ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ตรวจสอบ "สมรรถนะ - การใช้งาน" รถจักรยานยนต์ทดแทน ตร.

อาชญากรรม
07:33
163
ตรวจสอบ "สมรรถนะ  - การใช้งาน" รถจักรยานยนต์ทดแทน ตร.
อ่านให้ฟัง
04:30อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ที่จัดซื้อในรอบการใช้งานใหม่ กว่า 14,000 คัน หลักในการพิจารณาเลือก รถจักรยานยนต์ทดแทน คือการใช้งาน สมรรถนะสูง และความประหยัด แม้จะมีขนาดเครื่องยนต์ 160 CC ซึ่งน้อยกว่ารุ่นก่อน ๆ

ไทยพีบีเอส สอบถามตำรวจสายตรวจที่ใช้งานรถจักรยานยนต์ ซึ่งได้สะท้อนความเห็นว่า มีความเหมาะสมและคล่องตัว รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์ ขนาด 160 CC เป็นยานพาหนะทดแทน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้งบประมาณกว่า 1,800 ล้านบาท จัดซื้อจำนวน 14,442 คัน ทดแทนของเก่าที่ใช้งานมา 7 ปี

ทีมข่าวไทยพีบีเอส สอบถามความเห็นกับ พ.ต.ท.ธีรเดช ซ่อนกลิ่น สารวัตรสอบสวน สน.บางโพงพาง ที่รับราชการมา 35 ปี และขับรถจักรยานยนต์ของตำรวจมากว่า 2 รุ่น ให้ความเห็นว่า รถจักรยานยนต์รุ่นก่อนหน้าเข้าพื้นที่ชุมชน หรือ ตรอกซอยค่อนข้างลำบาก เพราะไม่ใช่ระบบออโตเมติก ผู้ขับขี่ต้องมีประสบการณ์และชำนาญพอสมควร ต่างจากรถคันใหม่ที่รู้สึกว่าขับง่ายผู้ซ้อนท้ายก็นั่งสบายมีความคล่องตัวในการทำงาน

จ.ส.ต.สุวัฒน์ เพ็งสง ผู้บังคับหมู่งานป้องกันปราบปราม สน.ทุ่งมหาเมฆ ปฏิบัติงานสายตรวจมา 12 ปี และเคยขับขี่รถจักรยานยนต์สายตรวจมาแล้วหลายรุ่น ระบุว่า หากเทียบขนาดเครื่องยนต์ 286 CC กับรุ่นใหม่ขนาด 160 CC ก็ต่างกันชัดเจน แต่รุ่นใหม่มีความเหมาะสมกับงานสายตรวจเพราะคล่องตัว ขับขี่ง่าย ส่วนรุ่นเก่าเข้าในพื้นที่ชุมชนลำบาก และเหมาะในภารกิจที่ความใช้เร็ว เช่น การไล่ล่าติดตามมากกว่า

พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)

พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)

พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)

พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ระบุว่า ยานพาหนะทดแทนจะถูกส่งให้กับสถานีตำรวจทั่วประเทศ ใช้งาน ส่วนข้อกังวลจากภาคสังคม เรื่องความเร็ว ที่อาจจะกระทบต่อการไล่ล่าติดตาม ยืนยันว่า ตำรวจมียุทธวิธีในการปฏิบัติงาน และอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติ

สำหรับขอบเขตการพิจารณาคัดเลือก ยานพาหนะทดแทน ที่สำนักงานตำรวแห่งชาติระบุ มีสาระสำคัญ คือ ทดแทนของเก่า และแก้ไขปัญหาการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งรุ่นก่อนหน้า มีขนาดเครื่องยนต์ 286 CC สิ้นเปลืองน้ำมัน

ขณะที่รุ่นทดแทนนั้น ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและยังมีสมรรถนะสูง การจัดซื้อ ยังกำหนดให้มีคุณลักษณะเฉพาะ พร้อมไฟกะพริบสีแดง หมวกนิรภัยตามมาตรฐานอุตสาหกรรม 2 ใบ ต่อ 1 คัน และกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียงแบบติดบนตัวตำรวจ 2 ชุด ต่อ 1 คัน โดยเป็นการจัดซื้อพร้อมอุปกรณ์ 14,442 คัน ด้วยงบประมาณกว่า 1,845 ล้านบาท หรือ ราคาเฉลี่ยคันละ 127,800 บาท 

ขณะที่ราคาเปิดตัวอย่างเป็นทางการจากเว็บไซต์ จำหน่ายอยู่ที่ 99,900 บาท ซึ่งราคาที่เกินจากท้องตลาด รอง ผบ.ตร. ให้เหตุผลว่า เพราะเป็นการจัดซื้อพร้อมการติดตั้งอุปกรณ์ ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการจัดซื้อรถจักรยานยนต์ออโตเมติก เคยถูกจัดซื้อมาใช้ในงานสายตรวจของกองบังคับการปราบปรามแล้ว เมื่อปี 2561 แต่มีขนาดเครื่องยนต์ 155 CC

อ่านข่าว : เกิดอะไรขึ้นกับ "รถตำรวจคันใหม่" ไซเรนหลุด-ชื่อโรงพักอ่านไม่รู้เรื่อง 

เช็กเลย! 5 กลุ่มบุคคล-หลักเกณฑ์ ใครบ้างใช้รถตำรวจนำขบวนได้?  

ตอบแล้ว! "หมอบุญ" ยืนยันไม่ใช่ VIP - ไม่ใช้รถตำรวจนำขบวน