บทบาทสหรัฐฯ-จีน ผ่านลุ่มน้ำโขง

ต่างประเทศ
26 เม.ย. 65
10:35
542
Logo Thai PBS
บทบาทสหรัฐฯ-จีน ผ่านลุ่มน้ำโขง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
บทบาทของสหรัฐฯ ในประเทศและภูมิภาคถูกจับตามมองอย่างมาก โดยเฉพาะมีข้อสังเกตเรื่องการก่อสร้างสถานกงสุลแห่งใหม่ในเชียงใหม่ ซึ่งใช้งบประมาณสูง ขณะที่สหรัฐฯ ปฏิเสธ แต่การแข่งขันของสหรัฐฯ และจีน ผ่านลุ่มน้ำโขง มองข้ามได้ยากในพื้นที่ภาคเหนือของไทย

โมเดลของสถานกงสุลใหญ่สหรัฐประจำเชียงใหม่ เน้นความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 2 ปีข้างหน้า ใช้งบประมาณก่อสร้างสูงถึง 284 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

มีกระแสข่าวว่า สถานกงสุลแห่งใหม่นี้อาจเป็นที่ซ่องสุมอาวุธและมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์

ฌอน เค โอนีล กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่ ปฏิเสธว่า

ผมคิดว่ามีคนบางกลุ่มพยายามเผยแพร่ข่าวลวงข่าวลือเหล่านี้ เราจะให้ความสนใจกับงานที่เราทำมาตลอด 72 ปี ทั้งในด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงและสาธารณสุข

เราจะให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ปล่อยให้พวกเขาได้พูดในสิ่งที่อยากพูด เราจะเปิดเผยทุกอย่างต่อพวกคุณ สถานกงสุลปัจจุบันผ่านการใช้งานมานานกว่า 72 ปีแล้ว และถึงเวลาต้องปรับปรุง

ปีที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เริ่มก่อสร้างอาคารแห่งใหม่ภายใต้พื้นที่เดิม เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานระดับภูมิภาคมากขึ้น ด้วยงบประมาณการก่อสร้างราว 625 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568

 

ในระหว่างการเยือนฮานอยของคามาลา แฮร์ริส ปีที่แล้ว สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงฮานอย ได้ลงนามการก่อสร้างสถานทูตแห่งใหม่มูลค่าราว 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

อาคารหลังนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฮาลองเบย์ สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังและการปลูกข้าวในลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนาม

นอกจากทะเลจีนใต้ สันดอนทรายบนแม่น้ำโขง กำลังเป็นสมรภูมิทางการเมืองของมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ

สายน้ำที่หล่อเลี้ยงผู้คนราว 65 ล้านคน สำหรับจีนแม่น้ำโขงคือพื้นที่ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือ BRI ของจีน

ข้อมูลจากโครงการ Eyes on earth ของสหรัฐฯระบุว่าเขื่อนจินหง ในสิบสองปันนาและอีกนับสิบเขื่อนบนแม่น้ำล้านช้าง ส่งผลให้การไหลของแม่น้ำโขงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างกำลังประสบปัญหากับน้ำที่ผันผวนขึ้นลงไปตา,การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนของจีน

ฌอน เค โอนีล กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่

ฌอน เค โอนีล กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่

ฌอน เค โอนีล กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่

 

ระหว่างการเยือนอาเซียน แอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศ สหรัฐฯ ย้ำถึงนโยบายยุทธศาสตร์ อินโด-แปซิฟิก โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง

“ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากแม่น้ำโขงไปถึงหมู่เกาะแปซิฟิก การอ้างกรรมสิทธิ์บนพื้นที่แห่งนี้เป็นการกระทำที่ก้าวร้าวของจีน การบิดเบือนทางการตลาดผ่านบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน การปฏิเสธการส่งออกหรือเจรจาทางการค้ากับประเทศที่ไม่ใช่พันธมิตร การมีส่วนร่วมกับการทำประมงที่ไม่มีการรายงานและการควบคุมอย่างผิดกฎหมาย ประเทศในภูมิภาคนี้ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ สหรัฐฯเองก็เช่นกัน”

ขณะที่รัฐบาลจีนเสนอรายงานแย้งว่า สหรัฐฯ ไม่มีหลักฐานในการกล่าวอ้างมากเพียงพอ และจีนได้แบ่งปันข้อมูลการปล่อยน้ำจากเขื่อนของจีนผ่านโครงการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงหรือ MRC แล้ว

ด้วยระยะทางห่างจากชายแดนจีนเพียง 500 กิโลเมตร เชียงใหม่จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ

ฌอน เค โอนีล กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่

ฌอน เค โอนีล กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่

ฌอน เค โอนีล กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำจังหวัดเชียงใหม่

 

ไมเคิล วาติเคียวติส นักข่าวชาวอเมริกันเขียนบทความใน Nikkei Asia ระบุว่า ในสายตาของจีน การสร้างสถานกงสุลใหม่ คือความพยายามของสหรัฐฯที่กำลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านหน่วยข่าวกรองในพื้นที่ภาคเหนือของไทย

เบอร์ทิล ลินท์เนอร์ นักข่าวชาวสวีเดน ตั้งข้อสังเกตถึงการก่อตั้งสถานกงสุลสหรัฐฯ ประจำเชียงใหม่ ช่วงปี 1950 ว่า เคยเป็นศูนย์ข่าวกรองที่ให้การสนับสนุนก๊กมินตั๋ง ตั้งฐานทัพบริเวณรัฐฉานของเมียนมา หลังพ่ายแพ้สงครามกลางเมือง เพื่อกลับไปยึดครองจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่สำเร็จ

ตอม่อที่ล้อมกันเป็นวงกลมและเสาตรวจจับสัญญาณวิทยุ 48 ต้น หนึ่งในเครื่องมือสอดแนมที่เคยทันสมัยที่สุดในเอเชีย ในค่ายรามสูร จ.อุดรธานี เป็นอนุสรณ์ของพื้นที่ปฏิบัติการทางการทหารลับพิเศษของสหรัฐฯ สำหรับสอดแนมจีนและเวียดนามในยุคทหาร GI ครองเมือง ยิ่งส่งผลให้บทบาทของ CIA ตั้งแต่ยุคสงครามเย็นจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงในวงการประวัติศาสตร์ของไทยและอยู่ในความทรงจำของคนไทยจนถึงทุกวันนี้

หลังจากสถานกงสุลสหรัฐฯ ดูแลอาคารนี้มานานกว่า 72 ปี บ้านแบบล้านนาที่มีความสำคัญยิ่งของชาวเชียงใหม่จะกลายเป็นที่พักของท่านกงสุลใหญ่และใช้สำหรับจัดงานเลี้ยง รวมไปถึงงานทางการทูตของสถานกงสุลในอนาคต

กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์ รายงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง