สะท้อนมุมมอง "ภัยใกล้ตัวเด็ก" กรณีการลักพาตัวจากคนแปลกหน้า

อาชญากรรม
15 พ.ค. 67
12:16
161
Logo Thai PBS
สะท้อนมุมมอง "ภัยใกล้ตัวเด็ก" กรณีการลักพาตัวจากคนแปลกหน้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สะท้อนมุมมอง มูลเหตุและปัญหาอาชญากรรมใกล้ตัวเด็กเล็ก กรณีการลักพาตัวจากคนแปลกหน้า แสวงประโยชน์ ที่ถูกละเลยจากผู้ปกครอง

กว่า 8 ชั่วโมง ที่น้องมาร์ติน เด็กชายวัย 9 เดือน หายออกจากบ้านพัก ภายในแคมป์คนงานก่อสร้าง ย่านบางนา จึงทำให้ปู่และย่า เกิดความกังวลใจว่าหลานแท้ๆ จะได้รับอันตรายหรือไม่

และผู้ที่ลักพาตัวหลานไป ก็คือคนที่ทำงานก่อสร้างอยู่ภายในแคมป์เดียวกัน กับปู่และย่า เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่นาน ทำทีเข้ามาคลุกคลีขออุ้มหลาน โดยอ้างว่า จะพาหลานไปซื้อขนมในร้านสะดวกซื้อ ก่อนจะหาจังหวะนำเด็กออกจากพื้นที่

ภาพจากกล้องวงจรปิดสามารถบันทึกได้ ตั้งแต่ภายในซอยเกิดเหตุ ช่วงเดินอยู่ริมทางบริเวณแยกบางนา ในสถานีขนส่งผู้โดยสารขณะเตรียมเดินทางออกจากกรุงเทพมหานคร และจนกระทั่งพบตัวเด็กพร้อมกับผู้ก่อเหตุ ที่อยู่ภายในรถมินิบัสกำลังมุ่งหน้าไป จ.ระยอง

โดยเบื้องหลังที่พบว่า มีคนลักพาตัวเด็กไป ซึ่งเป็นชายแปลกหน้าที่ไม่ได้รู้จัก หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เกิดจากพลังโซเชียลที่ช่วยกันติดตามหาน้องมาร์ตินกันอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขาดระยะนับตั้งแต่รู้ว่าน้องหายไป

โดยมีเพจเฟซบุ๊กต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคม และพลังพลเมืองดี ต่างร่วมการส่งต่อข้อมูลความเคลื่อนไหว ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยสืบสวน และติดตามตัวมาได้ โดยที่น้องมาร์ตินไม่ได้รับอันตราย

ผู้ต้องหาให้การกับตำรวจอ้างว่า

ไม่มีเจตนานำเด็กไปขาย หรือนำไปทำในสิ่งผิดกฎหมาย แต่ด้วยความถูกชะตา และความน่ารักของเด็ก จึงอยากนำไปเลี้ยงดู ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า พ่อแม่ของเด็กจะต้องเป็นห่วง และการกระทำลักษณะนี้ ไม่นานก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัว

นี่จึงอาจเป็นความโชคดี ของน้องมาร์ติน ที่อยู่ในการครอบครองจากคนแปลกหน้าได้ไม่นาน จึงทำให้รอดกับเหตุอันตรายที่อาจไม่คาดคิด ซึ่งนั่นอาจไม่ได้หมายความว่าเด็กคนอื่น ๆ ที่สุ่มเสี่ยงจากเหตุการณ์ลักษณะนี้ จะปลอดภัยเหมือนกับน้องมาร์ตินเสมอไป

น.ส.กรรณิกา โมเล้น หัวหน้าฝ่ายรับแจ้งเหตุและประสานงาน มูลนิธิกระจกเงา

น.ส.กรรณิกา โมเล้น หัวหน้าฝ่ายรับแจ้งเหตุและประสานงาน มูลนิธิกระจกเงา

น.ส.กรรณิกา โมเล้น หัวหน้าฝ่ายรับแจ้งเหตุและประสานงาน มูลนิธิกระจกเงา

น.ส.กรรณิกา โมเล้น หัวหน้าฝ่ายรับแจ้งเหตุและประสานงาน มูลนิธิกระจกเงา เปิดเผยข้อมูล จากการรวบรวมสถิติเด็กหาย ของมูลนิธิฯ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี ทุกเพศ ย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา พบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการรับแจ้งเรื่องปีที่แล้ว มีตัวเลขเด็กหายทั้งหมด 289 คน

จากการสำรวจพบว่า กลุ่มที่เด็กมักหายออกจากบ้านมากที่สุด เป็นช่วงอายุระหว่าง 11-15 ปี เป็นการสมัครใจออกจากบ้าน ปัจจัยส่วนหนึ่ง เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบ้าน อาจไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา จึงกลายเป็นช่องว่างระหว่างครอบครัวที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจออกจากบ้านไป

ส่วนกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่พบว่าเด็กมีอาการป่วย หรือบกพร่องทางสติปัญญา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนเด็ก ๆ ทั่วไป ประกอบกับผู้ปกครองขาดศักยภาพในการเลี้ยงดู เด็กกลุ่มนี้มีความน่าเป็นห่วง เพราะเมื่อหายออกจากไปบ้านไป โอากาสที่จะถูกหลอก หรือเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายในสังคมสูง เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ในกรณีของเด็กที่ถูกลักพาตัวไป ลักษณะคล้ายกับเหตุการณ์ของน้องมาร์ติน อาจมีสาเหตุหลัก 2 ส่วน ที่เป็นแรงจูงใจในการก่อเหตุ

คือต้องการนำเด็กไปกระทำทางเพศ และรองลงมาคือ ประเภทรักใคร่เด็กโดยเสน่หา เพราะเด็กวัยนี้เป็นช่วงที่กำลังน่ารัก น่าเอ็นดู

นายฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานหลักสูตรอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล วิเคราะห์ถึงปัญหากรณีที่เด็กถูกลักพาตัวจากคนแปลกหน้า มองสภาวะของสังคมสมัยนี้ เข้าลักษณะของของสังคมผู้สูงอายุ ที่มีจำนวนมาก ขณะที่อัตราการเกิดลดลง

เด็กรุ่นใหม่เติบโตขึ้นจนถึงขั้นเรียนจบมหาวิทยาลัย จำนวนไม่น้อยที่มีความคิด ไม่อยากมีคู่ครอง ด้วยสภาพปัญหา และปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม เป็นต้น จนทำให้อายุล่วงเลยเกินเกณฑ์ที่จะมีลูก และสิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาการมีลูกยาก

แต่ในขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งในสังคมยังมีบางครอบครัว ที่อาจไม่มีศักยภาพในการเลี้ยงลูก เป็นผลมาจากฐานะยากจน หรือไม่มีเวลาเลี้ยงดู พ่อแม่ต้องออกไปทำงานหาเงิน จึงฝากให้ปู่ ย่า ตา ยาย เลี้ยงดูตามลำพัง อย่างเช่น กรณีของน้องมาร์ติน เมื่อจังหวะและโอกาส เอื้อต่อการก่อเหตุของมิจฉาชีพ ที่ต้องการพรากเด็กออกจากความดูแลจากผู้ปกครอง เพื่อเด็กไปแสวงหาประโยชน์ จึงมีให้เห็นบ่อยครั้ง

วิธีการนี้อาจมีคนกลางเข้ามาหา โดยที่ไม่ได้มีความรักต่อเด็ก แต่ต้องการมาแสวงหาผลประโยชน์ โดยไม่ได้สนใจว่าวิธีการนำเด็กมาเลี้ยงด้วยวิธีใด หรือได้มาแบบไหน

ตามหลักทฤษฎีอาชญาวิทยา ในการประกอบอาชญากรรม มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน หรือที่เรียกว่า สามเหลี่ยมอาชญากรรม คือ ผู้กระทำผิด เหยื่อหรือเป้าหมาย และโอกาส หมายถึงช่วงเวลา สถานที่ เอื้อต่อการลงมือของผู้ต้องหา เช่น ผู้หญิงเดินคนเดียวอยู่ริมทางในซอยรกร้าง และถูกโจรปล้น เช่นเดียวกันกับที่ ปู่ และย่า ของน้องมาร์ติน ปล่อยให้คนแปลกหน้าอุ้มไป โดยอาศัยจังหวะ หรือหลอกล่อด้วยวิธีต่าง ๆ

นายฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล

นายฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล

นายฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล

ถ้าอยู่ในกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน และอาจจะไม่มีเวลาเลี้ยงดูทั้งคู่ จึงขาดประสิทธิภาพในการติดตาม หรือแจ้งตำรวจ สุดท้ายก็ปล่อยให้เรื่องเงียบหายไป ก็มองไปในแง่ของชะตากรรม ก่อนที่จะสร้างลูกขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นช่องโหว่

นายฐนันดร์ศักดิ์ สะท้อนอีกว่า ไม่เพียงแค่สภาพแวดล้อมภายนอก สถานพยาบาลยังเป็นเป้าหมายของเหล่ามิจฉาชีพ ที่จะต้องการเข้าไปลักขโมยเด็ก ซึ่งเป็นทารกแรกเกิด โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ แต่ละวันมีคนไข้ จำนวนมาก การดูแลก็อาจไม่ทั่วถึง

จึงทำให้มีบุคคลเข้าออกของโรงพยาบาลพลุกพล่าน ง่ายต่อการเข้าถึงเด็ก บางครั้งเจ้าหน้าที่อาจไม่รู้ ว่าใครเป็นแม่หรือญาติด้วยซ้ำ

จึงเป็นช่องทางให้บางกลุ่มอาศัยจังหวะเข้ามาขโมยเด็กออกไป ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องติดป้ายข้อมือ ระบุชื่อ เพศ เพื่อให้รู้ว่าเป็นลูกของใคร

ส่วนเด็กโตอาจไม่ใช่เป้าหมาย เนื่องจากมีพัฒนาการ สื่อสารรู้เรื่อง และจดจำได้ว่าใครคือพ่อแม่

ส่วนใหญ่พ่อแม่ที่มีฐานะยากจน มักไปคลอดที่โรงพยาบาลรัฐ เพราะโรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูง บางแห่งไม่อยากรับทำคลอด เพราะหากเกิดปัญหาที่ส่งผลต่อแม่และเด็ก เสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

แนวทางแก้ปัญหาเสนอว่า สถานพยาบาลจะต้องเพิ่มมาตราการความปลอดภัย สร้างระบบยืนยันตัวตน ในการติดต่อผู้ป่วย ให้เข้มงวดขึ้น

ส่วนหน่วยงานภาครัฐ จะต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และทักษะกับป้องกันลูกไม่ให้ถูกลักพาตัว ให้กับพ่อและแม่ที่เพิ่งคลอดในสถานพยาบาล เนื่องจากบางคนเมื่อตั้งครรภ์มาแล้วอาจไม่มีทักษะในการเลี้ยงดู และเวลานั้นขาดที่ปรึกษา ไม่มีใครช่วยแนะนำ ว่าจะต้องไปตามขั้นตอนอย่างไร

ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่กำกับดูแล สำหรับครอบครัวที่ไม่พร้อมเลี้ยงบุตรหลาน และมีทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการจะนำไปอุปการะเลี้ยงดู ประสานผ่านหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น

และลดปัญหา การนำเด็กไปทิ้ง หรือทำร้าย จากผู้ปกครอง หวังเพียงแต่เจ้าหน้าที่ จะดำเนินการ ได้อย่างครอบคลุมแบบไม่ตกหล่น วิธีการนี้น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีอย่างหนึ่ง

รายงาน : ชาติชาย ถุงเงิน ผู้สื่อข่าวอาชญากรรม ไทยพีบีเอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง