ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้เท่าทัน ป้องกัน การถูกล่วงละเมิดทางเพศ

ภูมิภาค
12 ก.ค. 66
11:10
1,807
Logo Thai PBS
รู้เท่าทัน ป้องกัน การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
อ่านให้ฟัง
05:41อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เชียงใหม่ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เเละเยาวชนในพื้นที่ รู้เท่าทันการก่อเหตุล่วงละเมิดทางเพศ ผ่านการสร้างเยาวชนตัวแทนในแต่ละโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการเเล้วกว่า 1,400 คน จาก 18 โรงเรียน ทั่วพื้นที่เชียงใหม่

ความบริสุทธิ์สดใส ไร้เดียงสา ที่มีแต่ความจริงใจให้ผู้อื่นของเด็กในช่วงวัยเจริญเติบโต แต่ใครจะรู้ว่าความจริงใจ และไร้เดียงสาของเด็ก อาจกลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ ที่ทำให้เด็กจำนวนไม่น้อย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ จากการใช้กลอุบาย วางแผน ก่อนจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กตายใจ แล้วถูกล่วงละเมิดทางเพศ

เราจะเห็นได้จากข่าวสารในปัจจุบัน ที่มีเด็กจำนวนไม่น้อย ต้องตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หากลงลึกถึงความสัมพันธ์ของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ พบว่ากลุ่มคนที่ก่อเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศเด็กเป็นอันดับต้น ๆ คือคนคุ้นเคย และเป็นบุคคลในครอบครัว ถึง 52.8 % บุคคลแปลกหน้าที่รู้จักผ่านทางช่องทางโซเชียลอีกกว่า 47.2 %

การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก จากบุคคลใกล้ชิด และบุคคลในครอบครัวเกิดขึ้นอย่างไร มีรูปแบบอย่างไร ?

การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก และเยาวชน จากบุคคลใกล้ชิด หรือบุคคลที่เป็นคนสนิทเกิดขึ้นโดยมีรูปแบบที่มีกระบวนการในการตระเตรียมที่ผู้กระทำค่อย ๆ เข้าหาเด็ก ผ่านการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้หลงกล เด็กจะรู้สึกราวกับว่าการพูดคุยกับผู้ลงมือก่อเหตุนั้นมีความสบายใจ และปลอดภัย ซึ่งใช้เวลาก่อเหตุค่อนข้างนาน บางสถานการณ์ต้องใช้เวลามากกว่า 1 – 2 ปี ก่อนจะพัฒนาและนำไปสู่กระบวนการล่วงละเมิดทางเพศโดยที่เด็กรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รูปแบบเหล่านี้ ถูกเรียกว่า กรูมมิ่ง หรือ กระบวนการตระเตรียม เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ

จากข้อมูลที่ยกมาข้างต้น กลุ่มของผู้ลงมือก่อเหตุที่เป็นกลุ่มบุคคลแปลกหน้าที่รู้จักผ่านทางโซเชียล ก็มีตัวเลขสถิติที่สูงเหมือนกัน

ปัจจัยที่เพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ตั้งแต่ปี 2562 ที่เด็กและเยาวชนต้องใช้เวลาอยู่กับอึปกรณ์การสื่อสาร และสังคมออนไลน์ ทำให้ผู้ก่อเหตุ หันมาใช้ช่องทางการพื้นที่ออนไลน์เป็นเครื่องมือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีรูปแบบที่ใช้การสร้างพื้นที่ปลอดภัย คล้ายกับที่กล่าวมา ซึ่งจากข้อมูลการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจทีม TICAC (Thailand internet Crime Against) พบว่า มีจำนวนสื่อลามกเด็กที่จับกุมได้ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ในปี 2564 เกือบ 200,000 ชึ้น ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 1.5 เท่า

จากการตัวเลขสถิติที่กล่าวมา คงบอกได้ว่า แนวโน้มความรุนแรงในการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก และเยาวชน มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และมีรูปแบบที่เพิ่มโอกาสให้เด็กสามารถตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด คือบาดแผลทั้งด้านร่างกาย และจิตใจของผู้ถูกกระทำ ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เคยมีเหตุการณ์การล่วงละเมิดที่เป็นรูปแบบกรูมมิ่งเกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอเเม่เเตง จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับข้อมูลของคุณอมลวรรณ วงค์เเต๋ ที่เป็นนักจิตวิยาปฏิบัติการโรงพยาบาลแม่แตง ที่ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า กระบวนการรักษาเยียวยาเหยื่อจากการถูกกระทำ ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก เเละผู้เสียหายส่วนมากมักคิดถึงการทำร้ายตัวเอง เเละเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เหยื่อกลับมามีสภาวะจิตใจที่ปกติ การป้องกันเเละสร้างภูมิคุ้มกันให้เเก่เยาวชนตั้งเเต่จุดเริ่มต้น จึงเป็นทางแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ด้านนักจิตวิทยาคลินิกประจำมูลนิธิศานติวัฒนธรรม จ.เชียงใหม่ ได้เปิดเผยว่า ในรูปแบบของการจัดการอบรมจะเป็นรูปแบบที่เน้นให้เห็นถึงมิติของรูปแบบ ด้วยการหยิบยกเหตุการณ์บางอย่าง พร้อมกับร่วมกันวิพากษ์ของผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อสามารถเข้าใจขั้นตอนในกระบวนการกรูมมิ่ง จนทำให้เด็กสามารถมีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันกระบวนการกรูมมิ่งได้

ซึ่งหลาย ๆ ภาคีเครือข่ายในเชียงใหม่ ได้เล็กเห็นถึงความสำคัญในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุด้วยการดำเนินโครงการอบรมออนไลน์ที่เริ่มมาตั้งปี 2564 มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนในเชียงใหม่ทั้งสำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ โดยการดำเนินกิจกรรม มีนักเรียนที่เป็นแกนนำเพื่อกระจากองค์ความรู้ และวิธีการป้องกันการกรูมมิ่งแล้วกว่า 18 โรงเรียน มีเด็ก และเยาวชนเข้าร่วมโครงการนี้แล้วกว่า 1,400 คน

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง