เกาะติดประชุม "อาเซียน-ประเทศคู่เจรจา" ท่ามกลางปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค

ต่างประเทศ
10 ต.ค. 56
07:35
202
Logo Thai PBS
เกาะติดประชุม "อาเซียน-ประเทศคู่เจรจา" ท่ามกลางปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค

การประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาร เริ่มต้นขึ้นท่ามกลางปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค โดยเฉพาะปัญหาทะเลจีนใต้ ที่ถึงแม้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ยังไม่ชัดเจนเรื่องกรอบเวลาในการจัดทำหลักปฏิบัติร่วมกัน ในขณะที่อิทธิพลของจีนยังคงแข็งแกร่งจากการที่ขาดผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และรัสเซียมาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้

นอกจากปัญหาเรื่องความมั่นคงทีเป็นที่ถกเถียงกันมาโดยตลอดแล้ว วิกฤตงบประมาณและเพดานหนี้ในสหรัฐฯที่จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจก็เป็นประเด็นที่ประเทศสมาชิกที่เข้าประชุมแสดงความห่วงใย ในขณะที่ปัญหาทะเลจีนใต้ ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีบรรยากาศที่ดี แต่ก็ยังคงมีสัญญาณของความเห็นไม่ตรงกันระหว่างประเทศคู่กรณีอยู่

 
อาเซียนบวก 3 เห็นด้วยตั้งกองทุนสำรองในภูมิภาค
 
ในช่วงเช้าเป็นการหารืออาเซียนบวก 3 คือ อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยกรอบการหารือยังคงเป็นเรื่องความร่วมมือ โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้เดินหน้าในการจัดตั้งกองทุนสำรองในภูมิภาคเพื่อความปลอดภัยทางการเงินที่ต่อเนื่องมาจากความริเริ่มเชียงใหม่
 
ในขณะที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนย้ำว่า ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทั่วโลกกำลังจับตามองว่า เอเซียจะเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกได้หรือไม่ โดยการหารือทวิภาคีระหว่างนายหลี่ กับนายจอห์น เคอรี่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเมื่อวานนี้ (9 ต.ค.) จีนได้แสดงความกังวลถึงปัญหาเรื่องการยกระดับเพดานหนี้ในสหรัฐฯ ที่ใกล้จะถึงกำหนดเส้นตาย

    

 
ถึงแม้ในการหารืออาเซียนบวก 3 ไม่ได้มีการพูดถึงปัญหาทะเลจีนใต้แต่ประธานาธิบดี เบนิกโน อาควิโนแห่งฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่า อยากเห็นความร่วมมือทางทะเลมากขึ้น ทะเลจีนใต้ยังคงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ถึงแม้บรรยากาศการหารือระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อวานนี้จะเป็นไปด้วยดี โดยทุกฝ่ายต้องการแก้ไขปัญหาผ่านการเจรจา และจีนยินดีที่จะเดินหน้าในการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสในการจัดทำข้อปฏิบัติในทะเลจีนใต้หรือ Code of Conduct ซึ่งได้จัดเป็นครั้งแรกไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน แต่ก็ยังไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
 
ด้านนายสีหศักดิ์ พวงเกตแก้ว ปลัดกระทรวงต่างประเทศในฐานะผู้ประสานงานอาเซียนจีน กล่าวว่า แถลงการณ์ร่วมอาเซียนกับจีนน่าจะสามารถออกมาได้ในการประชุมครั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า มีความเห็นไม่ตรงกันในถ้อยคำว่าขอให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุดซึ่งมีนัยหมายถึงการกำหนดกรอบเวลาโดยจีนเห็นด้วยในเรื่องนี้และคาดว่าน่าจะมีการตัดถ้อยคำนี้ออก
 
สมาชิกกังขา "สหรัฐฯ-รัสเซีย" ไม่เข้าประชุม
 
ในขณะที่การประชุมเอเซียตะวันออกซึ่งมีสหรัฐฯ และรัสเซียเป็นสมาชิก แต่การที่ผู้นำของทั้งสองประเทศไม่มาเข้าร่วมการประชุมสร้างความกังขาถึงความจริงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาค ซึ่งนาย เคอรี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้ย้ำในการประชุมเมื่อวานนี้ว่าสหรัฐยังคงให้ความสำคัญกับเอเซีย

    

 
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า ความสัมพันธ์เข้มแข็งในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา และเรารู้ว่า การเสริมสร้างความสัมพันธ์ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ และระหว่างประชาชนเป็นส่วนสำคัญของประธานาธิบดีโอบามาที่จะสร้างสมดุลย์ใหม่ในเอเซีย ซึ่งเป็นพันธสัญญา และจะยังคงอยู่ต่อไปในอนาคต ในขณะที่ปลัดกระทรวงต่างประเทศไทยระบุว่า ชาติสมาชิกอื่นๆก็ดูจะเข้าใจสถานการณ์ภายในของสหรัฐฯดี
 
นายกฯ หารือ "เต็งเส่ง" ร้องให้ความสำคัญ "ท่าเรือพิเศษทวาย"
 
ขณะที่ช่วงเช้าน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หารือแบบทวิภาคีกับ พล.อ.เต็งเส่ง ประธานาธิบดีของพม่า โดยไทยได้เรียกร้องให้ผู้นำพม่า เน้นให้ความสำคัญถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษท่าเรือน้ำลึกทวาย  โดยระบุว่า เป็นโครงการลงทุนที่จะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยจะเป็นประโยชน์ไม่เพียงต่อพม่า และไทยเท่านั้น แต่จะเป็นประโยชน์ต่อเอเชียตะวันออกโดยรวม 
 
โดยทั้งสองผู้นำเห็นตรงกันว่าระหว่างรอการตัดสินใจลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ทั้งไทยและพม่าควรจะหานักลงทุนผู้สนใจจากประเทศอื่นเข้ามาร่วมลงทุนไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ได้จะจัดให้มีการประชุมระดับรองนายกรัฐมนตรีของไทยและรองประธานาธิบดีของเมียนมาร์ในการผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายต่อไป

    

 
ขณะนี้ บรรดาผู้นำกำลังหารือในกรอบการประชุมเอเซียตะวันออกซึ่งสหรัฐจะหยิบยกเรื่องทะเลจีนใต้ขึ้นมาหารือซึ่งเป็นสิ่งที่จีนไม่เห็นด้วยกับการที่สหรัฐจะเข้ามายุ่งเกี่ยวในปัญหานี้ แต่จากการที่ไม่มีผู้นำสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วมทำให้จีนดูเหมือนจะเป็นพระเอกในการประชุมครั้งนี้ถึงแม้จะมีปัญหาขัดแย้งเรื่องดินแดนกับประเทศสมาชิกบางประเทศก็ตาม และอาจทำให้ผู้นำในเอเซียต้องหยุดคิดถึงการสร้างสมดุลย์ในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนทั้งในเรื่องความร่วมมือเศรษฐกิจโดยเฉพาะเขตการค้าเสรีหรือทีพีพีที่สหรัฐพยายามผลักดัน ในขณะที่การประชุมเอเซียตะวันออก


ข่าวที่เกี่ยวข้อง