสได้จากความสุข เป็นความสุขอันเกิดจากรสชาติอันโอชาที่ภรรยาทั้งสองและลูกสาวทั้งสองของคุณหลวงเป็นผู้ปรุงรสด้วยหัวใจนั่นเอง นอกเหนือจากความน่าลิ้มลองตามดังกล่าว สิ่งที่น่าสนใจคือตัวละครในปลายจวักต่างรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนเช่นเดียวกับในปัจจุบันแล้ว จึงชวนให้ตั้งคำถามว่าตั้งแต่เมื่อไรกันที่คนไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตกจนวัฒนธรรมการใช้มือกินข้าวนั้นหมดสิ้นไป

แต่เดิมเราคนไทยทุกครัวเรือนล้วนล้อมวงกินข้าวกัน จัดอาหารเป็นสำรับ บางบ้านอาจมีการแยกเป็นชายหนึ่งวง หญิงหนึ่งวง ชนชั้นสูง หรือคนฐานะดี ก็จะมีวงสำหรับบ่าวไพร่แยกอีกหนึ่งวง การรับวัฒนธรรมตะวันตกโดยใช้ช้อนกลางและช้อนส้อมคู่กันในการรับประทานอาหารนี้ สยามประเทศรับมาจากสิงคโปร์ โดยเริ่มจากคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาจากสิงคโปร์ จากนั้นจึงเริ่มมีการกินโต๊ะ อันหมายถึงการรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารเกิดขึ้น มีภาชนะเครื่องจานต่าง ๆ ดังเช่นตะวันตก เริ่มมีอาหารฝรั่งเข้ามาบนสำรับอาหาร นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการรับประทานอาหารโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินยังต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันตกมามากมาย เห็นได้ชัดจากพระราชนิพนธ์สารคดีเรื่องไกลบ้าน วัฒนธรรมทันสมัยจากตะวันตกจึงเดินทางมาสู่สยามประเทศ วัฒนธรรมการบริโภคก็พลอยเปลี่ยนแปลงไปด้วย เปลี่ยนจากการเปิบด้วยมือเป็นใช้ช้อนส้อม สันนิษฐานว่าพระองค์ทรงใช้ครั้งแรกจากการเสวยมักกะโรนีที่ประเทศอิตาลี

ต่อมาเมื่อมีการต้อนรับราชอาคันตุกะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างชาติหรือชาวตะวันตก รัชกาลที่ 5 ก็ทรงมีพระราชดำริให้จัดโต๊ะอาหารแบบฝรั่ง มีการตกแต่งสถานที่ให้เป็นเช่นตะวันตกโดยการจัดพุ่มดอกไม้ รวมทั้งการอบรม ฝึกฝนสาวชาววังให้เรียนรู้มารยาทการเสิร์ฟอาหาร เพื่อต้อนรับอาคันตุกะและราชทูตนั่นเอง โดยเครื่องดื่มที่ใช้เสิร์ฟนั้นก็ถอดแบบมาจากตะวันตกคือมีทั้งกาแฟและเหล้า

ครั้นลุมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาสู่ราชสำนักก็เริ่มเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างเต็มที่ จากชาววังสู่ผู้ดี หรือชนชั้นสูง จากข้าราชการสู่ประชาชนคนธรรมดา เหล่านักเรียนนอกครั้นเมื่อกลับมาจากต่างประเทศก็พลอยนำวัฒนธรรมตะวันตกมาเผยแพร่ด้วย ครัวเรือนของขุนนางจึงเริ่มมีภาชนะ ข้าวของเครื่องใช้เฉกเช่นชาวตะวันตก

เมื่อมีภาชนะที่ใช้กินข้าวที่เหมาะสมดังเช่นช้อนกลาง ช้อนส้อม การกินอาหารผ่านการเปิบข้าวโดยใช้มือก็ค่อย ๆ หายไปในที่สุด รวมทั้งเรื่องการจัดงานเลี้ยง เมื่อพระมหากษัตริย์เริ่มเปลี่ยน ชนชั้นสูงก็เปลี่ยนตามพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านชาวบ้านก็เปลี่ยนตามชนชั้นสูงเช่นกัน เมื่อมีงานเลี้ยงจึงมีการทำแกงเฉพาะเทศกาล เช่น สตูลิ้น มัสมั่น หรือแกงกะหรี่ เมนูอาหารเหล่านี้ไม่ได้กินเป็นประจำ แต่จะเป็นอาหารพิเศษเมื่อมีงานเลี้ยงเท่านั้น

ฉะนั้นแล้ว อิทธิพลจากตะวันตกด้านอาหารและการบริโภคนั้น จึงไม่ใช่แค่เรื่องเปลี่ยนการใช้มือกินข้าวเป็นการใช้ช้อนใช้ส้อมเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องการกินโต๊ะ การจัดงานเลี้ยง และเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน ในช่วงแรกอาจยังไม่ได้แพร่หลายมาก แต่ครั้นนานวันเข้าเมื่อวัฒนธรรมตะวันตกดังกล่าวจึงส่งไปยังชาวบ้านเรื่อย ๆ ความนิยมด้านการใช้ช้อนจึงเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า นี่แสดงถึงพระราชวินิจฉัยอันปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวบ้าน ประชาชนก็คำนึงถึงความเหมาะสมด้านการใช้ช้อนใช้ส้อมแทนการใช้มือเช่นกัน ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสุดคือด้านความสะอาดและสุขอนามัยนั่นเอง

ยิ่งในสถานการณ์ที่โรคระบาด เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปในวงกว้างนั้นแล้ว การใช้ช้อน การใช้ส้อม ย่อมดีกว่าการใช้มือเปิบอาหารเข้าปากอย่างแน่นอน ครั้นเมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมด้านการบริโภคเช่นนี้ จึงเป็นอีกกระบวนการที่ทำให้ตะวันตกเห็นว่า สยามประเทศไม่ใช่บ้านเมืองที่ล้าหลัง

จึงเห็นได้ว่าเมื่อศึกษาเรื่องอาหารการกินอย่างถ่องแท้ สิ่งที่ผู้ศึกษาจะได้จึงมีมากกว่าอาหารการกินอย่างแน่นอน


รายการอ้างอิง

  • วชิรญาณ. (2563). พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://vajirayana.org/-พระราช นิพนธ์เรื่องไกลบ้าน. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 พฤษภาคม 2563).
  • สุกัญญา สุจฉายา. ศาสตราจารย์. ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมพื้นบ้าน. สัมภาษณ์, 5 มีนาคม 2563.
  • สุกัญญา สุจฉายา, ศาสตราจารย์. (2561). สำรับอาหารไทย จากบ้านสู่วัง. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย