มีผลบังคับใช้กฎหมายไขมันทรานส์ "ห้ามผลิต-นำเข้า-จำหน่าย"

สังคม
10 ม.ค. 62
09:51
3,542
Logo Thai PBS
มีผลบังคับใช้กฎหมายไขมันทรานส์ "ห้ามผลิต-นำเข้า-จำหน่าย"
9 ม.ค. เริ่มบังใช้กฎหมายห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ซึ่งเป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์ ประเทศแรกในอาเซียน หวังลดจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

หลังจากที่กระทรวงสาธาณสุข ประกาศบังคับใช้กฎหมาย ห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายน้ำมัน ที่ผ่านกระบวนการเติมสารไนโตรเจนลงไปในกระบวนการผลิตอย่างเป็นททางการ เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา และถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน  

บริษัทผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ธุจกิจทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ต่างขานรับ และปรับตัวมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วก่อนหน้านี้   

เบเกอรี่ขานรับเลิก “ไขมันทรานส์”


นายปกรณ์ ทวีผลเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลมอน ฮับ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย เบเกอรี่ DADDY DOUGH กล่าวว่า บริษัทได้มีการปรับสูตรเบเกอรี่ทุกรายการ ไม่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (Partially Hydrogenated Oils) หรือมีไขมันทรานส์ต่ำมาระยะหนึ่งแล้ว ยืนยันได้ว่าเบเกอรี่ของบริษัทไม่มีไขมันทรานส์ 100 เปอร์เซ็นต์

ไม่ได้เพิ่งมาให้ความสำคัญเรื่องไขมันทรานส์ เพราะบริษัทมีการทำมาก่อนหน้านี้แล้วกว่า 3 ปี โดยเฉพาะในช่วงปีหลัง มีความใส่ใจกับสินค้ามากขึ้นกว่าเดิม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

นายปกรณ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขเคยมีการสุ่มตรวจ ผลิตภัณฑ์จำพวก โดนัทกว่า 10 ยี่ห้อ ที่มีขายในตลาด มีส่วนผสมของไขมันทรานส์เกินค่ามาตรฐาน พบว่า โดนัท “DADDY DOUGH” ดับเบิ้ล ช็อค มีปริมาณไขมันทรานส์อยู่เพียง 0.0729 กรัมต่อชิ้น ซึ่งน้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในท้องตลาด

สื่อสารกับลูกค้า ผ่านหน้าร้าน-ออนไลน์

นายปกรณ์ กล่าวว่า หลังจากมีการสุ่มตรวจผู้บริโภคมีการแชร์ข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง หลายคนรู้สึกกังวล แต่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทพบปริมาณไขมันทรานส์เรียกได้ว่า 0 เปอร์เซ็นต์ก็ว่าได้ ถือว่าเป็นโชคดีที่มีคนช่วยโปรโมท และเป็นโอกาสในการที่จะสื่อสารกับลูกค้า ไม่ได้มองว่ามันจะกระทบหรือทำให้ขายคนโดนัท หรือร้านเบเกอรรี่ ได้รับผลกระทบมากกว่าเดิม 

 

เป็นเรื่องที่ดีมากกว่า ที่คนหันมาสนใจ อย่างที่บอกกินเข้าไปเยอะๆ แล้วเป็นโรคหัวใจแล้วคุณจะทานทำไม ขณะที่ผู้ผลิตสามารถเลี่ยงได้ก็เลี่ยงไม่ใช้ดีกว่า

 

หลังจากมีประกาศของกระทรวงสาธารณสุข นายปกรณ์ กล่าวว่า มีลูกค้าสอบถามเรื่อง “ไขมันทรานส์” ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของบริษัทเป็นจำนวนมาก ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กและหน้าร้าน ซึ่งมีปัจจุบันมีอยู่ 17 สาขา ทางบริษัทได้ใช้ทุกช่องทางในการสื่อสารกับผู้บริโภคว่าสินค้าของบริษัทปลอดภัยไร้ไขมันทรานส์

"จริงๆ ถ้าเราคิดว่ามันดีก็ควรจะคงไว้ แต่สิ่งที่ทำก็คือเราปรับสูตรเพื่อให้เข้ากับน้ำมันตัวใหม่ที่เราใช้คือไม่มีไนโตรเจน หลายเดือนกว่าที่ลูกค้าจะเข้าใจ และกว่าที่เราจะปรับตัวของเราเองเพื่อให้สอดคล้องกับน้ำมันตัวใหม่"

ความตื่นตัวเรื่องภัยไขมันทรานส์ในอาหารไม่ได้เพิ่งเป็นกระแส ที่ประเทศเดนมาร์คกลายเป็นประเทศแรก ที่มีการยอกเลิกใช้ไขมันทรานส์ตั้งแต่ปี 2003 ส่งผลให้ประชากรในประเทศป่วยเป็นโรคหัวใจลดลง จากนั้นก็มีอีกหลายประเทศแถบยุโรป เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย ออกข้อกำหนดต้องระบุปริมาณไขมันทรานส์ในฉลากโภชนาการเช่นกัน และตามมาด้วยสหรัฐฯ ที่ยกเลิกการใช้ไขมันทรานส์ด้วยเช่นกัน

น้ำมันไนโตรเจน ช่วยทำให้นุ่มหอม แต่เสี่ยงโรค 

 

นายปกรณ์ กล่าวว่า เปรียบเทียบน้ำมันที่มีไนโตรเจนกับน้ำมันที่ไม่มีไนโตรเจน หากเราวางทิ้งไว้ข้ามวัน ตัวที่ทอดกับน้ำมันที่มีไนโตรเจนจะนุ่มนานกว่า อาจจะด้วยกระบวนการผลิต หรืออะไรหลายอย่าง แต่ก็มีอันตรายกว่ามาก เพราะ "ไขมันทรานส์" เพิ่มความเสี่ยงเรื่องเส้นเลือดอุดตัน และเกิดโรคหัวใจตามมา

ส่วนประกอบหลักที่บริษัทสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ คือ น้ำมันทอดโดนัท เนย มาการีน ซึ่งไม่ได้ใช้น้ำมันตัวที่มีไนโตรเจนอยู่แล้ว แต่ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อที่จะให้เข้ากับสูตรที่มีการปรับใหม่ของแบรนด์ ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์ไทยไม่ได้คุณภาพ หลายแบรนด์ที่เป็นซัพพลายเออร์ไม่ได้เติมไนโตรเจน แต่ก็ยังมีหลายแบรนด์ที่เติม

ปรับสูตรแล้ว feedback ลูกค้า

 

นายปกรณ์ กล่าวว่า หลังจากการปรับสูตรมาใช้น้ำมันทอดแบบที่ไม่มีการเดิมไนโตรเจนลงไป ส่งผลให้ยอดขายลดลงบ้างในช่วงแรก เนื่องจากน้ำมันแบบใหม่ ทำให้โดนัทที่ทอดออกมามีกลิ่น ความนิ่ม เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่เหมือนกับที่ลูกค้าคุ้นเคย

ในช่วงหลายปีที่ผ่าน น้ำมันทอดที่ไม่มีไขมันทรานส์ในท้องตลาดมีให้เลือกน้อย และส่วนใหญ่จะมีราคาที่ค่อนข้างแพง เรียกได้ว่าแทบทุกแบรนด์เลือกใช้น้ำมันทอดแบบที่มีการเติมไนโตรเจน เนื่องจากช่วยทำให้สิ่นค้ามีความนิ่มได้นาน มีความหอมที่เป็นความเฉพาะ

เรามองว่าต้องการเปลี่ยนเพื่อให้ดีขึ้น ต้องการเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความได้เปรียบที่เท่าเทียมกันกับแบรนด์อื่น

เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างข้อได้เปรียบสินค้า 

 

นายปกรณ์ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ย้อนไป 4-5 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่แบรนด์โดนัทจากต่างประเทศเริ่มเข้ามาตีตลาดในประเทศไทย ก่อนที่จะเข้ามาจริงๆ เราก็ศึกษาว่าข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบของแบรนด์ของเรามีอะไรบ้าง และหนึ่งในนั้นคือเรื่องของ “ไขมันทรานส์” อย่างสหรัฐฯเรื่อง “ไขมันทรานส์” เป็นเรื่องที่ต้องห้าม ผลิตภัณฑ์ เนย มาการีน น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไนโตรเจนเข้าไป ถูกแบนแล้ว คือไม่มีในสหรัฐฯ เราก็เลยมองว่า ความจริงในบ้านเรา หรือในโซนเอเชียหลายประเทศก็ยังไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องพวกนี้ แต่กลับมองว่ามันคือหนึ่งในข้อเสียเปรียบ เลยตั้งใจที่จะเปลี่ยน

เปลี่ยนน้ำมัน-ปรับสูตร ต้นทุนเพิ่มขึ้น 20% 

 

นายปกรณ์ กล่าวว่า การปรับสูตรทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 แต่ก็พอรับได้ บางคนอาจจะแยกไม่ออกคิดว่าโดนัท เบเกอรรี่ทุกชิ้น มีไขมันทรานส์สูงเกินมาตรฐาน แต่ความจริงแล้วมันเป็นเพียงวัตถุดิบหนึ่งที่นำมาใช้ผลิตโดนัท เนย น้ำมัน มาการีน ที่ถูกเดิมไฮโตรเจนลงไป เหล่านั้นคือสิ่งที่ทำให้เกิดไขมันทรานส์ ซึ่งส่งผลเสียโดยตรงต่อร่างกาย แต่ถ้าไม่ใช้ของพวกนี้แล้วมันก็กินได้

เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้แล้ว มั่นใจว่าในท้องตลาดผลิตภัณฑ์พวกนี้ก็จะหายไป แล้วก็ทำให้ผลิตภัณฑ์พวกโดนัท พาย พัฟ ลดทรานส์ลงไปด้วยหรือหายไปเลย

ผลิตภัณฑ์ของทางร้านก็เปลี่ยนแล้วทุกสาขาเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ต้นทุนก็ต้องบอกว่าอะไรที่เกี่ยวกับสุขภาพย่อมแพงอันนี้เป็นเรื่องปกติซึ่งมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ได้ปรับขึ้นราคาโดนัทนานหลายปีแล้ว เพราะต้นทุนขึ้นมาแต่อยู่สัดส่วนที่รับได้ ร้อยละ 10-20

แบรนด์ไทยกับแบรนด์นอก

 

นายปกรณ์ กล่าวว่า ในช่วงแรกอาจจะมีคนที่ได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะว่าคนที่ปรับก่อนก็ได้เปรียบอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าในอนาคตข้อได้เปรียบเสียเปรียบเหล่านี้มันถูกกฎหมายกำหนด มองว่าแข่งกันเรื่องอื่น คงไม่ได้แข่งกันเรื่องไขมันทรานส์แล้ว

การออกกฎหมายนี้มาถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภค แต่แน่นอนสำหรับผู้ประกอบการคือปวดหัว แต่ก็สุดท้ายแล้วเพื่อผู้บริโภค คือถ้าไม่มีผู้บริโภคแล้ว ก็ไม่มีผู้ประกอบการอยู่แล้ว ก็ดีทั้ง 2 ฝ่าย

นายปกรณ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ ไม่มีใครมาใส่ใจจริงๆ ทางบริษัทก็ทำกิจกรรมเยอะมาก เพื่อโปรโมทว่าผลิตภัณฑ์ของเราคือ ไขมันทรานส์ 0 เปอร์เซ็นต์ ตอนนั้นไม่มีใครสนใจเลย เวลาไปพูด ไม่มีใครรู้จักจริงๆ ว่าไขมันทรานด์คืออะไร

ฝากถึงผู้บริโภค 


นายปกรณ์ กล่าวว่า สินค้าที่เราหาซื้อกินกันอยู่ทั่วไปตอนนี้ จริงๆ แล้วมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค ไม่เพียงเฉพาะโรคหัวใจอย่างเดียว ผู้บริโภคจึงต้องเลือกกินอาหาร ศึกษาข้อมูลของแต่ละแบรนด์ว่าควรบริโภคมากน้อยแค่ไหน บนโลกนี้ไม่มีอะไรที่เฮลตี้ 100 เปอร์เซ็นต์

ธุรกิจเร่งปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง 

หลายธุรกิจเริ่มปรับ เพราะมีกฎหมายเข้ามาควบคุม ต่อให้เป็นสูตรที่ทำกันมายาวนานยังไงก็ต้องปรับ แต่ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแล้วมันด้วยเหตุผลอะไร แล้วในอนาคตถ้าคุณจะไปหาน้ำมันที่เดิมไฮโตรเจน หรือ เนย มาการีนที่เติมไนโตรเจน ก็หาไม่ได้ด้วยซ้ำ หลังจาก 180 วัน ที่กฎหมายกำหนดผมเชื่อว่าโดนัททุกแบรนด์ในประเทศไทยกินได้หมด เลือกตามความชอบของแต่ละคน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดนัท 8 ยี่ห้อดัง ไขมันทรานส์สูง เสี่ยงโรคหัวใจ-ความดัน

“ไขมันทรานส์” เป็นผู้ร้ายสร้างโรคได้อย่างไร

5 อันดับอาหาร "ไขมันทรานส์สูง" เสี่ยงโรคหัวใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง