"หลง-หลิน" ฝ่าอุปสรรคพร้อมออกสู่ตลาดคนรักทุเรียน

เศรษฐกิจ
12 พ.ค. 66
07:55
1,731
Logo Thai PBS
"หลง-หลิน" ฝ่าอุปสรรคพร้อมออกสู่ตลาดคนรักทุเรียน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สาวกทุเรียน "หลง-หลิน" เตรียมตัวให้พร้อม! ขณะนี้เกษตรกรกำลังอยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวทุเรียนพันธุ์หลงลับเเล เเละ หลินลับเเล ซึ่งกว่าจะได้กินปีนี้ "ไม่ง่าย" เกษตรกรบอกว่า กว่าจะได้เงิน มีหลายอุปสรรคเลยทีเดียว

วันนี้ (12 พ.ค.2566) พื้นที่ปลูกทุเรียนของ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์, อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และ อ.เด่นชัน จ.แพร่ บางส่วน รวมประมาณ36,000ไร่ ซึ่งชาว อ.ลับแล ได้ไปทำการบุกเบิกเพื่อปลูกทุเรียน ลองกอง ลางสาด มังคุด และ กาแฟ

ขณะนี้ทุเรียนหลง, หลิน, หมอนทอง และ พื้นเมือง กำลังออกผลผลิต โดยปีนี้ราคาดีกว่าปีที่ผ่านมา

  • หลง 200บาท/กก.
  • หลิน 250บาท/กก.
  • หมอนทอง 170บาท/กก.

สมชัย หลวงกว้าง เจ้าของสวนทุเรียนกล่าวว่า เมื่อปีที่เเล้ว เกษตรกรไม่ได้ผลผลิต เนื่องจากช่วงที่ต้นทุเรียนออกดอก มีหนอนลง ทำให้ทุเรียนเสียหาย ส่งผลให้ปีนี้ ุเรียนมีราคาที่สูงขึ้น แต่ทุเรียนลูกจะเล็กลง เนื่องจากแดดจัดรวมกับแล้งมาก ทุเรียนบางส่วนขาดน้ำยืนต้นตาย จึงต้องการให้ ผู้เกี่ยวข้องมาแนะนำร่วมหารือชี้แจงหาวิธีป้องกัน

ดอกทุเรียน

ดอกทุเรียน

ดอกทุเรียน

ส่วนด้านการขนส่งขณะนี้เส้นทางลำเลียงผลผลิตออกสู่ตลาด เป็นหลุมเป็นบ่อ ก็ต้องการให้ภาครัฐฯ ช่วยปรับปรุงเส้นทางให้ด้วย กรณีเป็นพื้นที่ป่าสงวน ก็อยากให้ทุกฝ่ายเข้ามาคุย เพื่อหาทางออกหรือหาทางช่วยเหลือเกษตรกรร่วมกัน เนื่องจากต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ชาวสวนคงไม่สามารถดำเนินการเองได้ เพราะทางเข้าแต่ละสวนมีความกว้างประมาณ 1 ม. โดยที่ผ่านมามีผู้บรรทุกขนทุกเรียนตกเขาเสียชีวิต

นายสุพจน์ แย้มทองคำ แรงงานรับจ้างขนทุกเรียนบอกว่า อุปสรรคของการขน คือ ขณะฝนตกเนื่องจากเส้นทางเล็กทำให้ลื่น เเละรถจักรยานยนต์แต่ละคันจะบรรทุกทุเรียนคันละ 80-100 กก.

ต้นทุเรียน

ต้นทุเรียน

ต้นทุเรียน

ส่วนนายจิรกานต์ หอมตัน อาชีพรับจ้างตัดทุเรียน บอกว่ามีบางครั้งทุเรียนหล่นใส่มือจนเป็นแผลตกใส่หน้า ใส่หัว ของผู้รับ จนได้รับบาดเจ็บ บางครั้งก็ถูกมีดบาด เนื่องจากมีดมีความคมมาก แต่ก็ต้องทำเนื่องจากคืออาชีพของพวกตน ชาวสวนทุเรียนของ อ.ลับแล จะออกไปสวนทุกเช้า เพราะสวนอยู่ไกลเเละบนเขา

ค่าจ้างได้ กก.ละ 7 บาท ตัดได้สูงสุด 2.5 ตัน รายได้จะนำมาแบ่งกัน

อ่านข่าวอื่นๆ : 

พณ.ชี้อากาศร้อน-แล้งทำผลผลิตผักลดลง-ราคาแพงขึ้น

ทุเรียน “จันทบุรี” ราคาดี ดันยอดขายรถป้ายแดง-เครื่องมือเกษตรพุ่ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง