สงครามทำผู้อพยพทะลัก ย้อน 8 ปีวิกฤตโลกรับคลื่นผู้อพยพ

ต่างประเทศ
16 มี.ค. 65
14:57
1,066
Logo Thai PBS
สงครามทำผู้อพยพทะลัก ย้อน 8 ปีวิกฤตโลกรับคลื่นผู้อพยพ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สงครามรัสเซีย-ยูเครนมีคนอพยพแล้วกว่า 2.8 ล้านคน ขณะที่โลกเผชิญวิกฤตผู้อพยพครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี 2558 หลายสิบล้านคน

สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เกิดวิกฤตคลื่นผู้อพยพในยุโรป ชาวยูเครนจำนวนมากต้องทิ้งที่อยู่อาศัยเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อหนีภัยสงคราม

โปแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน รับผู้อพยพมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ขณะที่สโลวาเกีย โรมาเนีย ฮังการี และมอลโดวา มีผู้อพยพเดินทางเข้าไปจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งผู้อพยพบางส่วนจะเดินทางต่อไปยังประเทศยุโรป

ขณะที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ต่างผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้กับผู้อพยพจากยูเครน

ก่อนหน้านี้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่า มีผู้อพยพออกจากยูเครนไปแล้วมากกว่า 2.8 ล้านคน นับตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตีเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา

 

ย้อนไปเมื่อปี 2558 โลกเผชิญกับปัญหาผู้ลี้ภัยครั้งใหญ่ ข้อมูลจากสหประชาชาติ พบว่า มีคนกว่า 65 ล้านคนถูกบังคับให้ต้องพลัดพรากจากบ้านของพวกเขา ด้วยเหตุแห่งความขัดแย้ง การประหาร ความรุนแรงที่ทำในวงกว้าง และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ปี 2560 มีผู้ลี้ภัยตามประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 68.5 ล้านคน แบ่งเป็น 40 ล้านคน เป็นผู้อพยพภายในประเทศของตน และ 25.4 ล้านคนกลายเป็นผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยในจำนวนนี้ 19.9 ล้านคนอยู่ภายใต้การดูแลของ UNHCR และ 5.4 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่ลงทะเบียนกับ UNRWA ส่วนที่เหลืออีก 3.1 ล้านคนกลายเป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัย

ขณะที่ 85% ของผู้พลัดถิ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และ 10 ล้านคนต้องกลายเป็นคนไร้รัฐ ซึ่งใน 1 วันมีคนจำนวน 44,400 คน หรือในเวลาเพียง 2 วินาทีจะมี 1 คนถูกบังคับให้หลบหนีออกจากบ้านของตน เนื่องจากความขัดแย้งและการประหาร

ผู้ลี้ภัยทั่วโลก มาจากที่ไหน?

57% ของผู้ลี้ภัยทั่วโลกมาจาก 5 ประเทศหลัก ดังนี้

1. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศซีเรีย 6.3 ล้านคน
2. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศอัฟกานิสถานมี 2.6 ล้านคน
3. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศซูดานใต้มี 2.4 ล้านคน
4. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศเมียนมาร์ 1,391,000 คน และในจำนวนดังกล่าวมีผู้ลี้ภัยที่อยูในค่ายพักพิงประเทศบังคลาเทศ 720,000 คน ซึ่งใน 1 วันจะมีคนกลายเป็นผู้ภัย 14,300 คน หรือทุกๆ นาทีประชาชนกลายเป็นผู้ลี้ภัย 10 คน
5. ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศโซมาเลียมี 1,091,270 คน โดยในจำนวนนี้คนที่ลงทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัย 15,673 คน และเป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัย 15,800 คน รวม 31, 473 คน
6. ผู้ลี้ภัยจาสาธารณะรัฐประชาธิปไตยคองโก มีผู้ลี้ภัย 735,000 คน ส่วนใหญ่อพยพไป Sub-Sahara Africa
7. ผู้ลี้ภัยจากสาธารณะแอฟริกากลาง 573,428 คน
8. ผู้ลี้ภัยจากประเทศบุรุนดี 394,778 คน
9. ผู้ลี้ภัยจากประเทศอิรัก 260,000 คน
10. ผู้ลี้ภัยจากประเทศไนจีเรีย 226,247 คน ในจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดมีผู้ลี้ภัยที่ได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม 102,800 คน

ประเทศใด คือจุดหมายปลายทาง

ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มักจะลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในส่วนของประเทศ 10 ประเทศที่รับผู้ลี้ภัยเข้ามามากที่สุดในโลก คือ ตุรกี โดยในปี 2560 ตุรกีรับผู้ลี้ภัยรวม 3.5 ล้านคน ส่วนใหญ่คือชาวซีเรีย, จอร์แดน รับผู้ลี้ภัย 2.9 ล้านคน, เลบานอน, ปากีสถานและอูกันดา มีผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ 1.4 ล้านคน ซึ่งผู้ลี้ภัยในปากีสถานส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา , อิหร่าน มีผู้ลี้ภัย 979,400 คน, เยอรมัน 970,400 คน, บังคลาเทศ 932,200 คน, ซูดาน 906,600 คน และเอธิโอเปีย 889,400 คน

ขณะที่ สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ผู้ลี้ภัยต้องการเดินทางเข้าไปมาก มีผู้ยื่นคำร้องขอลี้ภัยทั้งสิ้น 331,700 คน ตามมาด้วยเยอรมนี อิตาลี และตุรกี


(ข้อมูลจาก Amnesty International Thailand)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง