กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย​ 1.5%

เศรษฐกิจ
25 ก.ย. 62
15:30
1,240
Logo Thai PBS
กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย​ 1.5%
คณะกรรมการนโยบายการเงิน​ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย​ ร้อยละ​1.50​ ต่อปี​ แม้ปรับลดประมาณการณ์จีดีพี​ ต่ำกว่าศักยภาพ​ที่ร้อยละ​2.8​ แม้รัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วก็ตาม​

วันนีั​ (25​ ก.ย.2562)​ นาย​ทิตนันทิ์​ มัลลิกะมาส​ เลขานุการ​คณะกรรมการนโยบายการเงิน​  กล่าวว่า​ ที่ประชุม​กนง.​ มีมติเป็นเอกฉันท์​ ให้​ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย​ ที่ร้อยละ​ 1.50 ต่อปี​ 

หลังสงครามการค้า​ กระทบการส่งออก​ ลดลง​ / การท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าคาด​ อีกทั้ง​ การบริโภคเอกชน​ มีแนวโน้มชะลอตัวลง​ จากรายได้และการจ้างงาน​ ปรับตัวลดลง​ โดยเฉพาะในกลุ่มภาคการผลิตเพื่อการส่งออก​

ขณะเดียวกัน​  ยังมีแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนระดับสูง​  และภัยธรรมชาติ​ ส่งผลให้​ แนวโน้ม​การขยายตัว​ต่ำกว่าศักยภาพ​ จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ​3.3​ เหลือร้อยละ​2.8​ แม้มีมาตรการกระตุันเศรษฐกิจ

แต่หากการย้ายฐานผลิต​มายังไทย​ และโครงการร่วมลงทุน​ภาครัฐและเอกชน​ ในโครงสร้างพื้นฐาน​ ตลอดจน​ การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ​ ​  จะช่วยพยุงเศรษฐกิจฟื้นตัว​

กนง.​ยังปรับลดประมาณการณ์​ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป​จากร้อยละ​ 1​ เหลือร้อยละ​ 0.8  จากราคาพลังงาน​ที่ต่ำ​ตามภาวะเศรษฐกิจโลก​ และการขยายตัวธุรกิจอีคอมเมิร์ซ​ ส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นช้ากว่าในอดีต​

ทั้งนี้​ กนง.​จะติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน​ และการเคลื่อนย้ายเงินทุน​ อย่างใกล้ชิด​ และพร้อมพิจารณามาตรการเพิี่มเติม  หากเห็นความจำเป็น​

หลังกังวลว่า  แนวโน้มค่าเงินบาท​ยังแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่ง​ และมาตรการสกัดการเก็งกำไร​ ที่ผ่านมา​ ช่วยลดความเปราะบางในระบบการเงินไดัระดับหนึ่ง​ แต่ยังคงพบพฤติกรรมเก็งกำไร​

นอกจากนี้​ จากสถานการณ์อัตราดอกเบี้ย​อยู่ในระดับต่ำ​ จึงต้องติดตามพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงและ​พฤติกรรมการก่อหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs การขยายสินทรัพย์และความเชื่อมโยงภายในของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึง​ การก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร

คณะกรรมการฯ เห็นว่าควรใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) ร่วมกันอย่างเหมาะสม และจะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน

รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะ ผลกระทบของสภาวะการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบกับความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน.

 


  ​

ข่าวที่เกี่ยวข้อง