ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ถกสภาพัฒน์ฯ จับตายัดไส้ใช้งบฯ 4 แสนล้าน

เศรษฐกิจ
11 มิ.ย. 63
11:57
650
Logo Thai PBS
ถกสภาพัฒน์ฯ จับตายัดไส้ใช้งบฯ 4 แสนล้าน
ภาคประชาชน ถกสถาพัฒน์ฯ จับตาข้อเสนอต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้วยเงินกู้ 4 แสนล้านบาท

วันนี้ (11 มิ.ย.2563) นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง กรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) พร้อมด้วยตัวแทนจากองค์กรภาคีต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบการระบาดของโรค COVID-19 เข้าร่วมหารือกับนายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถึงจุดยืน ข้อสังเกตและข้อเสนอต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้วยเงินกู้จำนวน 400,000 ล้านบาท ผ่านการให้หน่วยงานของรัฐตั้งแต่ระดับกระทรวง จังหวัด และท้องถิ่นจัดทำโครงการตามกรอบของสภาพัฒน์ ซึ่งมีโครงการชุดแรกเสนอเข้าสู่การกลั่นกรองแล้วเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา 

 

นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง กรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวว่า ทางภาคประชาชนและภาคประชาสังคมที่ติดตามเรื่องนี้มีข้อสังเกตว่า กระบวนการได้มาซึ่งโครงการส่วนใหญ่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการระดมปัญหา ความต้องการ และการเสนอแผนการฟื้นฟู เป็นการทำแผนโดยหน่วยงานราชการ ซึ่งอาจเป็นการหยิบจับโครงการที่เคยมีมาแต่เดิมมาปัดฝุ่นนำเสนอใหม่ ส่งผลให้โครงการที่ถูกนำมาเสนอจำนวนมากไม่สามารถนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมไปถึงบางโครงการสำคัญที่ภาคประชาชนเสนอบางโครงการไม่ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรองได้ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับกรอบที่หน่วยงานในพื้นที่วางไว้ อาทิ แผนฟื้นฟูทรัพยากรของเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่ไม่สอดคล้องกับแผนของหน่วยงานอุทยาน หน่วยงานป่าไม้ในระดับจังหวัด นอกจากนี้ทางภาคประชาชนยังมีข้อเสนอ 3 ข้อหลักด้วยกัน คือ

 

1. ควรจะต้องมีการปรึกษาหารือและร่วมตัดสินใจทางนโยบาย เพราะเชื่อว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่จะประสบความสำเร็จ รัฐและประชาชนต้องร่วมกันคิด วิเคราะห์ และออกแบบโครงการเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในระยะยาว

2. การปฏิบัติการโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ กป.อพช.และองค์กรภาคีจะสามารถทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย และสมาชิกของตนได้อย่างได้อิสระ สอดคล้องกับกรอบของสภาพัฒน์ โดยที่โครงการของ กป.อพช.และองค์กรภาคี ก็จะเข้าสู่ระบบการตรวจสอบความโปร่งใสในการใช้งบประมาณเช่นเดียวกับโครงการของรัฐ

3. การร่วมตรวจสอบและประเมินผล รัฐควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน-ภาคประชาสังคมเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบประเมินผลร่วมกลไลของรัฐ เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งบประมาณของประเทศ ในการก่อหนี้สาธารณะครั้งนี้จะเกิดประโยชน์กับประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง

โดยภาคประชาชนก็มีความคาดหวังว่าการหารือร่วมกับสภาพัฒน์ในครั้งนี้ ทางสภาพัฒน์จะนำข้อสังเกตและข้อเสนอไปพิจารณา เพราะที่ผ่านมาภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเคยได้ทำงานร่วมกับสภาพัฒน์ในการใช้งบประมาณฟื้นฟูในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตมาแล้ว

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จังหวัด-ราชการ ของบฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทะลุ 3.7 แสนล้าน 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง