บ้านเวียงลอ ตั้งอยู่ในบริเวณ "โบราณสถานเวียงลอ" ซึ่งถือเป็นเมืองโบราณในเขตล้านนาขนาดใหญ่กว่า 1,400 - 1,500 ปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยพ่อขุนงำเมือง มีวัดศรีปิง เมืองเป็นศูนย์กลางของชุมชนและเป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญ มีเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยพญาลอ เป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ศิลปะล้านนา - สุโขทัย ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่มาก ในหมู่บ้านมี "กู่" หรือวัดร้างอยู่รายรอบกว่า 16 กู่ ซึ่งบางกู่อยู่ในสวนลำใย สวนส้มโอ และทุ่งนาของชาวบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่นาโบราณคนที่นี่เรียกว่า "กัลปนา" คือที่นาที่เจ้าเมืองท่านแบ่งให้ โดยกำหนดไว้ว่าข้าทาสประมาณ 5 - 10 ครอบครัวต้องทำนาปลูกข้าวถวายให้กับพระสงฆ์ในวัดที่เจ้าเมืองกำหนดไว้ บางคนก็เรียกว่า "นาทาส" เพราะสมัยก่อนที่นี่มีวัดมาก และพระสงฆ์เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในเมืองโดยเฉพาะโบราณสถานเวียงลอ ซึ่งชาวบ้านก็อาศัยก็อยู่กับกู่อย่างเอื้ออาทรกัน โดยทุกอาทิตย์ชาวบ้านจะรวมกลุ่มกันออกมาดูแลรอบ ๆ โบราณสถานที่อยู่ในหมู่บ้านทั้งเก็บกวาดใบไม้ ดายหญ้า ถางหญ้า จัดดอกไม้มาถวายบูชาด้วย
แม่น้ำสายสำคัญที่ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชาวบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่ชื่อว่า "แม่น้ำอิง" มีต้นน้ำมาจากกว๊านพะเยา เป็น 1 ในแม่น้ำไม่กี่สายของไทยที่ไหลสวนทางกับแม่น้ำปรกติขึ้นไปทางทิศเหนือ โดยไปรวมกับแม่น้ำโขง ที่บ้านปากอิง อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีความยาวประมาณ 260 กิโลเมตร
ลุงดอน สิทธิภา เป็นพรานปลารุ่นที่ 4 แห่งแคมอิงหรือลุ่มแม่น้ำอิงสืบทอดมาจากพ่อ เล่าให้ฟังว่า คนริมแม่น้ำอิงโชคดีที่มีแม่น้ำอิงไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ทำให้ที่นี่มีปลาที่อุดมสมบูรณ์ ปลาทุกชนิดที่เกิดในแม่น้ำโขงก็จะไหลมาบรรจบกันที่บ้านเวียงลอ โดยเฉพาะปลาที่พิเศษที่สุดก็คือ ปลาค้าว เป็นชนิดปลาเนื้ออ่อน รสชาติอร่อย คนที่นี่นิยมรับประทานกันมากที่สุด ซึ่งลุงดอนจะใช้วิธีจับปลาค้าวด้วยเบ็ดราวและมักจะโชคดีได้ปลาค้าวแทบทุกครั้ง นอกจากปลาแล้วก็ยังสัตว์น้ำหลายชนิด ทั้ง กุ้ง ปู และพืชน้ำหลายชนิดที่ขึ้นริมแม่น้ำที่เป็นประโยชน์ เช่น ต้นแหย่ง ซึ่งคนในหมู่บ้านยังนำมาสานเป็นเสื่อเรียกว่า "สาดแหย่ง" ซึ่งมีคุณสมบัติเย็นและทนทาน
"ครั่ง" คือยางธรรมชาติที่ได้จากสารคัดหลั่งของ "แมลงครั่ง" ซึ่งแมลงครั่งเป็นเพลี้ยชนิดหนึ่งโดยจะอาศัยอยู่ตามต้นไม้เหมือนกาฝาก ใช้ปากดูดเจาะเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงต้นไม้มาเป็นอาหารและขับถ่ายออกมาตลอดเวลาเพื่อห่อหุ้มตัวเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากศัตรู ซึ่งสารที่ถูกขับถ่ายออกมาก็จะค่อย ๆ เกาะรวมกันบนกิ่งไม้จนแข็งกลายเป็นรังและเมื่อทุบออกจะเป็นสีแดงและเหลืองอำพัน
ครั่ง ใช้ทำเชลแล็ก ย้อมผ้า แม่สี เชื่อมด้ามมีด ประทับตราเอกสาร ในสมัยโบราณบรรพบุรุษใช้ครั่งเป็นตัวเชื่อมกับด้ามดาบ ด้ามหอก เพราะครั่งก้อนแข็งนี้ทำหน้าที่คล้ายเม็ดพลาสติกหลอมเหลวเมื่อโดนความร้อน และจะแข็งตัวเมื่อโดนอากาศเย็น จึงจับยึดวัสดุได้เป็นอย่างดี ภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าจะเอาครั่งมายัดใส่ด้ามมีดแล้วเอามีดไปเผาไฟให้ร้อนเเล้วเสียบลงเบ้าที่อัดด้วยครั่ง เมื่อครั่งโดนความร้อนก็จะหลอมละลายพอแห้งก็จะยึดด้ามมีดให้เเข็งแรง
ลุงพล สมพล ศรีวิชัย วัย 68 ปี เป็นคนเลี้ยงครั่ง มานานกว่า 20 ปี โดยทำสืบทอดจากพ่อ การเลี้ยงครั่งจะนิยมเลี้ยงบนต้นจามจุรีหรือต้นฉำฉา โดยเลือกเอาแม่พันธุ์ครั่ง มัดใส่ในฟางข้าวไว้เป็นกําเล็ก ๆ จากนั้นจะปีนขึ้นไปวางบนง่ามกิ่งไม้เลือกวางใกล้กิ่งที่อ่อนและสมบูรณ์ เพราะลูกครั่งจะเดินไต่ไปเกาะและดูดกินน้ำได้มากที่สุด ใน 1 ปีคนเลี้ยงครั่งจะปล่อยครั่ง เพียง 1 ครั้งหลังจากทำนาเสร็จ ปล่อยเสร็จก็ทิ้งจนลืมครบ 1 ปีก็จะมาตัดครั่ง คนเลี้ยงครั่งจะขึ้นไปตัดครั่งแล้วนำไปเลาะครั่งออกจากกิ่งไม้จนได้ครั่งที่เรียกว่า "ครั่งดิบ" จากนั้นนำไปขาย ราคาครั่งกิโลกรัมละ 130 บาท สร้างรายได้หลักแสนต่อปี
แม้ว่าครั่งเป็นอาชีพโบราณแต่ลุงพลบอกว่ามันจะไม่หายไป ถึงในอนาคตจะราคาตกลงมากิโลกรัมละสลึง ลุงก็จะไม่หยุด จะทำต่อไปเรื่อย ๆ และให้ลูกทำสืบต่อไป เช่นเดียวกับที่ลุงทำสืบต่อจากพ่อมา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 2 มกราคม 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ซีรีส์วิถีคน
วิถีริมโขง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
วิถีคนทำเกลือบ้านท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ
วิถีหมู่บ้านนักขุดบ้านดอนดู่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
วิถีรถคอกหมู อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
วิถีหมู่บ้านปั้นครกและสาก จ.นครพนม - ยโสธร
วิถีคนเลี้ยงควายในทะเลน้อย อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
วิถีคนเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วิถีคนตีผึ้งผา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนม้ง บ้านแม่สาน้อย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
วิถีเกาะมุกด์ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
วิถีรถม้าลำปาง บ้านวังหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง
วิถีคนบ้านกอมูเดอ จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีคนทำหมี่พิมายและข้าวโป่ง จ.นครราชสีมา
วิถีเรืออีโปง จ.นครราชสีมา
วิถีทุเรียน บ้านบันนังกระแจะ อ.ธารโต จ.ยะลา
วิถีคนชายแดนใต้ บ้านทุ่งพลา ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
วิถีริมคลอง จ.นนทบุรี
วิถีบุญวันสารทกูย บ้านตาโมม ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์
วิถีคนบ้านทับทิมสยาม 05 ต.คลองไก่เถื่อน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
วิถีคนบ้านเวียงลอ จ.พะเยา
วิถีหน้าฝนคนเชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
วิถีคนบ้านปากคลองอ้อมใหญ่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
วิถีคนล้านนา ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
วิถีคนแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก
วิถีความสุขในฤดูน้ำหลาก จ.สิงห์บุรี
วิถีคนแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก
วิถีหมู่บ้านนักหาบ จ.บุรีรัมย์
วิถีคนเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนโตนเลสาบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนคลองพระโขนง กรุงเทพมหานคร
ซีรีส์วิถีคน
วิถีริมโขง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
วิถีคนทำเกลือบ้านท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ
วิถีหมู่บ้านนักขุดบ้านดอนดู่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
วิถีรถคอกหมู อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
วิถีหมู่บ้านปั้นครกและสาก จ.นครพนม - ยโสธร
วิถีคนเลี้ยงควายในทะเลน้อย อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
วิถีคนเกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วิถีคนตีผึ้งผา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
วิถีคนม้ง บ้านแม่สาน้อย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
วิถีเกาะมุกด์ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
วิถีรถม้าลำปาง บ้านวังหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง
วิถีคนบ้านกอมูเดอ จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีคนทำหมี่พิมายและข้าวโป่ง จ.นครราชสีมา
วิถีเรืออีโปง จ.นครราชสีมา
วิถีทุเรียน บ้านบันนังกระแจะ อ.ธารโต จ.ยะลา
วิถีคนชายแดนใต้ บ้านทุ่งพลา ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
วิถีริมคลอง จ.นนทบุรี
วิถีบุญวันสารทกูย บ้านตาโมม ต.สะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์
วิถีคนบ้านทับทิมสยาม 05 ต.คลองไก่เถื่อน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
วิถีคนบ้านเวียงลอ จ.พะเยา
วิถีหน้าฝนคนเชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
วิถีคนบ้านปากคลองอ้อมใหญ่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
วิถีคนล้านนา ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
วิถีคนแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก
วิถีความสุขในฤดูน้ำหลาก จ.สิงห์บุรี
วิถีคนแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก
วิถีหมู่บ้านนักหาบ จ.บุรีรัมย์
วิถีคนเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนโตนเลสาบ ประเทศกัมพูชา
วิถีคนคลองพระโขนง กรุงเทพมหานคร