ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กทม.ปิดไฟ 1 ชั่วโมง ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 24.65 เมกะวัตต์ ลดค่าไฟ 1.3 แสนบาท

สังคม
23 มี.ค. 67
23:36
511
Logo Thai PBS
กทม.ปิดไฟ 1 ชั่วโมง ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 24.65 เมกะวัตต์ ลดค่าไฟ 1.3 แสนบาท
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กทม. ร่วมกับภาคีเครือข่ายรวมพลัง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน ปี 2567” (60+ Earth Hour 2024) ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ลงได้ 24.65 เมกะวัตต์ เท่ากับลดค่ากระแสไฟฟ้าได้ 1.3 แสนบาท

วันนี้ (23 มี.ค.2567) นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กิจกรรม ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน ปี 2567 (60+ Earth Hour 2024) เป็นกิจกรรมที่กทม. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน รณรงค์และเชิญชวนผู้ประกอบการ ร้านค้า ประชาชน ลดการใช้พลังงานและปิดไฟที่ไม่จำเป็น เช่น ไฟประดับ ไฟอาคาร ป้ายโฆษณา

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม

รวมถึงการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน ลดการใช้เครื่องปรับอากาศในอาคารบ้านเรือน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พร้อมกับเมืองต่าง ๆ กว่า 7,000 เมือง 190 ประเทศทั่วโลก ในวันนี้ระหว่างเวลา 20.30 - 21.30 น. ซึ่งทุกภาคส่วนได้ให้ความร่วมมือปิดไฟในช่วงดังกล่าว

โดยในปีนี้ 5 Landmark หลักของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า สะพานพระราม 8 และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง) ได้ร่วมปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ด้วย

จากการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าช่วงเวลาดังกล่าวในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการไฟฟ้านครหลวง พบว่า กิจกรรม #ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน ปี 2567 นี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 24.65 เมกะวัตต์

สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8

เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 มี.ค.2567 ระหว่างเวลา 20.30 - 21.30 น. ลดความต้องการการใช้ไฟฟ้าลงได้ 24.65 เมกะวัตต์ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 11 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

เทียบได้กับการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 1,100 ต้น ใน 1 ปี (ต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อปี) และสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 130,182 บาท

กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก จึงได้รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชนและทุกภาคส่วน เห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

หนึ่งในกิจกรรมที่ดำเนินการคือกิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน มาตั้งแต่ปี 2551 ผลจากการจัดกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour)

วัดสุทัศน์เทพวราราม

วัดสุทัศน์เทพวราราม

วัดสุทัศน์เทพวราราม

เมื่อปี 2566 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 36 เมกะวัตต์ และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 5.2 ตัน หรือเทียบกับเที่ยวบินกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 43 เที่ยวบิน หรือการใช้รถยนต์ดีเซลเท่ากับ 31,200 กิโลเมตร หรือเทียบกับการปิดไฟครัวเรือน 23,400 ครัวเรือน

จากการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551-2566 สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 22,512 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการปัญหาโลกร้อนได้ 12,260.6 ตัน คิดเป็นมูลค่า 81.14 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย 30 หน่วยงาน ร่วมประกาศเจตจำนง กับกรุงเทพมหานครในการดำเนินการลดภาวะโลกร้อน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านการขนส่งมวลชน 2.ด้านพลังงาน 3.พื้นที่สีเขียว และ 4.การจัดการขยะมูลฝอย

ผลการดำเนินงานในปี 2565 สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านขนส่งมวลชน 1,525.6 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้านพลังงาน 24,178 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้านการจัดการมูลฝอย 1,140.9 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และพื้นที่สีเขียวที่ช่วยในการดูดซับก๊าซ 131.3 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า รวมปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกของ 30 หน่วยงาน 26,975.9 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

อ่านข่าว : "ปูติน" กร้าวผู้โจมตีทุกคนจะถูกลงโทษ ประกาศไว้อาลัย 24 มี.ค.

กราดยิงมอสโกตายพุ่ง 115 คน จับผู้ก่อเหตุ 11 คน

เบื้องหลัง "ชีวะภาพ" มือปราบเบอร์ 1 ป่าไม้ จ่อลาออกราชการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง