เผชิญหน้างู! เอาตัวรอดยังไง?

สิ่งแวดล้อม
15 ก.ย. 65
16:54
4,543
Logo Thai PBS
เผชิญหน้างู! เอาตัวรอดยังไง?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จ.ส.ต.ภิญโญ พุกภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญการจับงู สน.บางเขน แนะวิธีเอาตัวรอดเมื่อต้องเผชิญกับงู ชี้ กทม.จับงูช่วงน้ำท่วมเฉลี่ยอาทิตย์ละ 1,000 ตัว เหตุฝนตกหนัก น้ำไม่ลด แต่งูขนาดเล็กลงเหลือ 3 เมตร

กรณีเกิดเหตุการณ์งูเหลือมยาว 3.50 เมตรฉกเจ้าหน้าที่ 2 คนบาดเจ็บภายในตึกญี่ปุ่น กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำให้เจ้าหน้าที่หวาดผวา แม้ว่าจะจับงูเหลือมได้แล้ว แต่สภาพตึกที่มีใต้ถุน มีน้ำขังและสภาพต้นไม้รกครึ้ม จึงมีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีงูตัวอื่นๆ

ไทยพีบีเอสออนไลน์ พูดคุยกับ จ.ส.ต.ภิญโญ พุกภิญโญ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชำนาญการ สถานีดับเพลิงบางเขน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ผู้เชี่ยวชาญการจับงูมานานกว่า 20 ปี แนะเทคนิคเอาตัวรอด ถ้าเผชิญหน้างูต้องทำยังไง?

อ่านข่าวเพิ่ม วินาที “งูเหลือม” พุ่งฉก จนท.ในตึกอุทยานฯ บาดเจ็บ

งูในกทม.เยอะขึ้นจริงมั้ย? 

แต่ละสัปดาห์มีประชาชนแจ้งให้ไปจับงูเข้าบ้านเรือนประชาชนในเขตต่างๆ ของ กทม.ประมาณ 1,000 ตัว โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนของปีนี้ หนักกว่าปกติ  เพราะปกติน้ำท่วม ก็ยุบ แต่ตอนนี้น้ำท่วมต่อเนื่องไม่ยุบ งูไม่สามารถกลับไปอยู่ที่เดิม จึงออกมาอาศัยตามต้นไม้ กองไม้ ตามบ้านเรือนของบ้าน ทำให้คนเจอบ่อยๆ ยอดการขอให้ไปจับจับงู จึงมีตัวเลขกระโดดขึ้น แต่ยังไม่ได้บ่งชี้ว่างูใน กทม. เยอะขึ้น 

งูเข้าบ้านทุกวัน วันหยุด คือวันที่คนเจองูมากที่สุด เพราะอยู่บ้านเริ่มซน เริ่มเก็บบ้าน ส่วนงูพยายามซ่อนตัวที่ลับสายตา ที่แคบ เพราะรู้สึกปลอดภัย รวมทั้งบนต้นไม้สูง เพราะปลอดภัย

ขนาดของงูใน กทม.ตัวเล็กลง

จากการจับงูอย่างต่อเนื่อง มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าขนาดของงูที่จับมาลดลง โดยเฉพาะงูเหลือมจากที่เคยจับได้ 4 เมตร เดือนละ 20-30 ตัว ตอนนี้น้อยลง เพราะงูจะออกลูกครอกหนึ่ง 30-50 ตัวมาพร้อมกัน

พอชุดนี้ไล่จับก็จะเหลือ 3 เมตรกว่าๆ และจำนวนไข่ที่เจอก็ลดลง เจอขนาดใหญ่ๆ น้อยมาก 4 เมตร บางเดือนไม่เจอ ตอนนี้มี 3 เมตรกว่าก็เริ่มน้อย 

อ่านข่าวเพิ่ม กรมอุทยานฯ "งูเหลือม" ดุ โผล่ฉกซ้ำ จนท.เจ็บ คนที่ 2

ทำไม “งูเหลือม” ในกทม.มีเยอะ

ส่วนมากงูที่จับได้ในกทม.70% เป็นงูเหลือม เพราะงูเหลือม เป็นสัตว์เลื้อยคลานบนห่วงโซ่ของอาหาร ไม่มีใครมาควบคุมปริมาณ และโอกาสรอดถึง 95% การเจริญเติบโตจึงก้าวกระโดด

นอกจากนี้ในอดีต กทม.มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้งูหลบซ่อน ไม่มีคนมารุกล้ำ แต่ปัจจุบันมีการก่อสร้างที่พัก และการขยายตัวของคน และชุมชนเข้ามางูก็ถูกรบกวน ส่วนที่บอกว่าตัวเงินตัวทอง ลดลง ไม่ได้กินไข่งู ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง

จริงๆ งูเหลือมกินตัวเงินตัวทองได้ด้วย แต่ขณะเดียวกันตัวเงินตัวทองที่จับมาก็มีขนาดลดลงเช่นกัน ดังนั้นทั้งงูเหลือม และตัวเงินตัวทองก็อาจลดลง แต่ความรู้สึกงูเหลือมเพิ่มขึ้น แต่จริงๆ งูไม่ได้เพิ่มขึ้น

ถ้าเจองูระยะประชิดตัวต้องทำอะไร?

ถ้าเจองูระยะไกลให้นิ่งๆ ดูการเคลื่อนไหวว่างู จะไปไหน ตั้งข้อสังเกตก่อน เพราะงูจะไม่เลื้อยมาทำร้ายเราโดยตรง แต่ถ้าในบ้านเราให้สังเกตจุดจบในบ้านจะไปตรงไหน และแจ้งเจ้าหน้าที่มาค้นมารื้อจับตัวไป

แต่ถ้าเป็นระยใกล้ๆ อันดับแรกต้องตั้งสติ ถ้างูจะเลื้อยผ่านคนต้องนิ่ง งูเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ดี การเคลื่อนไหวคือสิ่งที่รบกวน และอาจทำให้คนถูกกัด เพราะป้องกันตัว รวบรวมสติ และยืนนิ่งที่สุด ให้เขาผ่านไปก็จะปลอดภัย และค่อยขยับและดูว่างูไปจุดไหน 

อ่านข่าวเพิ่ม "หมอล็อต" ไขข้อสงสัยปัจจัย "งูเหลือม" เพิ่ม

 

กรณีที่งูไปอยู่ใต้โต๊ะ ตามคลิป จุดที่คนผ่านมาการเคลื่อนไหวเยอะ งูหลบ พอคนเข้าใกล้งูฉกเพื่อพลิกหนี งูเหลือมจะกัด 3 แบบ กัดแบบแรกเพื่อป้องตัว กัดแบบล่า จะกัดแบบเต็มกราม คืองูจะมารัดตัวและทำร้าย งูจะมีเจตนาเพื่อรัดเพื่อให้เหยื่อหนีไปไม่ได้

แต่อีกแบบป้องกันตัวเพื่อฉกแบบชั่วคราว ซึ่งที่ผ่านมาคนมักจะถามว่างูชอบห้องน้ำจริงๆ แค่ 1% แต่งูอยู่ในจุดของบ้าน โดยเฉพาะช่วงนี้ฝนตกบ่อย อากาศเย็น งูจะหาที่อบอุ่น 

แกะรอยงูอย่างไร

งูเหลือม เป็นสัตว์ที่ถ้าไม่เฝ้า ไม่ติดตามโอกาสที่จะหายตัวไปค่อนข้างสูง จึงย้ำกับประชาชนเสมอว่าให้เฝ้าดูว่างูจะไปจุดไหน บางทีต้นไม้มีต้นต่อๆ กัน งูจะเลื้อยไปหาจุดที่ปลอดภัย การเอาไม้ไปเคาะไม่มีประโยชน์ ให้ดูพฤติกรรม

พฤติกรรมของงูเหลือม ออกหากินได้ทุกช่วงตั้งช่วงค่ำยันเช้ามืด ขึ้นกับวัยและขนาดของงู ถ้าช่วงเช้าจะเป็นงูเล็ก 1-3 เมตรมาคอยดักกินกระรอก นก สัตว์เลี้ยงในกรงแต่กลางวัน จะเจอในบ้านเพราะชาวบ้านไปไล่รื้อของ 

งูคือครู ถูกกัดบ่อยครั้ง?

การเรียนรู้พฤติกรรมงู คือการพัฒนา งูเป็นครูของเรา แต่เป็นการแลกด้วยเลือด เพราะไม่ได้เก็บค่าสอนเป็นเงิน เแต่เป็นการแลกจากพฤติกรรม การที่ใช้มือเปล่าจับงู เพราะมองเป็นการพัฒนา การใช้มือจับงูสัมผัส เป็นการสื่อซึ่งกันและกัน มันลดเรื่องความกลัว และสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง แต่ถ้าไม่มั่นใจก็อย่าไปทำ 

ถ้าเป็นงูเหลือมโดนกัดนับครั้งไม่ถ้วน เพราะเราไม่รู้จัก โดนงูจงจาง 1 ครั้ง งูเห่าพ่นพิษใส่ตาครั้งหนึ่ง แต่ไม่ขยาด เอาสิ่งที่ผิดพลาดมาสอน 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับแล้ว "งูเหลือม" 3.5 เมตร กัด จนท.ในกรมอุทยานฯ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง