จับตา สภาฯ ถกร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระ 2 - 3

การเมือง
27 มี.ค. 67
11:40
2,156
Logo Thai PBS
จับตา สภาฯ ถกร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระ 2 - 3
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ลุ้นสภาฯ พิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระ 2-3 เปิดโอกาสให้จัดการทรัพย์สินและมีสิทธิรักษาพยาบาลได้ หลังรอคอยนานกว่า 20 ปี

วันนี้ (27 มี.ค.2567) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายครบแล้ว 68 มาตรา

นายดนุพร ปุณณกันต์ สส.บัญชีรายชื่อพรรค ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เปิดเผยว่า ในการพิจารณาชั้นกรรมธิการได้นำ 4 ร่าง ได้แก่ ร่าง ครม., ฉบับของภาคประชาชน, ร่างของพรรคประชาธิปัตย์, ร่างพรรคก้าวไกล มาพิจารณาปรับแก้

อ่าน : เส้นทาง 22 ปี สู่ "สมรสเท่าเทียม" อีกขั้นสู่ความเท่าเทียม

นายดนุพร กล่าวว่า การปรับแก้กฎหมายฉบับนี้ไม่กระทบต่อคู่สมรสชายหญิง แต่เป็นการคืนสิทธิ์ให้กับคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า "LGBTQ" ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกลิดรอนโดยกฎหมาย และเมื่อกฎหมายผ่านพร้อมที่จะบอกชาวโลกว่ากฎหมายจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มี "กฎหมายสมรสเท่าเทียม"

เนื้อหาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม มีการปรับแก้เรื่องตัวเลขอายุที่เพิ่มอายุขั้นต่ำในการสมรส 18 ปีบริบูรณ์ให้มีสิทธิ์ในฐานะคู่สมรสตามกฏหมาย เช่น สิทธิ์ในการอภิบาลดูแล, การฟ้องร้องคดีแทน, การลดหย่อนภาษี, การเซ็นรักษาพยาบาล, อุปการะบุตรร่วมกันได้

และในหลักการของร่างกฎหมายมีการปรับแก้กำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถหมั้นหรือสมรสกันได้, แก้ไขคำ ชาย หญิง สามี ภริยา และสามีภริยา เป็นบุคคล เพื่อครอบคลุมคู่หมั้นคู่สมรสไม่ว่าจะเป็นเพศใด, แก้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาและทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

อ่าน : สภาฯ รับหลักการ "สมรสเท่าเทียม" ทั้ง 4 ฉบับ

เพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทน, เหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมเมื่อฝ่ายหนึ่งไปมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด, แก้เงื่อนไขระยะเวลาการสมรสใหม่ให้ใช้เฉพาะกับกรณีที่หญิงที่มีชายเป็นคู่สมรสเดิมและจะสมรสใหม่กับชายเท่านั้น, กรณีกรณีหญิงมีครรภ์ก่อนอายุเคารพให้มีผลบังคับเฉพาะกรณีสมรสระหว่างชายหญิงเท่านั้น

โดยยังมีการแก้ไขเลขมาตราที่เกี่ยวข้องกับการร้องขอต่อศาลให้สั่งเป็นคนวิกลจริตให้เป็นคนไร้ความสามารถ กรณีหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 20 ปีมีผลบังคับใช้เฉพาะการสมรสระหว่างชายหญิงเท่านั้น,  และ เพิ่มเหตุการณ์ฟ้องหย่าให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน

อ่านข่าวอื่น ๆ

ตัดสินคดีชายเมาชก "เอ๊ะ จิรากร" จำคุก 15 วันจ่ายสินไหม 3 แสน

กรมการแพทย์แผนไทยฯ เปิดตำรับยา "ยาอดยาบ้า" ทางเลือกรักษาผู้ติดยาเสพติด

ไทยพบนักศึกษามีภาวะ "เครียด-ซึมเศร้า” 30%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง