ผลักดัน "ผ้าใยกัญชง" ม้ง สู่ตลาดสากล

เศรษฐกิจ
19 ก.พ. 66
12:50
1,341
Logo Thai PBS
ผลักดัน "ผ้าใยกัญชง" ม้ง สู่ตลาดสากล
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กลุ่มชาวบ้านและนักออกแบบ พยายามยกระดับเสื้อผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความงดงามของลวดลาย โดยเฉพาะชุดใยกัญชงของชาวม้ง ให้เป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับการยอมรับจากชาวต่างชาติ

ชาวชาติพันธุ์ม้ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดาวม่างผ้าใยกัญชง บ้านแม่สาน้อย ใน ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ช่วยกันปลูกต้นกัญชงเนื้อที่กว่า 3 ไร่ โดยนำเปลือกมาแปรรูปเป็นเส้นใย สำหรับตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าใยกัญชงหลากหลายรูปแบบ

ต้นกัญชง

ต้นกัญชง

ต้นกัญชง

น.ส.มยุรา ถนอมวรกุล สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเปิดเผยว่า ปัญหาการระบาดของโควิด19 กระทบต่อยอดขายชุดใยกัญชง แต่หลังการปลดล็อกกัญชงและโควิดคลี่คลาย ทำให้ยอดขายดีขึ้น มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบเสื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ ที่มีความสวยงาม มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่สิ่งที่ทางกลุ่มยังต้องพัฒนาคือ การตัดเย็บที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าต่างชาติ

ตอนนี้น่าจะเป็นรูปแบบเสื้อผ้าที่เราแปรรูป สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ด้านการออกแบบเรายังพัฒนาไม่มาก จึงต้องการพัฒนาให้มีความทันสมัยขึ้น ของเราปลูกแบบออแกนิกไม่ใช้สารเคมี
เสื้อผ้าใยกัญชง

เสื้อผ้าใยกัญชง

เสื้อผ้าใยกัญชง

ชุดใยกัญชงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เป็นหนึ่งในเสื้อผ้าที่ได้รับความสนใจชาวต่างชาติ โดยเฉพาะแบรนด์ Hilltribe House ของดีไซเนอร์หญิงไทยในจังหวัดเชียงใหม่ ที่นำผ้าของชาวม้งมาออกแบบ ตัดเย็บ ได้อย่างสวยงามโดดเด่น จนได้รับเชิญไปแสดงแฟชั่นโชว์ในต่างประเทศมาแล้วหลายเวที

พิมพ์จุฑา เพอร์วิส เจ้าของแบรนด์ Hilltribe House

พิมพ์จุฑา เพอร์วิส เจ้าของแบรนด์ Hilltribe House

พิมพ์จุฑา เพอร์วิส เจ้าของแบรนด์ Hilltribe House

น.ส.พิมพ์จุฑา เพอร์วิส เจ้าของแบรนด์ Hilltribe House กล่าวว่า กำลังจะนำคอลเลคชั่นใหม่ไปแสดงแบบ ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ในวันที่ 25 ก.พ.นี้ ซึ่งถือเป็นการแสดงผลงานครั้งที่ 7 หลังจาก เคยร่วมแสดงแบบที่ London Fashion Week และ Paris City Fashion Week มาแล้ว

ผ้าของชาวม้งมันมีศิลปะของการปัก การให้สีสันและสวยงามมาก หลังจากได้ใช้และสัมผัสผ้าชนเผ่ามันมีความทนทาน ผ้าใยกัญชงมีอายุใช้งานมากถึง 15-20 ปี ผ้ายังทรงสภาพเดิม สามารถเอากลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ 

สำหรับคอลเลคชั่นที่กำลังจะนำไปแสดงแบบครั้งนี้ นอกจากชุดที่ตัดเย็บจากผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งแล้ว นักออกแบบยังนำผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ รวมทั้ง ผ้าไหมและผ้าฝ้ายไทยจากภูมิภาคอื่น ๆ มาตัดเย็บแบบ mix and match เพื่อเพิ่มความสวยงามและน่าสนใจ

 

พร้อมยืนยันว่า โอกาสของเสื้อผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ที่จะเติบโตในตลาดโลก ยังเปิดกว้างและเติบโตได้อีกมาก เพราะปัจจุบันเชื่อว่าการทำตลาดไปได้เพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง