ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“กระเช้าภูกระดึง” ไทม์ไลน์ 43 ปี ยังไม่มีข้อสรุป “สร้าง-ไม่สร้าง”

Logo Thai PBS
“กระเช้าภูกระดึง” ไทม์ไลน์ 43 ปี ยังไม่มีข้อสรุป “สร้าง-ไม่สร้าง”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้น “อุทยานแห่งชาติภูกระดึง” จ.เลย มีความเป็นมายาวนานกว่า 40 ปี เริ่มต้นจากแนวคิดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่ต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ

แม้อาจมองว่า “กระเช้าไฟฟ้า” นำพาความสะดวกสบายให้นักท่องเที่ยว คนที่เดินเท้าไม่ไหว เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ ฯลฯ ที่อยากขึ้นไปเที่ยวภูกระดึง รวมไปถึงการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ

แต่ก็มีคำถามถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การก่อสร้าง ไปจนถึงการดำเนินการ เพราะด้วยภาพสะท้อนการก่อสร้างโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ของรัฐบาล มักเกิดปัญหา หรือสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม มาโดยตลอด

ประกอบกับสังคมไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ ในการใช้งบประมาณ ของหน่วยงานที่จะเข้ามารับผิดชอบ อาจทำให้สิ่งก่อสร้างไม่มีคุณภาพ เหมือนกับในต่างประเทศ และจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน

อ่านข่าว : "สรวงศ์" เคาะไทม์ไลน์ 2 ปี ปักหมุดสร้าง "กระเช้าภูกระดึง"

ลำดับเหตุการณ์สำคัญผลักดัน “กระเช้าภูกระดึง”

ปี 2525

ปี 2525 แนวคิดแรกเริ่ม อุทยานแห่งชาติภูกระดึง กรมป่าไม้ เสนอโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างระบบขนส่งขึ้นภูกระดึง โดยใช้ยานพาหนะเดินทางด้วยสายเคเบิล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
ปี 2526 วงประชุมร่วมระหว่างผู้นำในพื้นที่กับคณะกรรมการอุทยานฯ เห็นชอบในหลักการ โครงการก่อสร้างกระเช้าภูกระดึง แต่กรมป่าไม้ มีหนังสือด่วน คัดค้านโครงการดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ปี 2527 คณะกรรมการอุทยานฯ มอบหมายให้คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาความเป็นไปได้ และผลกระทบ ทำเสร็จเมื่อเดือน พ.ค.2528 เห็นควรให้ดำเนินการ
ปี 2529 คณะกรรมการอุทยานฯ เห็นชอบ ให้บริษัทเอกชนเสนอโครงการก่อสร้าง

ปี 2532

ปี 2532 กรมป่าไม้ ระงับโครงการ

วันที่ 17 ก.ย.2539 คณะรัฐมนตรีนายบรรหาร ศิลปอาชา เสนอปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ พร้อมมีแผนสร้างกระเช้าไฟฟ้า อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว

วันที่ 26 พ.ย.2539 คณะรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มีมติรับทราบโครงการกระเช้าไฟฟ้า ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอ

ปี 2539 สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ กระทรวงมหาดไทย หารือการก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง และมอบให้กรมป่าไม้ ศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว

เหตุผลค้าน "กระเช้าภูกระดึง" สิ่งแวดล้อมพังไม่คุ้มนักท่องเที่ยวเพิ่ม

ปี 2540

ปี 2540 การศึกษาครั้งแรก : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่โครงการถูกคัดค้านจากนักอนุรักษ์และผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้โครงการต้องหยุดชะงัก
ปี 2541 การศึกษาครั้งที่สอง : กรมป่าไม้มอบหมายให้ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง จำกัด จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ศึกษาเปรียบเทียบปัญหา ข้อจำกัด ศักยภาพ ข้อดีข้อเสียของการมีและไม่มีกระเช้า ให้แล้วเสร็จในเดือน พ.ค.2543 โดยพิจารณาเส้นทางที่นักท่องเที่ยวใช้เดินขึ้นภูกระดึง แม้จะมีความหลากหลายของระบบนิเวศ ซึ่งผลการศึกษาชี้ว่า เส้นทางนี้เหมาะสมที่สุดสำหรับการสร้างกระเช้าไฟฟ้า

วันที่ 25 ธ.ค.2546 คณะกรรมาธิการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง
วันที่ 21 เม.ย.2547 รัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร สั่งให้ศึกษาการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้รวบรวมผลการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด

และเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการการท่องเที่ยว ในวันที่ 8 พ.ย.2547 และเสนอต่อคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วันที่ 28 ก.ย.2548 และนายกรัฐมนตรีตามลำดับ
ม.ค.2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร จ.เลย รัฐบาลนายทักษิณ มีมติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษาผลกระทบเพิ่มเติม แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ

ปี 2555

วันที่ 21 ก.พ.2555 จังหวัดเลยเสนอวาระโครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ จ.อุดรธานี ซึ่งที่ประชุม ครม.สัญจร มีมติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ อพท.ศึกษาความเป็นไปได้

วันที่ 29 พ.ย.2556 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษา คือ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ร่วมกับ บริษัท แกรนด์เทค จำกัด บริษัท ไทยซิสเทมเอนไว แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เพื่อให้ข้อมูล การวิเคราะห์ การประเมินผลกรารคาดคเน การกำหนดทางเลือก การสร้างสถานการณ์จำลอง และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง เพื่อเสนอต่อสาธารณชนและคณะรัฐมนตรี

ปี 2557 รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง โดยมีการจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้

วันที่ 23 ก.พ.2559 คณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติเห็นชอบ ผลการศึกษาโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง โดยสำนักงบประมาณ ระบุว่า เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ทั้งด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ใช้วงเงิน 633.89 ล้านบาท

ขณะที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงจะอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ รวมทั้งช่วยลดขยะด้วย

2565

ปี 2565 ประชุมทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์และดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชนโครงการฯ ระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น และคนท้องที่
ปี 2566 รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบประมาณ 28 ล้านบาท เพื่อออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการกระเช้าขึ้นภูกระดึง ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ปี 2565-2570

วันที่ 4 ธ.ค.2566 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขออนุมัติงบประมาณ 28 ล้านบาท ในการเขียนแบบก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง

ปัดฝุ่น! "กระเช้าภูกระดึง" ชงของบ 28 ล้าน-ขอเข้าพื้นที่ศึกษาสวล.

ปี 2568 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ได้รับอนุมัติงบประมาณ 25.7 ล้านบาท จากสำนักงบประมาณ เพื่อออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการกระเช้าขึ้นภูกระดึง

อย่างไรก็ตาม โครงก่อสร้างกระเช้าภูกระดึง ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบ เพื่อออกแบบไม่เกิน 2 ปี โดยยังไม่อนุมัติก่อสร้าง และคาดว่าจุดสร้างกระเช้าด้านผาหมากดูก ไม่ใช่จุดทางขึ้นในปัจจุบัน

อ่านข่าว : เปิดหนังสือขอศึกษา "กระเช้าภูกระดึง" 2 ปีสิ้นสุดปี'68

ดัน “กระเช้าภูกระดึง” 2 ปีแบบก่อสร้างชัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง