ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โพลระบุคนกรุงฯ ต้องการผู้ว่าฯ "อิสระ" มีความรู้-เป็นผู้นำ-ซื่อสัตย์

การเมือง
5 เม.ย. 65
10:44
288
Logo Thai PBS
โพลระบุคนกรุงฯ ต้องการผู้ว่าฯ "อิสระ" มีความรู้-เป็นผู้นำ-ซื่อสัตย์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เปิดผลสำรวจความคิดเห็น “การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และ ส.ก.” ระบุต้องการให้ผู้ว่าฯ เป็นอิสระไม่สังกัดพรรค เน้นคนมีความรู้ความสามารถ มีความเป็นผู้นำ

วันนี้ (5 เม.ย.2565) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผศ.ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร หัวข้อ “การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร”

โดยสำรวจข้อมูลระหว่าง วันที่ 30 มี.ค. - 2 เม.ย.2565 จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป รวม 1,242 ตัวอย่าง

ผลการสำรวจจากแบบสอบถามระบุว่า

1.ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานคร ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) 900 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 และเห็นว่า ควรสังกัดพรรคการเมือง 342 คน คิดเป็นร้อยละ27.5

2.ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) 792 คน คิดเป็นร้อยละ 63.8 และเห็นว่าควรสังกัดพรรคการเมือง 450 คน คิดเป็นร้อยละ 36.2

3.กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) 552 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล 378 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 อื่น ๆ 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคพลังประชารัฐ 84 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 พรรคประชาธิปัตย์ 60 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทย 54 คน คิดเป็นร้อยละ 4.3

4.กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) 537 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 อื่น ๆ 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคประชาธิปัตย์ 90 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 พรรคพลังประชารัฐ 78 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทย 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4

5.คุณลักษณะของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อใดสำคัญที่สุด ต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ควรมีความรู้ความสามารถ 429 คน คิดเป็นร้อยละ 34.5 รองลงมาคือ มีภาวะผู้นำ 229 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 ซื่อสัตย์สุจริต 208 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 มีคุณธรรม จริยธรรม 150 คน คิดเป็นร้อยละ 12.1 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ 124 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ 81 คน คิดเป็นร้อยละ 6.5 ยึดมั่นในกฎระเบียบ18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 และสุดท้ายคือ อื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

6.คุณลักษณะของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ข้อใดสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรมีความรู้ความสามารถ 442 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6 รองลงมาคือ ซื่อสัตย์สุจริต 257 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 มีคุณธรรม จริยธรรม 192 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ 120 คน คิดเป็นร้อยละ 9.7 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 มีภาวะผู้นำ 108 คน คิดเป็นร้อยละ 8.7 ยึดมั่นในกฎระเบียบ 6 คน คิดเป็นร้อยละ .5 และสุดท้ายคือ อื่นๆ 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

7.ความสนใจในประเด็นหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า การแก้ปัญหาจราจร 498 คน คิดเป็นร้อยละ 40.1 รองลงมาคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ใช้ชีวิตปกติ 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 แก้ปัญหาอื่นๆ 168 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 แก้ปัญหาน้ำท่วม 126 คน คิดเป็นร้อยละ 10.1 และสุดท้ายคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ท่องเที่ยวได้ 57 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6

8.ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัคร ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ควรมากจากนักการเมือง 501 คน คิดเป็นร้อยละ 40.3 รองลงมาคือ นักธุรกิจ 381 คน คิดเป็นร้อยละ 30.7 อาชีพอื่น ๆ 186 คน คิดเป็นร้อยละ 15.0 ทหาร 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ข้าราชการ 66 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 อาจารย์ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 และสุดท้ายคือ ตำรวจ 6 คน คิดเป็นร้อยละ .5

9.ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัคร ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรมากจากนักธุรกิจ 351 คน คิดเป็นร้อยละ 28.3 รองลงมาคือ นักการเมือง 330 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 อาชีพอื่น ๆ 267 คน คิดเป็นร้อยละ 21.5 อาจารย์ 171 คน คิดเป็นร้อยละ 13.8 ข้าราชการ 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 และสุดท้ายคือ ทหาร 51 คน คิดเป็นร้อยละ 4.1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง