ล้งจีน บุกเมืองจันทบุรี ชิงตลาดส่งออกผู้บริโภค "ทุเรียน"ไทย

เศรษฐกิจ
27 มี.ค. 67
13:13
3,814
Logo Thai PBS
ล้งจีน บุกเมืองจันทบุรี ชิงตลาดส่งออกผู้บริโภค "ทุเรียน"ไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หากเอ่ยชื่อ ราชาผลไม้ คงหนีไม่พ้น “ทุเรียน” ไทย พระเอกส่งออกอันดับต้นๆ ที่สร้างรายได้เข้าประเทศไทยปีละแสนล้านบาท เฉพาะที่จีนประเทศเดียว เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ไทยที่ส่งทุเรียนออกไปแดนมังกร ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 81.7 หรือมีมูลค่า 93,664 ล้านบาท

ถือว่าตอนนี้ “ทุเรียน” เป็นพืชเศรษฐกิจตัวเดียวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล

ทุเรียนหมอนทองรุ่น 1  ราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 270 บาท

ทุเรียนหมอนทองรุ่น 1 ราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 270 บาท

ทุเรียนหมอนทองรุ่น 1 ราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 270 บาท

“จีน” เบอร์ 1 นำเข้าผลไม้รายใหญ่ของไทย

จากสถิติของศุลกากรแห่งชาติจีน พบว่า ใน ปี 2566 ประเทศไทย คือ ผู้ส่งออกผลไม้รายใหญ่ที่สุดไปจีน ซึ่งผลไม้สดของไทยที่จีนนำเข้า อันดับ 1 คือ ทุเรียน ปริมาณการนำเข้า 928,900 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40  ของปริมาณการนำเข้าผลไม้ทั้งหมด

สำหรับพื้นที่ที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดในไทย คือ ภาคตะวันออก 3 จังหวัด คือ ระยอง ตราด และ จันทบุรี ซึ่งมีผลผลิตรวมปีนี้ที่ 823,898 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.05 และมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.78 หรือ 685,485 ไร่

เฉพาะที่จันทบุรี จังหวัดเดียว มีปริมาณผลผลิตปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 หรือมีปริมาณ 561,905 ตัน สูงกว่า ปี 2566 ที่มีปริมาณ 538,461 ตัน ทำให้จันทบุรี มีมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 90,000 ล้านบาท

ส่วนที่ระยอง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.84 ปริมาณ 165,090 ตัน และตราดมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.62 ปริมาณผลผลิต 96,903 ตัน

สำหรับสถานการณ์ผลผลิตผลไม้ในจันทบุรี ปี 2567 คาดว่าทุเรียนจะมีผลผลิต 561,905 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35  ,มังคุด 93,736 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.36  ,เงาะ 55,442 ตัน ลดลงร้อยละ 0.59  ,ลองกอง 5,308 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41  ส่งผลให้มีผลผลิตรวม 716,421 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.92 

นายกิตติพจน์ ชูส่งแสง เจ้าของสวนทุเรียน ที่จ.จันทบุรี

นายกิตติพจน์ ชูส่งแสง เจ้าของสวนทุเรียน ที่จ.จันทบุรี

นายกิตติพจน์ ชูส่งแสง เจ้าของสวนทุเรียน ที่จ.จันทบุรี

ชาวสวนยิ้ม ทุเรียนหน้าสวนโลละ 270 บาท

นายกิตติพจน์ ชูส่งแสง เจ้าของสวนทุเรียนใน จ.จันทบุรี กล่าวว่า ทุเรียนที่ตัดช่วงนี้เป็นทุเรียนรุ่นแรก ราคาดีมาก เพราะทุเรียนรุ่นนี้ผลผลิตมีน้อย ทำให้ล้งแข่งขันกันซื้อ เช่น ล้งจีนบางแห่งต้องการสินค้ามาก มาเจรจาต่อรอง 5-6 ชั่วโมงก็มี ดังนั้นการตัดสินใจขายขึ้นอยู่กับราคาและความไว้ใจระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย

ราคาทุเรียนรุ่นแรกขายได้ราคาดี ราคาขายแบบเหมาสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 270 บาท สูงกว่าปีที่แล้วเท่าตัว ปีที่แล้วราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 140 บาท ส่วนทุเรียนรุ่นที่สอง จะออกในช่วง พ.ค. เป็นช่วงทุเรียนออกมากที่สุด คาดว่าราคาหน้าสวนไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา
ทุเรียนหมอนทองรุ่น1

ทุเรียนหมอนทองรุ่น1

ทุเรียนหมอนทองรุ่น1

นายกิตติพจน์ กล่าวอีกว่า สวนของตนมี 40 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 100 ตัน โดยทุเรียนรุ่นแรกจะมีผลผลิตร้อยละ 30 และจะมีราคาดีมากอีกร้อยละ 70 จะให้ผลผลิตช่วง พ.ค.

สาเหตุที่ทุเรียนรุ่นแรกมีราคาสูง เพราะสวนอื่นๆ ยังไม่ออกผล ทำให้การเข้ามารับซื้อทุเรียนของล้ง มีความคึกคักมากและมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทุเรียน เฉลี่ยราคาหน้าสวน อยู่ที่ 230-270 บาทต่อกิโลกรัม

ส่วนเรื่องการบริหารจัดการน้ำในสวนทุเรียน เมื่อก่อนมีปัญหาเรื่องน้ำไม่เพียงพอ แย่งน้ำกันระหว่างชาวสวน จนต้องมีการจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบโดยใช้น้ำจากเขื่อน หรือบาดาล ซึ่งชาวสวนต้องมีการเก็บน้ำไว้ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของทุเรียน

ปีนี้เขาว่าจะแล้งมาก ดังนั้นชาวสวนก็มีการวางแผนการใช้น้ำเป็นอย่างดี มีการขุดคลอง บ่อ ทำน้ำบาดาล เพราะเวลามีการปล่อยน้ำจากเขื่อนมาก็ต้องเก็บน้ำไว้ ซึ่งหากสวนไหนมีระบบการจัดการน้ำที่ดีก็จะไม่มีปัญหาเรื่องขาดน้ำ
ล้งรับซื้อทุเรียนไทย

ล้งรับซื้อทุเรียนไทย

ล้งรับซื้อทุเรียนไทย

“ล้งจีน” บุกเมืองจันทบุรี

จากการลงพื้นที่สำรวจ ของไทยพีบีเอสออนไลน์ พบว่า มีล้งซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นล้งร่วมทุนไทย-จีน ที่เข้ามาลงทุนซื้อทุเรียนถึงหน้าสวนของเกษตรกรสวนทุเรียนกันอย่างคึกคัก แม้ว่าช่วงนี้ทุเรียนจะยังออกยังไม่มาก แต่เห็นได้ถึงบรรยากาศของความคึกคักของล้งที่เตรียมพร้อมในการซื้อทุเรียนไทย

โดยที่จ.จันทบุรีมีล้ง ที่ผ่านมาตรฐาน GMP จำนวน 827 ล้ง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2567 ในการทำผลไม้คุณภาพและหาตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อระบายผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามเจ้าของสวนทุเรียนในพื้นที่ ให้ข้อมูลว่า ล้งที่เข้ามารับซื้อทุเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออก 3 จังหวัด คือ ระยอง ตราด และ จันทบุรีมีประมาณ 1,200 ล้ง เพิ่มขึ้นจาก ปี 2566 ที่เดิมมีเพียง 700 ล้ง ส่วนล้งที่เป็นล้งไทยร้อยละ 100  มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่เหลือเป็นล้งร่วมทุน ระหว่าง คนไทยกับคนจีน สัดส่วน 51-49

ทุเรียนหมอนทองที่ล้งไทยเตรียมส่งออกไปจีน

ทุเรียนหมอนทองที่ล้งไทยเตรียมส่งออกไปจีน

ทุเรียนหมอนทองที่ล้งไทยเตรียมส่งออกไปจีน

“ล้งไทย” สร้างแบรนด์เน้นคุณภาพแข่ง “ล้งจีน”

นายวิชัย ศิระมานะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นทีเอฟ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ผู้ส่งออกทุเรียนใน จ.จันทบุรี กล่าวกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์”ว่า ขณะนี้ล้งไทยมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ทำส่งออกเอง 100 เปอร์เซ็นต์  สาเหตุที่ล้งไทยมีน้อยส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องเงินลงทุนที่มีไม่มากและการแข่งขันอาจจะสูง ในส่วนของบริษัทซึ่งเป็นล้งไทย 100 เปอร์เซ็นต์ จะเน้นในเรื่องของคุณภาพ การมีพาร์เนอร์ที่ดี และการสร้างแบรนด์ไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ช่วงนี้มีคำสั่งซื้อจากตลาดจีนเข้ามามาก แต่ผลผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ราคาทุเรียนปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว โดยราคาปลายทางที่จีนจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-380 บาท ซึ่งการมีกลุ่มล้งร่วมทุนจีนเข้ามาตั้งในภาคตะวันออกมากขึ้น ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะเราแข่งในเรื่องคุณภาพทุเรียนมากกว่า

ส่วนทุเรียนจากประเทศต่างๆ ที่เข้าในตลาดจีนมากขึ้น ทั้ง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เห็นว่า ไม่น่ากังวล เพราะตลาดจีนยังบริโภคเพียงร้อยละ 20-30 เท่านั้น ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก โดยไทยจะต้องรักษาคุณภาพ

บรรยากาศการบรรจุทุเรียนเพื่อเตรียมส่งไปจีน

บรรยากาศการบรรจุทุเรียนเพื่อเตรียมส่งไปจีน

บรรยากาศการบรรจุทุเรียนเพื่อเตรียมส่งไปจีน

เมินทุเรียนเพื่อนบ้านตีตลาด

นายวิชัย กล่าวอีกว่า ว่าจะมีทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้านเขาไปทำตลาดในจีนมากขึ้น แต่มองว่าคู่แข่งมาช่วยสร้างสมดุลให้ตลาดทุเรียน เพราะจีนเองก็เปิดให้หลายประเทส่งออกทุเรียนมาจีน

“การแข่งขันสูงขึ้น แต่เราเน้นเรื่องของการสร้างแบรนด์ เน้นพาร์ทเนอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ และคุณภาพของทุเรียนเป็นจุดแข็งของล้งไทย ไม่กังวลถ้ามีคู่แข่งมากขึ้น เพราะความต้องการทุเรียนในจีนมีสูง ซึ่งลูกค้าจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะซื้อทุเรียนของใคร โดยบริษัทส่งออกทุเรียนไปยังกว่างโจวกับเซี่ยงไฮ้ มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ปริมาณ 700 ตัน ขนส่งทางทางบก อากาศ เรือ และทางราง ซึ่งจะไปในแบรนด์คนไทย 100เปอร์เซ็นต์”

ทั้งนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบันเริ่มมีความต้องการทุเรียนที่มีขนาดเล็กลง เฉลี่ยลูกละ 2-3 กิโลกรัม เพราะครอบครัวของคนจีนมีขนาดเล็กลง และทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีราคาสูง ดังนั้นจึงไม่ต้องการทุเรียนที่มีลูกใหญ่เกินไป

ล้งไทยเน้นคุณภาพการส่งออกทุเรียน จะต้องมาดูการตัดด้วยตนเองถึงในสวน

ล้งไทยเน้นคุณภาพการส่งออกทุเรียน จะต้องมาดูการตัดด้วยตนเองถึงในสวน

ล้งไทยเน้นคุณภาพการส่งออกทุเรียน จะต้องมาดูการตัดด้วยตนเองถึงในสวน

สำหรับเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นอย่างเต็มที่นั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อการบริโภคทุเรียนของคนจีน ตรงข้ามกลับได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะคนจีนที่นิยมบริโภคทุเรียนจะเป็นกลุ่มคนที่พร้อมจ่าย

นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจ.จันทรบุรี กล่าวว่า ปัญหาทุเรียนล้นตลาด จากการประเมินสถานการณ์โอกาสที่ทุเรียนจะล้นมียากมาก เพราะ ว่าคนจีนกินทุเรียน 7 ขีดต่อคนต่อปี

ขณะที่คนไทยกินทุเรียน 5 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งคนจีนไม่ต้องกินเยอะเหมือนคนไทย แค่กินเพิ่มอีกเท่าหนึ่งคือ 1.5 กิโลกรัมต่อคนต่อปีก็ทำให้ไทยส่งออกทุเรียนไปได้อีกมหาศาล

“ตลาดจีนมั่นใจว่า ยังโตได้อีก อย่าไปกลัวคู่แข่งว่า จะปลูกทุเรียนแข่ง เราควรกลัวตัวเองก่อน ว่าจะยังรักษาคุณภาพทุเรียนไว้ได้หรือไม่ จีนอยากปลูกๆ ไป แต่ความชอบหรือไม่ชอบเป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ถ้ากินไปบ่อยๆ สักวันก็อาจจะบอกว่าอร่อยก็ได้ ที่ปลูกเยอะๆ คือ ทุเรียนหมอนทอง แต่เรียกชื่อต่างกัน รองลงมาที่คนจีนชอบกิน พวงมณี กระดุม นวลทองจัน เป็นทุเรียนเฉพาะถิ่น ทองลืมจง เป็นทุเรียนจีไอที่อยู่เมืองจัน แต่ก็เป็นลูกค้าเฉพาะ ซึ่งที่จันทบุรีมีทุเรียน 15 สายพันธุ์”

การก่อสร้างอาคารเพื่อรับซื้อทุเรียนของล้งต่างๆ

การก่อสร้างอาคารเพื่อรับซื้อทุเรียนของล้งต่างๆ

การก่อสร้างอาคารเพื่อรับซื้อทุเรียนของล้งต่างๆ

จีนแห่ลงทุนผลักเศรษฐกิจคึกคัก

ปัญหาล้งจีนหรือล้งจีนร่วมทุนเข้ามาตั้งในพื้นที่เยอะ มองว่าไม่เป็นปัญหาเรื่องการกดราคาทุเรียน เพราะทุกวันนี้ทุเรียนยังไม่มีเพียงพอกับความต้องการ การจะมากดราคาชาวสวนจึงไม่น่าเกิดขึ้น และถ้ามองในแง่เศรษฐกิจในพื้นที่ ถือว่ามีความคึกคัก เฉพาะในช่วงหนาทุเรียน ทำให้จันทบุรีเป็นเมืองเศรษฐกิจ

อย่าไปกังวลว่า จะมีล้งเข้ามากดราคา หรืออะไรเพราะความคึกคักจะมีแต่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น พอหมดก็กลับมาเงียบเพรราะเข้าไปซื้อทุเรียนใต้ต่อ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือเขยจีน สะใภ้จีนเยอะขึ้น

อ่านข่าว : ชาวสวนระยองกังวล "น้ำแล้ง" กระทบผลผลิตทุเรียนลด 10%

คนจีนแชมป์สั่งซื้อ "ทุเรียนไทย" ปี66 พุ่งกว่า 9 หมื่นล้าน

พืชสำคัญเศรษฐกิจ ราคาดีทุกตัว พาณิชย์ลุยต่อปุ๋ยราคาถูกเฟส 2

หน้าร้อน "มะนาวแพง" พาณิชย์แนะใช้มะนาวผง รสชาติเหมือนสด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง