ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เจ้าของโรงสีเชื่อ ตลาดต่างประเทศยังนิยม "ข้าวหอมมะลิไทย"

เศรษฐกิจ
9 ธ.ค. 66
08:17
1,853
Logo Thai PBS
เจ้าของโรงสีเชื่อ ตลาดต่างประเทศยังนิยม "ข้าวหอมมะลิไทย"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แม้ไทยจะไม่ได้ครองแชมป์สายพันธุ์ข้าวในการแข่งขันเวทีโลก แต่ในมุมของคนปลูกข้าว เชื่อว่า "ข้าวหอมมะลิไทย" ยังคงได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2566 โรงสีข้าวรายใหญ่ใน จ.บุรีรัมย์ เร่งแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร เพื่อส่งขายให้กับบริษัทผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 5 แห่ง ภายในประเทศ มีกำลังการผลิตเฉลี่ยวันละ 2,400 ตัน แต่ละปีข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่รับซื้อจากเกษตรกร จะขายให้กับผู้ส่งออกประมาณร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือจะขายในประเทศ

ศุภสิทธิ์ อึ้งพัฒนากิจ เจ้าของโรงสี กล่าวว่า "ข้าวหอมมะลิไทย" โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา มีคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่โบราณ ทั้งกลิ่นหอม นุ่ม และหุงขึ้นหม้อ ยังคงได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ ทั้งโซนยุโรปและจีน มียอดสั่งซื้อจากผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง ปีนี้มีออเดอร์ตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ถึงเดือนธันวาคม ยังขายให้ "ผู้ค้าส่ง" ต่อเนื่อง เพราะกลุ่มลูกค้าเป็นคนละตลาดกับเวียดนาม

ขณะที่เจ้าของโรงสีข้าว จ.บุรีรัมย์ ระบุว่า หากจะรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวของไทยในตลาดโลก รัฐบาลควรจะสนับสนุนให้เกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความเห็น บรรพต สุรินทร์ศิริรัตน์ เจ้าของโรงสีข้าว ใน อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ เจ้าของแบรนด์ "ช้างรวงข้าว" มองว่าพันธุ์ข้าวและการคัดสายพันธุ์ในแต่ละปี จะทำให้ข้าวหอมมะลิไทย ยังรักษาการแข่งขันในตลาดโลก

ทำความรู้จักข้าวสายพันธ์ุต่างๆ ที่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นข้าวดีที่สุดในโลก

  1. ข้าวหอมมะลิของไทย ชนะการประกวด 7 ครั้ง ลักษณะของเมล็ดข้าวจะยาว มีกลิ่นหอม เมื่อหุงแล้วจะมีรสชาตินุ่ม ปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ข้าวหอมมะลิ

    ข้าวหอมมะลิ

    ข้าวหอมมะลิ

  2. ข้าวผกาลำดวน ชนะการประกวด 5 ครั้ง เมล็ดข้าวสีขาว ยาว เมื่อหุงแล้วหอมนุ่ม รสชาติคล้ายข้าวหอมมะลิ
    ข้าวผกาลำดวน

    ข้าวผกาลำดวน

    ข้าวผกาลำดวน

  3. ข้าวคาลโลส จากอเมริกา ชนะการประกวด 2 ครั้ง มีเมล็ดสั้นถึงปานกลาง หุงแล้วหอมมาก เหมาะสำหรับทำซูชิ
    ข้าวคาลโลส

    ข้าวคาลโลส

    ข้าวคาลโลส

  4. ข้าวปอซานหมุย หรือ ข้าวไข่มุกพม่า ชนะการประกวด 1 ครั้ง เป็นข้าวหอมเมล็ดสั้น หุงแล้วความยาวจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า ปลูกในลุ่มน้ำอิรวดี
    ข้าวปอซานหมุย หรือ ข้าวไข่มุกพม่า

    ข้าวปอซานหมุย หรือ ข้าวไข่มุกพม่า

    ข้าวปอซานหมุย หรือ ข้าวไข่มุกพม่า

  5. ST25 จากประเทศเวียดนาม ข้าวที่ได้แชมป์โลกล่าสุด เป็นข้าวหอมเมล็ดยาว คล้ายข้าวหอมมะลิ ปลูกอยู่บนดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง
    ข้าวพันธุ์ ST25 ชนะการประกวดปีล่าสุด

    ข้าวพันธุ์ ST25 ชนะการประกวดปีล่าสุด

    ข้าวพันธุ์ ST25 ชนะการประกวดปีล่าสุด

ดูจากคุณลักษณะของข้าวแต่ละประเภทที่กล่าวมา ดูเหมือนจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ดูเหมือนว่ารับประทานได้แทบทุกชนิด ทุกวันนี้ตลาดข้าวเปิดกว้างขึ้นมาก และข้าวจากหลายประเทศก็กลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยแทบทั้งสิ้น และแม้ตลาดไทยเองก็มีข้าวจากประเทศอื่นเข้ามาจำนวนมาก

หากดูสถิติเปรียบเทียบการส่งออกข้าวหอมในตลาดโลก จะพบว่า ข้าวหอมมะลิไทยเคยทำราคาขายได้สูงกว่าข้าวหอมเวียดนามมาโดยตลอด เช่น

เปรียบเทียบราคาส่งออกข้าวหอมในตลาดโลก

เปรียบเทียบราคาส่งออกข้าวหอมในตลาดโลก

เปรียบเทียบราคาส่งออกข้าวหอมในตลาดโลก

เราเคยขายได้ 700-800 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่เวียดนามขายได้ 500 เหรียญสหรัฐ/ตัน

แต่ตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ราคาข้าวเวียดนามยกตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขึ้นมาอยู่ที่ 765 เหรียญ/ตัน ขณะที่ข้าวไทยก็ยังอยู่ที่ 800 เหรียญสหรัส/ตัน เช่นเดิม

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณส่งออกข้าว ไทยถือเป็นผู้ที่ส่งออกข้าวอันดับ 2 รองจากอินเดีย ส่วนเวียดนามอยู่ที่อันดับ 3 มาโดยตลอด แต่ปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวแซงไทยขึ้นมาอยู่อันดับ 2 แล้ว

เปรียบเทียบปริมาณส่งออกของประเทศที่ส่งออกข้าว

เปรียบเทียบปริมาณส่งออกของประเทศที่ส่งออกข้าว

เปรียบเทียบปริมาณส่งออกของประเทศที่ส่งออกข้าว

จากการตรวจสอบการจำหน่ายข้าวสารตามห้างสรรพสินค้าบางแห่ง มีข้าวสารบรรจุถุงของต่างชาติมาวางจำหน่าย เช่น ญี่ปุ่น ข้าวบาสมาติของอินเดีย ข้าวออแกนิกของอิตาลี แต่ไม่พบข้าวแชมป์โลกอย่างเวียดนาม ผู้บริโภคบางคน บอกว่า นิยมบริโภคข้าวไทย แม้จะมีข้าวจากต่างประเทศมาจำหน่าย แต่ก็แค่อยากลองบริโภคข้าวชนิดใหม่ๆ จากต่างประเทศบ้าง เช่น ข้าวญี่ปุ่น ที่มีความเหนียมนุ่ม แต่เชื่อว่าข้าวไทยยังอร่อยที่สุด

ข้าวต่างประเทศในตลาดประเทศไทย

ข้าวต่างประเทศในตลาดประเทศไทย

ข้าวต่างประเทศในตลาดประเทศไทย

ปัญหาสำคัญที่ทำให้ข้าวไทยยังไม่พัฒนาเหมือนกลายเป็นวังวน แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ

  1. ปัญหาด้านสายพันธ์ุที่อาจจะมีการพัฒนาล่าช้า ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นไม่ได้
  2. สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร

อ่าน : "ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว -ไบโอเทค" ปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว รับมือภาวะโลกรวน

พันธุ์ข้าวไทยไม่ตอบโจทย์ หนีปลูกข้าวพันธุ์เวียดนาม

บรรเจิด หงส์บัวภา ชาวนาในร้อยเอ็ดที่นำข้าวเปลือกหอมมะลิมาขายให้สหกรณ์ในพื้นที่ ราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิใหม่ความชื้นร้อยละ 15 อยู่ที่ กก.ละ 14.50 บาท ชาวนาบอกว่า ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 แบบเดิมซ้ำๆ มานานหลายปี เพราะคุ้นชินกับการปลูกข้าวพันธุ์นี้ ผลผลิตต่อไร่ไม่สูง ขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น ทั้งราคาปุ๋ย และเมล็ดพันธุ์ข้าว และรู้สึกกังวลเรื่องคุณภาพของข้าวไทยหลังมีข่าวคุณภาพข้าวเริ่มถดถอยลง เช่น ความหอมลดลง อาจจะมาจากการใช้สารเคมีมากไปหรือไม่

ต้องยอมรับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก เพราะวันนี้เองนายกสมาคมชาวนายอมรับว่า ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้ชาวนาบางคนหันไปปลูกข้าวสายพันธุ์เวียดนาม หรือเรียกว่า จัสมิน เบอร์ 5 เบอร์ 8 และ 20 ซึ่งได้ผลผลิตสูงกว่า 1 ตัน/ไร่ ซึ่งชาวนาต้องการรายได้ที่เร็ว หากกรมการข้าวสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตใกล้เคียงสายพันธุ์เวียดนาม ก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวพันธุ์ใหม่

การพัฒนาพันธุ์ข้าว

การพัฒนาพันธุ์ข้าว

การพัฒนาพันธุ์ข้าว

แม้ปัจจุบันกรมการข้าว พยามพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ แต่พันธุ์ข้าวยังมีไม่มากนักและไม่ได้ตรงกับความต้องการของชาวนา เช่น ข้าว กข75 กข89 ที่ประกาศรับรองพันธุ์ไปแล้วไม่มีใครปลูกเพราะอายุการเก็บเกี่ยว 120 วัน จึงนิยมปลูกพันธุ์เดิมๆ เช่น กข41 กข51 ซึ่งเป็นข้าวอายุไม่เกิน 100 วัน

ปีที่แล้วกรมการข้าวประชุมมีมติรับรองข้าวพันธุ์ใหม่ 4 พันธุ์ ได้แก่ กข93 กข95 กข97 และ กข101 ที่อยู่ระหว่างการทดสอบและผลิตเมล็ดพันธุ์ ขณะที่ปี 2566 ยังไม่มีสายพันธุ์ใหม่ ปัญหางบพัฒนาสายพันธุ์ข้าวของกรมการข้าวเองก็น่าสนใจว่าลดลงมาโดยตลาดจากปี 2558 ที่ 247 ล้านบาท มาอยู่ที่ 178 ในปี 2564

งบพัฒนาสายพันธุ์ข้าว

งบพัฒนาสายพันธุ์ข้าว

งบพัฒนาสายพันธุ์ข้าว

อ่าน : "ข้าวไทย" น่าห่วง "หยุดพัฒนา" ชาวนาใช้พันธุ์เพื่อนบ้านปลูกแทน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง