ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เลือกตั้ง 2562 : ขอบข่ายพรรค "สืบทอดอำนาจ"

การเมือง
13 มี.ค. 62
19:32
1,241
Logo Thai PBS
เลือกตั้ง 2562 : ขอบข่ายพรรค "สืบทอดอำนาจ"
ฝ่ายสืบทอดอำนาจและฝ่ายประชาธิปไตย กลายเป็นวาทกรรมหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเฉพาะการหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างว่า พรรคการเมืองที่เสนอชื่อหรือประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นพรรคการเมืองฝ่ายสืบทอดอำนาจจาก คสช.

การประกาศไม่สนับสนุนและไม่สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 เป็นจุดยืนทางการเมืองของพรรคการเมืองที่ลงสนามเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค.62 นี้ และกำลังกลายเป็นวาทกรรมการหาเสียงว่า เป็นพรรคการเมือง"ฝ่ายประชาธิปไตย" และ "ฝ่ายสืบทอดอำนาจ" พร้อมกับการชูเป็นจุดแข็งและชี้เป็นจุดอ่อนของแต่ละพรรคการเมืองโดยเฉพาะการหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย

พรรคพลังประชารัฐ คือพรรคการเมืองที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรค กำลังถูกตีความและกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายสืบทอดอำนาจ แต่แทบทุกครั้งที่นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์ก็จะกล่าวย้ำ ว่าพรรคนี้ไม่ใช่พรรคสืบทอดอำนาจ พรรคนี้ไม่มีนายทหาร แต่พรรคนี้เป็นพรรคการเมืองที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ปัจจุบัน และนำเสนอว่า พล.อ.ประยุทธ์ คือนายกรัฐมนตรีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด

นายสติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า อธิบายหลักวิชาการถึงคำนิยาม "สืบทอดอำนาจ" คือรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร และเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้ง และในยุคของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือว่าแตกต่างจากยุค คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ปี 2534 และของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ปี 2549 เพราะอดีตหัวหน้าคณะผู้ก่อรัฐประหาร คือผู้กำกับอยู่เบื้องหลัง แต่ปัจจุบันกลับอยู่เบื้องหน้า ก็ยากที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาหรือข้อครหาที่ว่านี้ได้

นายสติธร กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อครหาการสืบทอดอำนาจผ่านคณะรัฐประหารในอดีต โดยส่วนใหญ่คณะผู้ก่อรัฐประหารจะจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น และมีลักษณะของการเมืองที่ผูกขาดอำนาจเป็นระบบพรรคเด่น-พรรคเดียว ซึ่งต่างจากปัจจุบัน ทั้งรูปแบบและพฤติกรรม เหตุผลหนึ่งอาจสืบเนื่องจากปัจจัยทางการเมืองที่แตกต่างออกไป โดยเฉพาะกลไกทางกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง