วันนี้ (1 ต.ค.2564) นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในลุ่มเจ้าพระยาว่า ขณะนี้บริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ด้วยการตัดยอดน้ำเข้าระบบคลองชลประทานทั้งสองฝั่งรวม 348 ลบ.ม.ต่อวินาที ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ 2,775 ลบ.ม.ต่อวินาที
ประกอบกับช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่อ.ลำสนธิ และอ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ทำให้มีน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อย่างรวดเร็วจนเต็มความจุ จึงต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในอัตรา 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำอ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ในอัตราประมาณ 2,873 ลบ.ม.ต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนป่าสักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เพื่อลดปริมาณน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ตัดยอดน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา 2 ฝั่งแล้วกว่า 133 ล้าน ลบ.ม.
พร้อมวางแผนผันน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ส่วนหนึ่งลงคลองระพีพัฒน์ ลงแม่น้ำนครนายก และบางปะกง ก่อนระบายลงสู่อ่าวไทย และอีกส่วนหนึ่งจะรับน้ำผ่านคลอง 13 คลองพระองค์ไชยานุชิต จากนั้นจะใช้สถานีสูบน้ำแนวคลองชายทะเล เร่งสูบน้ำลงอ่าวไทย
อ่านข่าวเพิ่ม กทม.เตือน 11 ชุมชน 7 เขตริมเจ้าพระยา เฝ้าระวังน้ำขึ้นสูง 1-5 ต.ค
"นครสวรรค์"น้ำท่วมแล้ว 1 หมื่นไร่
ขณะที่สำนักงานงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) รายงานว่า เผยภาพบริเวณปากน้ำโพ อ.เมืองนครสวรรค์ พื้นที่ที่ต้องรับมวลน้ำจากทั้งทางตอนเหนือ และตะวันออกของจังหวัด ซึ่งปัจจุบันท่วมแล้วกว่า 10,000 ไร่
จากการวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม Pléiades (เปลยาด) ถ่ายภาพวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมาเมื่อเวลา 11.14 น. จากภาพจะเห็นว่าพื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพื้นที่ชุมชน และเกษตรกรรมที่เป็นที่ลุ่มต่ำ โดยมวลน้ำก้อนนี้จะมุ่งหน้าไปยังเขื่อนเจ้าพระยาใน จ.ชัยนาท
"ปทุมธานี"มวลน้ำไหลผ่าน 3,200 ลบ.ม.ต่อวินาที
สำหรับสถานการณ์น้ำริมเจ้าพระยา จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกอบจ.ปทุมธานี นำถุงยังชีพแจกให้ประชาชนริมแถววัดไก่เตี้ย พร้อมแจ้งให้ประชาชนย้ายของขึ้นที่สูงเตรียมตัวรับมวลน้ำเพิ่มที่เขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนป่าสักปล่อยมวลน้ำไหลลงเจ้าพระยา 3,200 ลบ.ม.ต่อวินาที
เนื่องจากมีการระบายน้ำเขื่อนชัยนาท และการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลงมาส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ก่อนเข้าพื้นที่จ.ปทุมธานี อยู่ในอัตราประมาณ 3,000-3,200 ลบ.ม.ต่อวินาที่ จะทำให้กระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นอกคันกั้น อ.สามโคก และอ.เมืองปทุมธานี
ริมน้ำพระราม 5 น้ำเข้าชุมชน
ขณะที่ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาแถวพื้นที่จ.นนทบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าท่วมบ้านเรือนชุมชนระดับความสูงประมาณ 50 เซนติเมตรแล้ว โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ Wiphusa Sookmak
@Wiphusa ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อวานนี้ (30 ก.ย.) บ้านดิฉันเอง จ.นนทบุรีค่ะ
ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อวานค่ะ อันนี้บ้านดิฉันเอง จ.นนทบุรีค่ะ #น้ำท่วมนนทบุรี #น้ำท่วม pic.twitter.com/BO8WOYVZmx
— Wiphusa Sookmak (@Wiphusa) September 30, 2021
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เร่งเคลียร์น้ำ 20 วันก่อนน้ำทะเลหนุนรอบใหม่ ฝนตกชุก 9-12 ต.ค.