รู้จัก "เรืองไกร" มือสอยนายกฯ - รายต่อไป "พิธา" ?

การเมือง
30 พ.ค. 66
14:04
3,324
Logo Thai PBS
รู้จัก "เรืองไกร" มือสอยนายกฯ - รายต่อไป "พิธา" ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"เรืองไกร" สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ กับเส้นทางสายการเมือง ผู้เคยทำให้นายกฯพ้นตำแหน่งมาแล้ว และผู้ร้องเรียน กกต. ปม "พิธา" ถือหุ้นสื่อไอทีวี

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ บุคคลที่ออกมาเปิดเผยถึงข้อมูลที่น่าเชื่อว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแดนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น พร้อมเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 

โดยนายเรืองไกร ไม่เปิดเผยรายละเอียดชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งข้อมูลมาให้ แต่ระบุว่า น่าจะมาจากคนที่ประชุมหุ้น ไอทีวี ซึ่งมีจำนวนมาก

ล่าสุดเมื่อ วันที่ 24 พ.ค.2566 นายเรืองไกร ได้ยื่นหนังสือต่อ กกต. ขอให้ยุบพรรคก้าวไกล และอีก 7 พรรคการเมืองที่ร่วมตั้งรัฐบาล ได้แก่ พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาชาติ, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคเป็นธรรม, พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคเพื่อไทรวมพลัง

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ฟ้อง กกต.ปม นายพิธา ลิ้่มเจริญรัตน์ ถือหุ้นสื่อ

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ฟ้อง กกต.ปม นายพิธา ลิ้่มเจริญรัตน์ ถือหุ้นสื่อ

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ฟ้อง กกต.ปม นายพิธา ลิ้่มเจริญรัตน์ ถือหุ้นสื่อ

พร้อมให้ตรวจสอบบันทึกข้อตกลง (MOU) ที่พรรคก้าวไกล ทำร่วมกับอีก 7 พรรคการเมืองที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลด้วยกัน เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า เข้าข่ายกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองปี 2560 มาตรา 28 หรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมือง ทำให้ขาดความเป็นอิสระไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นหนังสือ กกต. ให้ยุบ 8 พรรคร่วมตั้งรัฐบาล

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นหนังสือ กกต. ให้ยุบ 8 พรรคร่วมตั้งรัฐบาล

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นหนังสือ กกต. ให้ยุบ 8 พรรคร่วมตั้งรัฐบาล

เส้นทางการเมือง

นายเรืองไกรได้เป็นที่รู้จักของสังคมด้วยการปรากฏเป็นข่าวในต้นปี พ.ศ. 2549 โดยกรณีกรมสรรพากรได้คืนเช็คให้แก่นายเรืองไกร แต่นายเรืองไกรไม่ได้ไปขึ้นเงิน เพราะเป็นกรณีเปรียบเทียบกับกรณีที่กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปได้ ซึ่งนายเรืองไกร ซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต่อจากบิดาในราคา 10 บาท จากราคาตลาด 21 บาท ต้องเสียภาษี แต่กรณีของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์กลับไม่ต้องเสียภาษี และนายเรืองไกรยังได้ยื่นฟ้องร้องเรื่องการที่กรมสรรพากรกระทำการนี้ด้วยสองมาตรฐานอีกด้วย

วันที่ 19 เม.ย.2549 นายเรืองไกร สมัครลงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร โดยได้หมายเลข 222 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ต่อมานายเรืองไกร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน จนเมื่อคุณหญิงจารุวรรณ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง. ต่อมานายเรืองไกร ออกมาทำหนังสือถึงประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2553 ขอให้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของ คุณหญิงจารุวรรณ หลังพ้นตำแหน่งไปแล้วด้วย

2 มี.ค.2551 นายเรืองไกรได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในแบบสรรหา ซึ่งนายเรืองไกรจัดอยู่ในกลุ่ม 40 ส.ว.

ผู้ทำให้ "นายกฯสมัคร" พ้นตำแหน่ง

หลังจากนั้น ในปี 2551 ชื่อของนายเรืองไกรปรากฏเป็นข่าวอีกในเดือน พ.ค. โดยได้ยื่นฟ้องร้อง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่าการจัดรายการโทรทัศน์ เป็นการผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ตัดสินให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่ง

ต่อมาในเดือน ก.ย.2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่ง

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

จากสมาชิกเพื่อไทย สู่ พลังประชารัฐ

พ.ศ. 2557 นายเรืองไกรเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 41

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 42/2557 เรียกให้ไปรายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ นายเรืองไกลถูกทหารควบคุมตัวอีกครั้งในวันที่ 3 ก.พ.2558 และออกจากมณฑลทหารบกที่ 11 ในวันที่ 7 ก.พ.2558

พ.ศ. 2561 นายเรืองไกรสมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ และต่อมาหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้รับการแต่งตั้งเป็น เลขานุการคณะกรรมาธิการ

พ.ศ.2564 สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ

ม.ค.2565 นายเรืองไกรได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐสืบเนื่องมาจากพรรคถอนออกจากร่วมรัฐบาล และ กลับเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกใหม่อีกรอบเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2565

ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2564 นายเรืองไกร ร้อง ป.ป.ช. ตรวจสอบพระเครื่องของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และร้องตรวจสอบ แหวนแม่ นาฬิกายืมเพื่อน ของ พล.อ.ประวัตร วงษ์สุวรรณ ด้วย

สำหรับนายเรืองไกร เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค.2504 ที่ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เป็นบุตรของนายสุขุม และ นางจารุวรรณ ลีกิจวัฒนะ จบการศึกษามัธยมจากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ (บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางอโนทัย ลีกิจวัฒนะ มีบุตร 2 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เลือกตั้ง2566 : "เรืองไกร" ร้อง กกต.ยุบ 8 พรรคเซ็น MOU ตั้งรัฐบาล

เลือกตั้ง2566 : "เรืองไกร" จ่อยื่นหลักฐาน กกต.เพิ่มปม "พิธา" ถือหุ้น ITV

เลือกตั้ง2566: "เรืองไกร" ฟ้อง กกต.ปม "พิธา" ถือหุ้นสื่อ-ชี้ไม่ถึงขั้นยุบพรรค 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง