จากปัญหาน้ำแล้งในพื้นที่ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้างป่าที่เข้ามายังกินพืชไร่และพืชสวนของชาวบ้านทำให้เกิดปัญหาระหว่างชาวบ้านและสัตวป่า

เจ้าช้างน้อยอายุราว 4-5 ปี พบเมื่อ ม.ค.ปี 63 ในพื้นที่ป่าทองผาภูมิ นิสัยขี้เล่น
เจ้าช้างน้อยอายุราว 4-5 ปี พบเมื่อ ม.ค.ปี 63 ในพื้นที่ป่าทองผาภูมิ นิสัยขี้เล่น
หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี มองเห็นปัญหาดังกล่าวจึงพยายามหาทางแก้ไขปัญหาโดยร่วมกับชาวบ้านและมูลนิธิพิทักษ์คชสาร ขุดแหล่งน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ โดยในช่วงปี 2562 -2563 ได้พัฒนาแหล่งน้ำจำนวนมากทั้งรูปแบบของฝายซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จกว่า 7 แห่ง ในพื้นที่ ต.ห้วยเขย่ง ต.ท่าขนุน ต.หินดาด และ ต.ลิ่นถิ่น รวมกักเก็บน้ำได้ราว 60,000 ลูกบาศก์เมตร

นอกจากนี้ยังปลูกพืชอาหารสัตว์เช่น กล้วย ไผ่ จัดทำโป่งเทียม ไปจนขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการอุปโภคและบริโภค และจัดทำโรงผลิตน้ำดื่มจากน้ำบาดาลให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่
ในฤดูแล้งน้ำไม่เพียงพอ คนต้องแย่งใช้น้ำกับช้าง และจากการที่ช้างต้องกินอาหารวันละ 20 ชม. น้ำ 200 ลิตรต่อตัวในแต่ละวันจึงต้องสร้างแหล่งน้ำในป่าเพื่อให้ช้างไม่ต้องลงมาในชุมชน จากการศึกษาก็พบว่าช้างหลายตัวมีคชลักษณ์ที่ดีทั้งเจ้าช้างน้อย เจ้างาเล็กและเจ้าแฮปปี้ รวมแล้วในพื้นที่น่าจะมีช้างป่าอยู่ราว 100 กว่าตัว และจากข้อมูลก็พบว่าในปี 62 มีช้างเกิดใหม่กว่า 43 ตัว ในปี 63 ก็พบว่ามีช้างเพิ่มประมาณ 4 ตัว
นายหฤทัย คงควร รองประธานกรรมการ มูลนิธิพิทักษ์คชสาร กล่าวว่า หลวงปู่สาครเข้ามาดูแลผืนป่าตะวันตกในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ร่วมกับชาวบ้านโดยพัฒนาแหล่งน้ำให้สัตว์ป่าและชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะที่ผ่านมาเกิดปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำและอาหาร

แนวทางต่อไปจากการสร้างแหล่งน้ำ คือการพัฒนาอาชีพโดยในแต่ละปีนั้นประกอบอาชีพเพียง 2 เดือน ซึ่งจะต้องพัฒนาให้ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพได้ตลอดทั้งปีเพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกป่าล่าสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน รวมถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยากรณีที่ช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลของชาวบ้านในพื้นที่เนื่้องจากในพื้นที่ชาวบ้านประกอบอาชีพปลูกพืชเช่น มันสำปะหลัง ยางพารา

ด้านนายโสภณ เรืองบุญ ผู้อำนวยการโรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ ระบุว่า การแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำนอกเหนือจากช้างแล้วการสร้างแหล่งน้ำให้ชุมชนโดยเฉพาะโรงเรียนซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภคมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อมีแหล่งน้ำจึงช่วยให้นักเรียนกว่า 850 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาเรียนหนังสือในรูปแบบของการกิน-นอน ที่โรงเรียนเนื่องจากอยู่นพื้นที่ห่างไกล ได้รับความสะดวกมากขึ้นเนื่องจากมีน้ำใช้และใช้ในการปลูกผักสวนครัว เพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันได้ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองซึ่งมีฐานะยากจนได้เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ โรงเรียนบ้านไร่ป้า อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ก็เป็นอีกโรงเรียนที่ได้รับความช่วยเหลือในการพัฒนาแหล่งน้ำโดยเฉพาะน้ำดื่มที่แต่เดิมประสบปัญหาขาดแคลน แค่ขณะนี้ได้รับการพัฒนาการผลิตน้ำดื่มช่วยให้เด็กนักเรียนได้ดื่มน้ำที่สะอาด หรือ ผู้ปกครองของนักเรียนสามารถดื่มน้ำสะอาดที่มีราคาถูกได้

ขณะที่นายบุญเจตน์ พูนทอง หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานไทนโยค ทย. 8 (เขารวก) กล่าวว่า การเข้ามาทำแหล่งน้ำและปลูกแหล่งอาหารให้กับสัตว์ป่าในพื้นที่โดยเฉพาะสามารถช่วยให้สัตว์ป่ามีแหล่งน้ำมากขึ้นโดยเฉพาะช้างป่า เก้ง กระทิง และสัตว์ป่าอื่น ๆ ที่มีแหล่งน้ำ ขณะที่ ทางกรมอุยานแหล่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชก็มีแผนที่จะหลุดแหล่งน้ำเพิ่มแต้่มรวมถึงปลูกพืชอาหารในพื้นที่กว่า ไร่สำหรับสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
"ได้รับคำสั่งมาให้ดูแลปัญหาช้างป่าไม่ให้มีปัญหากับชาวบ้าน โดยกรมฯจะสร้างแหล่งน้ำอีก 3 แห่งที่จะขุดให้กับสัตว์ป่าคาดว่า ธ.ค.นี้จะแล้วเสร็จ รวมถึงปลูกรั้วไผ่หนามเพื่อป้องกันช้างลงมาในพื้นที่ และติดตั้งกล้องเชื่อมโยงระบบกับโทรศัพท์เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่สามารถผลักดันช้างก่อนที่จะเข้าพื้นที่ชาวบ้าน ความขัดแย้งในพื้นที่ระหว่างช้างกับคนจึงค่อนข้างน้อย"

รอยเท้าช้างที่พบว่าเข้ามากินน้ำในสระที่ขุดใกล้กับแนวป่า
รอยเท้าช้างที่พบว่าเข้ามากินน้ำในสระที่ขุดใกล้กับแนวป่า