ลงนาม MOU ตรวจสารเสพติดในเส้นผมเยาวชนที่พักโทษ-ฝึกอาชีพ

อาชญากรรม
7 ก.พ. 65
17:08
342
Logo Thai PBS
ลงนาม MOU ตรวจสารเสพติดในเส้นผมเยาวชนที่พักโทษ-ฝึกอาชีพ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับศาลเยาวชนฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจหาสารเสพติดในเส้นผมกับเยาวชนที่ได้รับการพักโทษ หรือออกไปฝึกอาชีพ โดยสามารถตรวจยืนยันผลสารเสพติดได้ 26 ชนิด ในระยะเวลา 3 เดือน

วันนี้ (7 ก.พ.2565) หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัว กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกรมคุมประพฤติ จัดพิธีลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการตรวจหาสารเสพติดในเส้นผมกับเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี

พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เปิดเผยว่า การตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 โดยจะเป็นการวิจัยควบคู่กันไป และเน้นการควบคุมความประพฤติเยาวชนที่ได้รับการพักโทษ และกลุ่มเสี่ยงที่จะไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือกลุ่มที่ออกไปฝึกอาชีพตามสถานประกอบการ

ซึ่งในปัจจุบัน ศาลได้เปิดโอกาสให้เยาวชนได้กลับตัวเป็นคนดี และมีอาชีพรองรับเพื่อที่จะไม่ให้กลับไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด โดยอาจจะมีการลดโทษก่อนกำหนด หรือฝึกอาชีพ แต่จะต้องมีการกลับมาประเมินผลให้ระยะเวลา 3 เดือน และหากตรวจสารเสพติดแล้วไม่พบว่าเข้าไปเกี่ยวข้องก็จะเข้าสู่กระบวนการปล่อยตัวตามคำสั่งของศาล แต่หากยังพบเกี่ยวข้องก็จะต้องถูกดำเนินคดีต่อ

สำหรับขั้นตอนการตรวจหาสารเสพติดผ่านเส้นผม เป็นวิธีที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ และมีความแม่นยำ ซึ่งสามารถตรวจหาสารเสพติดได้ถึง 26 ชนิด ที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน และสารเสพติดดังกล่าวจะตกค้างอยู่ในเส้นผมนานถึง 3 เดือน ซึ่งต่างจากการตรวจผ่านทางเลือดและปัสสาวะ
นอกจากนี้ ยังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการติดตามแนะนำช่วยเหลือเด็กและเยาวชนฝึกประสบการณ์ทักษะอาชีพในสถานประกอบการอีก 1 ฉบับ

ทั้งนี้ ข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับ มีความเกี่ยวข้องและยึดโยงกับปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน ที่กระทรวงยุติธรรมได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินคดีที่ก่อนหน้านี้จะเน้นการลงโทษกับผู้กระทำผิดเป็นหลัก แต่ปัจจุบันจะเน้นการบำบัดรักษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้ที่กระทำผิดสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

กรมอุทยานฯ สั่งเบรกวิ่งเทรลผ่าป่าเขาบรรทัด

กรมการแพทย์ชี้แจงปม หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด รพ.ไม่รับรักษา

"นิโรธ" รับสภาฯล่ม เหตุ ส.ส.พปชร.ขาดประชุม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง