กกต.ยังไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปม "พิธา" ถือหุ้นสื่อ ITV

การเมือง
10 ก.ค. 66
16:37
1,911
Logo Thai PBS
กกต.ยังไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปม "พิธา" ถือหุ้นสื่อ ITV
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ด่วน! กกต.ยังไม่มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ "พิธา" ถือหุ้นสื่อ ITV ชี้แค่ติดตามความคืบหน้าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงนัดถกต่อ 11 ก.ค.นี้ "พิธา" ตอบกลางรายการโหนกระแส ลั่นไม่เคยเห็นคำร้อง กกต.พร้อมชี้แจง

วันนี้ (10 ก.ค.2566) นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมยังไม่ได้มีการลงมติ เรื่องนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ถือครองหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม ไม่ให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) และเป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ส.ส.สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(6) เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 เพียงแต่เป็นการติดตามความคืบหน้าของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ได้รายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุม กกต.รับทราบ เท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม กกต.ใช้เวลาประชุมตั้งแต่เวลา 13.00 น. และเลิกประชุมในเวลา 16.00 น. โดยไม่มีการแถลงใดๆ แต่มีรายงานว่ามีการนัดประชุมต่อในวันพรุ่งนี้ (11 ก.ค.) เวลา 10.00 น.และวันที่ 13 ก.ค.ในเวลา 9.00 น.

"พิธา" ลั่นไม่เคยเห็นคำร้องปมหุ้นสื่อ

นายพิธา ตอบคำถามในรายการโหนกระแสพื่อให้วินิจฉัยกรณีหุ้นสื่อไอทีวี จะส่งผลต่อการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.ค.หรือไม่ว่า คิดว่าไม่มีอะไรต่อการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ ที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการแบบนี้ เหมือนกรณีคล้ายกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่มีการกระทำแบบนี้

อ่านข่าวเพิ่ม ชี้ชะตา “พิธา” ก่อนชี้ชะตาประเทศไทย กับนายกฯ คนใหม่

ยื่นหนังสือไปยัง กกต. เพื่อท้วงติง และขอความเป็นธรรม ของความเป็น กลางจาก กกต. เพราะว่าการที่จะพิจารณาอะไรแบบนี้ มีขั้นตอนของมันอยู่

เมื่อมีการต้องข้อกล่าวหาแล้ว แต่ยังไม่ได้อ่านข้อกล่าวหาเลย ปกติแล้วจะต้องเอาผู้ที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงก่อน ไม่ว่าจะเป็น ITV ว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไร ก่อนจะมีมติส่งศาลหรือไม่ส่งศาล

มองว่าเรื่องนี้ข้ามขั้นตอนพอสมควร จะเป็นเรี่องที่น่าแปลกใจ เพราะพอมีวันที่จะโหวตนายกฯ วันที่ 13 ก.ค.แล้วมีประชุมบ่ายนี้วันที่ 10 ก.ค. และไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 12 ก.ค.นี้ เรื่องระยะเวลาไม่สมเหตุสมผล มองว่าเรื่องระยะเวลาอาจไม่ค่อยสมเหตุสมผล จึงต้องขอความเป็นธรรมไปยัง กกต.ไม่ได้ให้โอกาสชี้แจง ต้องฟังความทั้ง 2 ฝ่าย

เมื่อถามว่าดูเหมือนเรื่องนี้ดูแปลกๆ เพราะ 13 ก.ค.นี้  โหวตนายกฯ แล้ววันที่ 12 ก.ค.นี้ มีการยื่นไปเลย นายพิธา ระบุว่า เรื่องนี้พูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่ายังไม่เห็นคำร้องว่า ทางฝ่ายที่กล่าวหาตัวเอง ร้องในเรื่องประเด็นอะไร แล้วทาง กกต.เอง ก็ยังไม่เปิดโอกาสให้ไปชี้แจง

เป็นเรื่องที่ไม่ผิดคาด พร้อมจะชี้แจงทุกอย่าง เพราะรัดกุมมาตั้งแต่เป็นส.ส.สมัยแรก และเมื่อออกแล้วก็ยังต้องมีการยื่นบัญชีทรัพย์สิน ถ้ามองด้วยใจที่เป็นกลางจะปะติปะต่อเรื่องได้ และถ้าเป็นนักการเมืองต้องพร้อมให้ตรวจสอบ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิธา" ไม่กังวล กกต.ยื่นศาล รธน.วินิจฉัย​สถานภาพ ส.ส.ปมถือหุ้น itv 

"ดิเรกฤทธิ์" ชี้รีบเคลียร์ก่อนวันโหวตนายก

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณี กกต.ส่งศาลรัฐ ธรรมนูญตรวจสอบคุณสมบัติของนายพิธา ว่า สมาชิกรัฐสภามีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาคือในกรณีของนายพิธา มีคุณสมบัติ ณ วันที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่งองค์กรที่จะวินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ

นายพิธา จะถูกหรือผิดจะมีคุณสมบัติ ครบถ้วนไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ให้ชัดโดยเร็ว เพราะมิเช่นนั้นเมื่อเปิดประชุมรัฐสภา 13 ก.ค.นี้ คงจะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง และมีการหยิบยกมาตรา 272 ซึ่งมีการพูดถึงคุณสมบัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อไปโยงกับมาตราอื่นๆ นำไปสู่ข้อสงสัยว่าข้อยุติคืออะไร หากเลือกไปจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่นเดียวกับโครงสร้างทางคดีอาญาตามมาตรา 151 ที่ทราบว่าขาดคุณสมบัติแต่ยังลงสมัครเลือกตั้ง

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. ระบุถ้ากกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. ระบุถ้ากกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. ระบุถ้ากกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ "พิธา"อาจให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.

ในทำนองเดียวกันหากสมาชิกรัฐสภารู้อยู่แล้วว่านายพิธา ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามแล้วยังเลือก อาจจะขัดกับรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งก็มีโทษทางอาญาด้วย เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ ต่อหลักการพิจารณาในวันที่ 13 ก.ค.นี้ สรุปคือเมื่อคุณสมบัติของนายพิธา เป็นหัวใจสำคัญที่สมาชิกรัฐสภาจะต้องพิจารณา ประกอบการลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ว และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแล้ว จะต้องมีคำสั่งที่เกี่ยวข้องโดยด่วนเช่น หากถูกร้องว่ามีคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งทางเมืองจะต้องมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่อย่างไร

เพราะเมื่อดำรงตำแหน่งส.ส.ไม่ได้ จะมีผลย้อนหลังไปจนถึงวันเลือกตั้ง ดังนั้นวิธีการของศาลอาจจะต้องให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน เพราะในทางปฏิบัติหาก นายพิธาชนะ ก็จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้าแพ้ เป็นรัฐมนตรีตำแหน่งส.ส.รวมถึงหากได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรี ของนายพิธา ก็จะเป็นโมฆะทั้งหมด

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ศาลควรสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน เหมือนกับกรณีนายธนาธร อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ส่วนความจำเป็นต้องเลื่อนการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่า วาระการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องของรัฐสภา อยู่ที่คน 750 คนที่จะมองว่าหากเลือกไปแล้ว จะไม่มีปัญหาตามมาก็ดำเนินการได้ แต่หากมีบางคนมองว่าสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิด ก็สามารถใช้มติของรัฐสภา ในการเลื่อนวาระออกไปได้ จะต้องรอวันที่ 13 ก.ค.นี้ ส่วนตัวอาจจะยกมือขอหารือในที่ประชุมในประเด็นนี้ด้วย

หากในวันดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำสั่ง ให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีการเลื่อนวาระลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ว.หลายคนอาจใช้วิธีงดออกเสียง เพื่อเป็นทางออกในการเลื่อนวาระดังกล่าว และกลับมาโหวตครั้งต่อไป 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง