นายอนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยได้ มีนโยบาย “ลดอำนาจรัฐ แก้ปัญหาปากท้องประชาชน” โดยยึด “บุรีรัมย์โมเดล” เป็นต้นแบบ ซึ่งพรรคภูมิใจไทยส่ง ส.ส.ลงสมัคร ครบ 350 เขต และ จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นเมืองหลวงของพรรค
หากเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 พรรคภูมิใจไทยชนะการเลือกตั้งถึง 7 เขต จากทั้งหมด 9 เขต ส่วนอีก 2 เขตเป็นของพรรคเพื่อไทย แม้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ จ.บุรีรัมย์ จะถูกลดจำนวนเขตเลือกตั้งจาก 9 เขตเลือกตั้งเหลือ 8 เขต มี ส.ส.ได้ 8 คน ทำให้การแข่งขันสูงขึ้น
เขตที่มีการแข่งขันสูสี คือเขตเลือกตั้งที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 4 และเขตเลือกตั้งที่ 6 เนื่องจากทั้ง 4 เขต มีผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยลงสมัครด้วย โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งที่ 6 ซึ่งเป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทย ที่ส่งนายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน อดีต ส.ส.ลงแข่งขัน ส่วนพรรคภูมิใจไทย ส่งนายไตรเทพ งามกมล อดีตรองนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าสู้ศึก
เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคภูมิใจไทยส่งนายรังสิกร ทิมาฤกะ อดีตนายกองค์การบริการส่วนจังหวัดลงสู้ศึก ขณะที่ พรรคเพื่อไทยส่งนายสุรศักดิ์ นาคดี อดีต ส.ส.ลงชิงชัย ขณะที่พรรคพลังประชารัฐส่งนายวรพจน์ วิบูลย์วิริยะสกุล อดีตสมาชิกสภาเทศบาลตำบล
เขตเลือกตั้งที่ 3 พรรคเพื่อไทยส่งนายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ อดีต ส.ส. สู้กับนายสมบูรณ์ ซารัมย์ พี่ชายของโสภณ ซารัมย์ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม
เขตเลือกตั้งที่ 4 นายโสภณ ซารัมย์ที่ขยับให้พี่ชายลงในเขต 3 แลตนเองมาลงในเขต 4 เพื่อสู้นายประกิจ พลเดช อดีต ส.ส.บุรีรัมย์ จากพรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้ง 6 ซึ่งพื้นที่แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ แต่เป็นฐานเสียงเดิมของนายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน อดีต ส.ส.ผู้สมัครจากเพื่อไทย ที่แม้ว่าจะเป็ฯเจ้าของพื้นที่แต่ก็มีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่างนายไตรเทพ งามกมล นักการเมืองท้องถิ่นจากภูมิใจไทย และนายพีรวัส พันธุ์สัมฤทธิ์ จากพรรคพลังประชารัฐ
ขณะที่เขต 8 พรรคภูมิใจไทย ส่งนายรุ่งโรจน์ ทองศรี อดีต รมช.รมนาคม ลงสมัคร ขณะที่พรรคพลังประชารัฐส่งนายประชารัฐ กองพร อดีตนายกเทศมนตรีตำบลโคกมะม่วง ลงแข่งขัน ด้านพรรคประชาธิปัตย์ส่งนายสันติ โรจน์สุกิจ ลงสู้ศึก