สธ.แจงปมเลือกวัคซีน COVID-19 แอสตราเซเนกา

สังคม
19 ม.ค. 64
12:22
985
Logo Thai PBS
สธ.แจงปมเลือกวัคซีน COVID-19 แอสตราเซเนกา
กระทรวงสาธารณสุข แถลงเคลียร์ปมเลือกวัคซีน COVID-19 ของแอสตราเซเนก้า จับคู่สยามไบโอไซเอนซ์ ยืนยันมีคุณสมบัติดีที่สุดพร้อมรองรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้าน อย.ระบุยังไม่มีการขึ้นทะเบียนวัคซีนรายใด ส่วนของแอสตราเซเนกา รอเอกสารเพิ่มเติม

วันนี้ (19 ม.ค.2564) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข้อแถลงข้อเท็จจริงกรณีการจัดหาวัคซีนว่า กรณีมีข่าวว่ารัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขจัดหาวัคซีน COVID-19 ว่ามีความล่าช้า และมีราคาแพง ไม่ครอบคลุมประชาชน รวมทั้งกระบวนการได้มาซึ่งวัคซีน ที่ถูกระบุวาไทยติดต่อวัคซีนเพียงบริษัทเดียว เป็นการการจัดหาวัคซีนของแอสตราเซเนก้า และสยามไบโอไซเอนซ์ 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าหลังการระบาดของ COVID-19 รัฐบาลมองว่าวัคซีนเป็นหนึ่งในกระบวนการควบคุมโรค ซึ่งมีการคณะกรรมการจัดหาวัคซันเพื่อคนไทย และมีคณะทำงานย่อย มีการศึกษาข้อมูแลละติดตามมาตลอด ซึ่งขณะนัั้นต้องยอมรับว่ายังมีข้อมูลที่จำกัดด้วย
แต่วิธีการตั้งเป้าปี 64 จากการทดลองในเฟส 3 น่าจะได้วัคซีนมาฉีดคนไทย 50%

การจัดหามีเจรจาหลายบริษัท กรณีไม่ได้แจ้งประชาชน เนื่องจากเป็นข้อจำกัดข้อตกลงระหว่างกัน ที่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ การจัดหานั้น อาจจะมีความล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย เนื่องจากต้องพิจารณาความเป็นไปได้กับทางวัคซีน และยืนยันว่าไม่ได้ล่าช้ามาก

ลั่นพิจารณาข้อมูลรอบคอบ-ไม่ใช่ยึดจากชื่อบริษัท

นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การใช้วัคซีน COVID-19 ในภาวะเร่งด่วนและในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนการที่สถาบันวัคซีนร่วมกันจัดหาวัคซีนและจองล่วงหน้า ใช้ข้อมูลประกอบกัน และพิจารณารูปแบบวัคซีนที่วิจัยพัฒนาอยู่ว่ามีแนวโน้มจะใช้ได้กับไทยหรือไม่ ไม่ใช่การพิจารณาแค่ชื่อบริษัท หรือตามตัววัคซีนอย่างดียว

แอสตราเซเนก้า ไม่ใช่การจองซื้อวัคซีนทั่วไป แต่ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ไทย ในช่วงเวลาเร่งด่วนจึงต้องมีความพร้อมที่สุด มีความสามารถ มีคุณสมบัติ พบว่ามีสยามไบโอไซเอนซ์ พร้อมที่จะรองรับการถ่ายทอดจากมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด แม้แต่องค์การเภสัชกรรมของไทย ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ เพราะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 

นพ.นคร กล่าวว่า การที่ไทยมีข้อตกลงในลักษณะนี้ ก็มีหลายประเทศอื่นๆอยากได้ข้อตกลงนี้กับไทย มีผู้พยายามแข่งให้บริษัทแอสตราเซเนก้า คัดเลือก แต่ทีมไทยแลนด์ทั้งสธ. และสถาบันวัคซีน และเอสซีจี และรัฐบาลเจรจาและแสดงให้เห็นว่าศักยภาพของสยามไบโอไซเอนซ์ ที่เดิมผลิตเพียงแค่ชีววัตถุ หรือยาเพิ่มเม็ดเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้องรัง ปรับศักยภาพการมาเป็นการผลิตวัคซีน ซึ่งรัฐสนับสนุน 500 ล้านบาท และเอสซีจีอีก 100 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมือ จนเข้าคุณสมบัติ เป็นความพยายามทีมไทยแลนด์ไม่ใช่แค่ชั่วข้ามคืนที่จำสเร็จ แต่เป็นการวางรากฐานเดิมมา

มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าไปสนับสนุนบริษัทที่ขาดทุน แต่ยืนยันว่าเป็นไปตามหลักปรัชญารัชกาลที่ 9 ซึ่งไทยวางรากฐานแล้ว มีคน มีต้นทุนที่วางไว้ 10 กว่าปี และการที่เข้าถึงวัคซีน 26 ล้านโดส และเจรจาอีก 35 ล้านโดส เป็นการหาวัคซีนให้เพียงพอกับคนไทย

ยันไม่มีการขึ้นทะเบียนวัคซีน COVID-19 รอเอกสาร

ด้านนพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ประเด็นทีระบุว่าอย.พิจารณาขึ้นทะเบียนวัคซีน COVID-19 ของบริษัทแอสตราเซเนกาแล้ว ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนวัคซีนในไทย โดยแอสตราเซเนกาอยู่ระหว่างการขอเอกสารเพิ่มเติม ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียนได้ ก็ไม่ได้แปลว่าจะมีวัคซีนหรือไม่มีวัคซีนเข้ามาในไทย ขึ้นอยู่กับว่าทางบริษัทจะนำเข้ามาจำหน่ายในไทยหรือไม่ แต่หากเอกชนหรือผู้นำเข้ารายใดที่ต้องการที่จะนำวัคซีนเข้ามาใช้ ก็ต้องมาขออนุญาตเป็นผู้แทนจำหน่ายจากอย.โดยระบุให้ชัดว่าจะมีการนำวัคซีนจากบริษัทใดเข้ามา พร้อมทั้งนำเอกสารหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องวัคซีนเข้ามายื่นด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี! สธ.แย้มไทยจ่อไฟเขียวใช้วัคซีน COVID-19 ฉุกเฉิน

รพ.ศิริราช ยืนยันบุคลากร 6 ติด COVID-19 ไม่ใช่ส่วนดูแลคนป่วย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง