บราซิลทุ่มพัฒนาสาธารณูปโภค-โครงสร้างพื้นฐานรับฟุตบอลโลก-โอลิมปิก

ต่างประเทศ
23 ก.พ. 56
11:08
174
Logo Thai PBS
บราซิลทุ่มพัฒนาสาธารณูปโภค-โครงสร้างพื้นฐานรับฟุตบอลโลก-โอลิมปิก

เชื่อเงินสะพัด หลังรัฐหนุนการลงทุนเต็มที ทูตพาณิชย์เผยพฤติกรรมผู้บริโภคแซมบ้า ชี้ชนชั้นกลาง 60ล้านคน

 นางศรีรัตน์ รัษฐปานะอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สค.) เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์ผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการเชิงรุกด้วยกลยุทธ์การขยายตลาดใหม่ว่า บราซิลมีผู้บริโภคกว่า 200 ล้านคนนับเป็นตลาดการค้าที่มีขนาดใหญ่ น่าลงทุนและทำการค้ามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันทำให้รายได้ประชาชาติ (จีดีพี)มีเศรษฐกิจใหญ่จนเป็นลำดับที่ 6 ของโลก โดยปี 54 มีขนาด 2,200,000พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าปี 55 ที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 1.5%  จากการที่จะต้องเตรียมการ เพื่อรับการเป็นเจ้าภาพกีฬาที่สำคัญได้แก่ฟุตบอลโลกปี 2557 และโอลิมปิกปี 2559 ทำให้เชื่อว่าบราซิลยังขยายตัวต่อไปอย่างน้อยอีก 5 ปี 

 
นางศรีรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้บราซิลได้ออกนโยบายทั้งด้านการเงิน การคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจากเหลือ 7.25% (ม.ค.56) ลดภาษีอุตสาหกรรม ในสินค้ารถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์การปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษี เพื่อลดภาระภาษี และต้นทุนการประกอบธุรกิจแก่ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนเงินกู้แก่ภาคอุตสาหกรรม ในการปรับปรุง และขยายกิจการ มีโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางหลวง ทางรถไฟ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น คาดว่ามาตราการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการ จะเห็นผลในปีนี้ซึ่งจะส่งเสริมให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ 3.0 - 3.5% 
 
นายกำแหง กล้าสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศณ นครเซาท์เปาโล บราซิล กล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคบราซิลตลอดจนข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญต่อการทำตลาดสินค้าและบริการในบราซิล อาทิ กลุ่มคนรายได้ชั้นกลางมากขึ้นราว 60 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อเลือกที่จะบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น , รถยนต์และจักรยานยนต์ ถือเป็นปัจจัยที่5  โดย 6ปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 7-10% ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2558 บราซิลจะกลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ลำดับที่ 5 ของโลกที่มีกาลังผลิตกว่า5 ล้านคันต่อปีและผลิตรถจักรยานยนต์ปีละ 2.5 ล้านคัน, อัตราการว่างงานที่ต่ำ อยู่ที่ 6% 
 
นายกำแหงกล่าวว่า ด้านสินค้าอาหาร การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องการบริโภคอาหารนอกบ้านยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การบริโภคอาหารต่างชาติ ร้านค้าที่เปิดบริการมากขึ้นสำหรับอาหารไทย แม้จะไม่มีการขยายตัวที่ชัดเจนนักในเรื่องของร้านอาหารไทย แต่ร้านอาหารที่ขายอาหารเอเชียหลายแห่งพยายามจะนาเมนูอาหารไทยเข้าไปไว้ในร้านของตนมากขึ้นโดยอาหารที่ได้รับความนิยมคือ อาหารประเภทแกง เช่น ต้มข่าไก่ แกงเขียวหวาน เป็นต้นรวมถึงร้านอาหารประเภทเบเกอรี่ หรือร้านกาแฟ 
รวมถึง การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮฮล์เป็นส่วนผสมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีอัตราการอยู่ในระดับที่สูงขึ้นสินค้าเกี่ยวกับด้านสุขภาพและความสะอาด โดยสินค้าไทยที่น่าจะมีโอกาสคือ สินค้าที่ทำจากส่วนผสมธรรมชาติและมีคุณภาพสูง เช่น ว่านหางจระเข้ ดอกอัญชัน ดอกมะลิเป็นต้น เสื้อผ้า รองเท้า ของใช้ด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีและเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 
 
การซื้อสินค้าออนไลน์ บราซิลได้รับการจัดลำดับให้เป็นตลาดการค้าออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่2 ของโลก ในตลาดประเทศกำลังพัฒนา 30 ประเทศ รองจากจีนเท่านั้นการขายสินค้าทางอินเทอร์เนตและเคเบิลทีวี กาลังทวีความสำคัญขึ้นในสังคมเป็นอย่างมากโดยปัจจุบันบราซิลมีผู้ใช้อินเทอร์เนตกว่า 80 ล้านคน โดยสินค้าที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ โดยปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์มีสัดส่วนการค้าจากการค้าปกติประมาณ5% ซึ่งเชื่อว่าอีก 5 ปีข้างหน้าสัดส่วนขยายเป็น 10% ในปี 2559 
 
สำหรับการค้าระหว่างประเทศไทยกับบราซิลในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม4,680 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( ล้านบาท) ขยายตัว 3.24% โดยไทยส่งออกไปบราซิลมูลค่าทั้งสิ้น 2,232 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีที่ผ่านมา1.5% สินค้าสาคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 21% ยางพารา เพิ่มขึ้น 9.5% เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ9.2% เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่อง 7.6% ผลิตภัณฑ์ยาง 6.3% ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 4.7% รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ 4.4% 
 
ไทยนำเข้าสินค้าจากบราซิล มีมูลค่า 2,448ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 8% สินค้าสำคัญ ได้แก่ พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช 60% เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 9% ด้าย และเส้นใย 7% ส่วนประกอบ และอุปกรณ์ยานยนต์6.6% เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ 3.5% สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์2% เคมีภัณฑ์ 1.6% เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ1.5% 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง