วันนี้ (18 ก.พ.2565) น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.เพื่อไทย อภิปรายทั่วไป คัดค้านการปลดโควิด-19 ออกจากโรคฉุกเฉิน (UCEP ) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม และเปHนการผลักภระให้ประชาชน ขณะที่ตัวเลข ATK ที่สูงขึ้นต้องเฝ้าระวังและติดตาม จึงยังไม่ควรปลดโควิด-19 ออกจากโรคฉุกเฉิน
น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากยังไม่เห็นว่าโควิด-19จะเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งโรคประจำถิ่นจะต้องสามารถบอกพฤติกรรมของโรคได้ว่า เกิดในฤดูกาลใด เกิดขึ้นแล้วจะเกิดความเสียหาย เจ็บป่วยหนักถึงขั้นเสียชีวิตในระดับใด
แม้รัฐบาลจะบอกว่า การปลดโรคโควิด-19 ออกจาก UCEP ก็สามารถรักษาได้ตามสิทธิที่ทุกคนมีทั้งสิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ แม้จะบอกว่าจะมีการรักษาฟรี แต่ก็มีรายงานว่า ขณะนี้เตียงของโรงพยาบาลรัฐเต็มทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเดินทางการขนส่งผู้ป่วยไม่พร้อม และปัญหาการรักษาระบบ HI ที่ประชาชนอาจพักอาศัยในบ้านที่ไม่สะดวกต่อการกักตัวเช่น อยู่กันหลายคน อยู่ในชุมชนแออัด เป็นต้น
การปลดโรคโควิดออกจาก UCEP ถือเป็นเป็นการผลักภาระให้ประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า รัฐบาลบอกได้หรือไม่ว่า หากผู้ป่วยติดเชื้อแต่ไม่รุนแรงไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉิน แต่ต้องกักตัวสถานที่เฉพาะแต่ที่บ้านไม่พร้อม หน่วยงานใดจะเข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่าย รวมถึงกรณีเกิดความสูญเสียรัฐบาลต้องตอบให้ชัด หากตอบเพียงแม้ว่าจะยังรักษาฟรีตามสิทธิ แต่ไม่อาจสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้เลย
น.ส.ธีรัตน์ ยังกล่าวว่า รัฐธรรมนูญม.47 วรรค3 ระบุว่า บุคคลต้องมีสิทธิได้รับการปกป้องจากโรคติดต่ออันตรายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งอยากให้รัฐบาลตระหนักและดูแลประชาชนอย่างเท่าเทียม รวมถึงกรณี คปภ.ที่ได้รับคำขอยกเลิกประกันภัย 3 เจ้า โดยขณะที่แนวโน้มการแพร่ระบาดยังรุนแรง ขณะที่ บ.เหล่านี้พยายามยกเลิกกิจการ ทั่วโลกไม่มี บ.ไหนที่ออกให้มีประกันโควิด ขณะที่ยังมีการปิดประเทศเพื่อป้องกันโควิด -19 จนเกินพอดีทำให้ขาดความสมดุลในการแพร่ระบาดและเศรษฐกิจ
น.ส.ธีรรัตน์ ยังระบุว่า ข้อสงสัยในประกัน "เจอ-จ่าย-จบ" ในช่วงที่อนุญาตให้มีการขายกรมธรรม์ "เจอ-จ่าย-จบ" เกิดขึ้นในช่วงที่มีวัคซีนแล้ว มีการขายกรมธรรม์ได้เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อมีการระบาดของโรคหนักขึ้น บ.กลับขอยกเลิกกรมธรรม์ ซึ่ง กมธ.คุ้มครองผู้บริโภคฯได้รับเรื่องร้องทุกข์จำนวนมากโดยมีประชาชนถูกยกเลิกเกือบ 2 ล้านคน และยังมีผู้ถือกรมธรรม์อื่นอีกเกือบ 10 ล้านรายที่เกิดผลกระทบกับประกันประเภทอื่น และยังมีอีกเกือบ 10 บ.ที่จะขอปิดตัวเอง
ขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ มาแก้ปัญหาให้ประชาชน เพื่อขจัดข้อสงสัยที่ว่า คำสั่งปิดประเทศที่ไม่ฟังข้อมูลใด ๆ จากผู้ทักท้วงเป็นเพราะต้องการเอื้อให้กับนายทุนได้ประโยชน์ในธุรกิจประกันภัยใช่หรือไม่ หรือเป็นการขจัดข้อสงสัยที่ว่า 1 ใน บ.ที่เสนอยกเลิกเป็น บ.ที่เคยซื้อที่ดินราคา 600 ล้านบาท จากสมาชิกในครอบครัว พล.อ.ประยุทธ์
น.ส.ธีรรัตน์ ยังกล่าวว่า ขอทวงถามถึงผู้มีส่วนให้เกิดการระบาดว่าขณะนี้คืบหน้ามากเพียงใด และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษหรือยัง
นอกจากนี้ กรณีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาเป็นตัวกระตุ้นให้เห็นความเหลื่อมล้ำของนักเรียนในเมืองและต่างจังหวัด โดยได้รับฟังความเห็นจาก ผอ.โรงเรียนในต่างจังหวัดที่ต้องนำเงินส่วนตัวหรือจัดผ้าป่าเพื่อนำเงินมาไปจัดซื้อชุดตรวจ ATK ขณะที่บางพื้นที่มี ส.ส.นำชุดตรวจไปแจกให้ฟรี
ทั้งนี้ผลกระทบโควิด-19 ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบ 1.2 ล้านคน นอกจากนี้รัฐบาลยังแก้ไขปัญหาไม่เป็นระบบ ในกรณีเรียนออนไลน์ โดยให้เพียงเงิน 2,000 บ. ซึ่งยังมีปัญหาทั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสมซึ่งเป็นภาระของครอบครัวที่ยากจน ซึ่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเคยของงบประมาณ 2,000 ล้านบาท แต่ก็ถูกตัดออก และแม้ว่าปีหนี้จะยื่นงบประมาณอีกครั้งก็ขอว่า รัฐบาลอย่าตัดงบประมาณในส่วนนี้อีก
น.ส.ธีรรัตน์ ยังระบุว่า วานนี้ (17 ก.พ.2565) ทราบข่าว บ.จากสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังเตรียมซื้อเครื่องบิน F-35 เพิ่มอีก เปรียบได้รัฐบาลเชี่ยวชาญการซื้ออาวุธแต่เคยที่จะติดอาวุธทางปัญญาให้ประชาชน
แนะนำว่ารัฐบาลถ้าจะปลดโควิดออกจาก UCEP ขอให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน ว่ารัฐบาลกำลังจะทำลายผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติหรือไม่ หรือหากจะยุบ ก็ขอให้รัฐบาลยุบ ศบค.และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่มีวัตถุประสงค์เพียงการจำกัดเสรีภาพของกลุ่มผู้เรียกร้องทางการเมือง และวิธีการที่ดีที่สุด และควรที่จะทำคือ ลาออกจากตำแหน่ง นายกฯจะเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างสูงสุด
แท็กที่เกี่ยวข้อง: