ย้อนปม "หนี้สายสีเขียว" รถไฟฟ้าบีทีเอส

เศรษฐกิจ
2 มิ.ย. 65
19:27
1,854
Logo Thai PBS
ย้อนปม "หนี้สายสีเขียว" รถไฟฟ้าบีทีเอส
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยพีบีเอส ย้อนปม "หนี้สายสีเขียว" รถไฟฟ้าบีทีเอส หลังคาดว่าอีก 1 เดือนนี้จะมีทางออกจากที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ ลงมาส่งปัญหา พร้อมเตรียมเข้าพูดคุยกับรมว.มหาดไทย และกระทรวงคมนาคมในสัปดาห์หน้า

หลังจากนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ส่งสัญญาณหลังหารือกับกรุงเทพธนาคม ปมสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว โดยตั้งเป้า 1 เดือนได้ข้อสรุปปมสัญญา ส่วนภาระหนี้ 40,000 ล้านบาทโครงสร้างพื้นฐานขอคุยหลายหน่วยงาน  

ไทยพีบีเอส ตรวจสอบปมปัญหารถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ซึ่งเริ่มต้นสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 10 ริเริ่มตั้งแต่ปี 2530 แต่นานมากกว่าจะใช้งานจริงได้ใช้เวลาถึง 12 ปี ตอนนั้นยังไม่คิดว่าจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้า รู้แค่ว่ามี "บีทีเอส" อยู่ 2 สายคือ สายสุขุมวิท จากสถานีหมอชิต ถึงสถานีอ่อนนุช และสายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงสถานีสะพานตากสิน ให้กลุ่มธนายง ที่ตั้งบริษัทลูกคือ บีทีเอสซี มารับสัมปทาน 30 ปี 2542-2572

บีทีเอสซี รับผิดชอบทุกอย่างทั้งสร้าง ระบบราง สถานีซ่อมบำรุง งานเดินรถจะขาดทุนจะกำไร บีทีเอสรับความเสี่ยงพอครบ 30 ปีแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะมาเป็นของกทม. ซึ่งช่วงก่อสร้าง เจอวิกฤตต้มยำกุ้ง และผู้โดยสารน้อยกว่าประเมินไว้ จนล้มละลายต้องฟื้นฟูกิจการ เมื่อรถไฟฟ้าได้รับการยอมรับก็มีคนใช้บริการมากขึ้น

 

ต่อมา เรื่องการเมืองแย่งชิงฐานเสียง ทำให้มีแนวคิดสร้างส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 สะพานตากสินถึงวงเวียนใหญ่ แต่ระยะทางสั้นแค่ 2.2 กิโลเมตร ไม่มีใครประมูลสร้าง กทม.ยุคผู้ว่าฯ อภิรักษ์ โกษะโยธินตัดสินใจควักเงินกทม.สร้างเอง แล้วจ่ายเงินจ้างบีทีเอสซี เดินรถและซ่อมบำรุง แทนการให้สัมปทาน ที่สำคัญ กทม.ไม่ได้จ้างโดยตรง แต่จ้างวิสาหกิจของ กทม.ที่ชื่อกรุงเทพธนาคม ให้จัดหารถมาวิ่ง แต่กรุงเทพธนาคม กลับไปจ้างบีทีเอสซีอีกทอดหนึ่ง เหมือนเป็นนายหน้าจัดจ้างเท่านั้น



กรุงเทพธนาคม ดูแลสาธารณูปโภคทั้งหมด เช่น ขยะ รถบีอาร์ที กรุงเทพธนาคาร เป็นวิสาหกิจ ไม่ใช่เอกชน โครงการรถไฟฟ้ามูลค่าเกินพันล้าน แต่ไม่จำเป็นต้องทำตามกฎหมายร่วมทุน ไม่ต้องขอความเห็นชอบจาก ครม.ที่มาจากต่างขั้วการเมือง

ทำให้มีส่วนต่อขยายอีกสาย คือสถานีอ่อนนุช ถึงแบริ่งตามมา ค่าโดยสารส่วนนี้เข้ากระเป๋า กทม. และเป็นที่ฮือฮา ในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าฯกทม.เพราะเกิดสัญญาจ้างเดินรถใหม่ ให้บีทีเอสซี เดินรถอีก 30 ปี ครอบคลุมทั้งส่วนต่อขยาย และส่วนไข่แดงด้วย สัญญาจ้างเดินรถสิ้นสุดปี 2585

อ่านข่าวเพิ่ม "ชัชชาติ" ขอ 1 เดือนเคลียร์สัญญา "บีทีเอสสายเขียว"

แน่นอนว่าถูกวิจารณ์ว่าเอื้อให้บีทีเอสซี ผูกขาด แต่ไม่จบแค่นี้ รัฐบาลมีแผนแม่บทรถไฟฟ้าให้ขยายออกไปฝั่งเหนือ หมอชิต ไปถึงคูคต ปทุมธานี และทางใต้ แบริ่ง สมุทรปราการ ตอนนี้เกินขอบเขตอำนาจ กทม. รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องการรวมระบบราง จึงให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้สร้าง

ทีนี้สายสีเขียวทั้งหมดใครดูแล กทม.หรือคมนาคมปี 2558 กระทรวงคมนาคม ตกลงให้กทม.รับไปจะได้เกิดความต่อเนื่อง แต่ต้องจ่ายค่าลงทุนสร้างให้รฟม.ด้วย หนี้เคลียร์ไม่จบ แต่สัญญาเดินรถเดินหน้าไปแล้ว ถึงปี 2585 เท่ากับสายสีเขียวส่วนอื่นทั้งหมดเป็นปมที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ผูกโยงมาถึงปัจจุบัน

"หนี้สายสีเขียว" นับแสนล้านบาท 

เรื่องราวทั้งหมดทำให้ หนี้สายสีเขียว มีทั้งหมดนับแสนล้าน ส่วนแรก คือ การโอนส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ที่ล้ำไปถึง จ.ปทุมธานี และสมุทรปราการ ของรฟม.60,000 ล้านบาท และจัดหารถไฟและเดินรถ ของส่วนต่อขยายส่วนเดียวกันนี้ นำไปสู่การใช้ ม.44 ตั้งคณะกรรมการหาทางออกเสนอว่าให้ต่อสัมปทานให้บีทีเอสซี ไปอีก 30 ปี ถึงปี 2602 แลกกับการยกหนี้ทั้งหมดและให้เงินกทม.อีก 200,000 ล้านบาท ภายใน 30 ปี ถ้ากำไรดีให้เพิ่มเงินให้ กทม.อีก แต่ติดว่าค่าโดยสารตลอดสาย 65 บาท ถูกมองว่าสูงเกินไป

จากนี้ สิ่งที่ผู้ว่าฯชัชชาติ จะทำคือปรึกษาสภากทม. แล้วรายงานต่อพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ก่อนพบนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่เชิญนายชัชชาติ ถกปมต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวภายในสัปดาห์หน้า  

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ชัชชาติ" ย้ำ BTS สายสีเขียว 25-28 บาท แค่ 8 สถานี ไม่ใช่ตลอดสาย

"ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" ถกปมสัญญาสัมปทาน BTS - โรงไฟฟ้าขยะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง