สพฉ.เร่งจัดทำมาตรฐาน-วิธีปฏิบัติการฉุกเฉิน เตรียมนำร่องทดสอบในพื้นที่จังหวัดนำร่อง ส.ค.นี้

สังคม
17 มิ.ย. 56
02:51
109
Logo Thai PBS
สพฉ.เร่งจัดทำมาตรฐาน-วิธีปฏิบัติการฉุกเฉิน  เตรียมนำร่องทดสอบในพื้นที่จังหวัดนำร่อง ส.ค.นี้

เพื่อพัฒนาการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินให้เป็นระบบมากขึ้น

 

 
นพ.อนุชา เศรษฐสเถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นประธานการประชุมจัดทำเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการฉุกเฉิน ตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย อาทิ ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรมแพทย์ทหาร  สภากาชาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และตัวแทนจากมูลนิธิเข้าร่วมประชุม
 
นพ.อนุชา กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติมีหน้าที่หลักในการจัดทำมาตรฐานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ทันกาล และได้มาตรฐาน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมขับเคลื่อนเพื่อจัดทำมาตรฐานด้านการแพทย์ฉุกเฉินมาแล้วหลายครั้ง โดยหลักเกณฑ์ใน 5 ด้าน  ดังนี้ 1.การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันได้ (Prevention) 2.การพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (Pre Hospital) 3.การพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉินในโรงพยาบาล (In Hospital) 4.การพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่างโรงพยาบาล (Inter facility transfer) และ 5.การพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉินในภาวะสาธารณภัย (Disaster) ซึ่งการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานในแต่ละด้านจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องจากหลายหน่วยงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินเข้าร่วมในการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าว
 
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า ภายหลังจากการจัดทำมาตรฐานเสร็จสิ้น จะต้องมีการนำข้อสรุปไปร่างเป็นแบบฟอร์ม มาตรฐานการปฏิบัติ (Standard Operating procedure) และภายในเดือนสิงหาคมนี้ จะผลักดันให้มีการนำไปทดลองใช้ในการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดนำร่อง เพื่อที่จะพัฒนา ปรับปรุงและประกาศใช้เป็นมาตรฐานในระดับประเทศต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง