ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อยากไปถูกกฎหมาย แต่ 'หนี้' รอไม่ได้ คนไทยไปทำงานญี่ปุ่นผ่านช่องทางไหน?

สังคม
21 พ.ค. 67
16:38
1,511
Logo Thai PBS
อยากไปถูกกฎหมาย แต่ 'หนี้' รอไม่ได้ คนไทยไปทำงานญี่ปุ่นผ่านช่องทางไหน?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปีที่แล้วมีคนไทยโอเวอร์สเตย์ที่ญี่ปุ่นกว่าหมื่นคน หรือ ราว 1 ใน 6 ของคนไทยทั้งหมดที่อยู่ที่นั่น ส่วนหนึ่งคาดว่า เป็นคนที่ลอบทำงาน นี่เป็นปัญหาที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นจ่อยกเลิกฟรีวีซ่าคนไทย หากตัวเลขโอเวอร์สเตย์ไม่ลดลง
ตัวเลขในปี 2566 มีคนไทยโอเวอร์สเตย์ประมาณ 11,007 คน หรือ ราว 1 ใน 6 ของคนไทยที่อยู่ที่ญี่ปุ่นทั้งหมดราว 61,771 คน

แม้ยังระบุไม่ได้ว่า คนไทยกว่าหมื่นคนที่โอเวอร์สเตย์ หรืออยู่เกินกำหนดระยะเวลาของวีซ่า ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อลักลอบทำงานหรือไม่ แต่ตัวเลขนี้สูงกว่าจำนวนคนไทย ที่ไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านกรมการจัดหางาน ที่ปัจจุบันมีเพียง 8,766 คนเท่านั้น

ในจำนวนคนไทยที่โอเวอร์สเตย์ จึงต้องมีคนที่ลักลอบทำงานปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย หากไม่ไปทำงานผ่านช่องทางที่ถูกต้อง พวกเขามี “ทางเลือก” ใดอีกบ้าง

เสี่ยงกับนายหน้าเถื่อน 

ถ้าคุณจะไปญี่ปุ่น คุณก็ต้องเรียนภาษา และใช้เวลา แต่ภาระหนี้สินมันเยอะ เลยตัดสินใจอยากรีบหาเงินมาใช้หนี้

พร หญิงวัย 38 ปี บอกเหตุผลที่เธอเลือกไปทำงานแบบผิดกฎหมายในญี่ปุ่นผ่านนายหน้าเถื่อน แม้การไปทำงานผ่านกรมการจัดหางานเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่กฎเกณฑ์ที่ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น ฝึกอบรม เรียนและทดสอบภาษาญี่ปุ่น รวมระยะเวลากว่า 5 เดือน เป็นเหตุผลสำคัญที่เธอ “รอไม่ไหว”

ก็ทักในเฟซบุ๊กว่า สนใจไปทำงานญี่ปุ่น เขาก็จะถามว่า จะไปแบบสดหรือไปแบบผ่อน

เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ตัดสินใจไปเป็นแรงงานผิดกฎหมาย เธอเลือกไปแบบจ่ายสด คือจ่ายเงินครบเต็มยอดทั้งหมดในครั้งเดียวก่อนเดินทาง ส่วนแบบผ่อน คือ เอาค่าจ้างที่ได้รับ มาหักเป็นค่าใช้จ่ายที่นายหน้าจ่ายไปก่อน

“โอนไป 15,000 แต่ไม่ได้บิน” นายหน้าเอาตั๋วเครื่องบินปลอมมาให้ เธอจึงไม่ได้เดินทาง ต่อมา เธอพบกับนายหน้ารายใหม่ คนนี้ให้จ่ายเงินมัดจำ 5,000 บาท และเตรียมเงินอีก 60,000 บาทไปจ่ายที่ญี่ปุ่น รอบนี้ เธอซื้อตั๋วเครื่องบินเอง เป็นเงิน 30,000 บาท เพื่อแฝงตัวไปกับทัวร์

ก่อนเดินทาง นายหน้าให้ใบรับรองการเป็นพนักงานจากมาด้วย ข้อมูลบนบัตรเป็นของจริง ยกเว้นรูปถ่ายบนบัตรที่เอารูปของเธอไปติดไว้ นายหน้าย้ำให้พกบัตรนี้ติดตัวตลอดเวลาที่อยู่ที่ญี่ปุ่น และแสดงบัตรให้เจ้าหน้าที่ดูทุกครั้งที่ถูกเรียกตรวจ

ใบรับรองการเป็นพนักงานของพร

ใบรับรองการเป็นพนักงานของพร

ใบรับรองการเป็นพนักงานของพร

เมื่อไปถึงญี่ปุ่นเธอแยกออกจากกลุ่มทัวร์ไปหานายจ้างหรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า ‘ซาโจ้’ นายหน้าพาเธอไปทำงานใช้แรงงานในสวน 

เขาพาไปที่ที่พักคล้ายๆ ร้านคาราโอเกะ ห้องพักเป็นลักษณะนอนรวม ประมาณ 7-8 คน แต่แยกห้องนอน ซาโจ้คือดี เขาจะจ่ายเงินเรา ครั้งแรกที่ไปทำเขาจ่ายเงินทุกวัน เป็นเงินวันละ 1,500 บาท
ที่พักของ พร ระหว่างทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่น

ที่พักของ พร ระหว่างทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่น

ที่พักของ พร ระหว่างทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่น

ทำงานสวนได้เพียง 1 สัปดาห์ ก็ต้องหยุดงาน เพราะซาโจ้บอกว่า ไม่มีงานให้ทำแล้ว อดีตผีน้อยรออย่างมีความหวังที่จะได้งานจากซาโจ้อีกครั้ง แต่สุดท้ายก็ต้องถอดใจ

‘ติ๊กต่อก’ ถูกใช้เป็นช่องทางหางานใหม่ระหว่างอยู่ที่ญี่ปุ่น ‘เงิน 70,000 บาทต่อเดือน’ คือสิ่งที่ดึงดูดใจให้เธอเลือกนายหน้ารายใหม่

เธอรวบรวมเงิน 65,000 บาทจ่ายให้กับนายหน้า แลกกับงานโรงงานประกอบตู้เกม แต่ทำได้เพียงอาทิตย์เดียวก็ต้องออกมาอีกครั้ง เพราะนายจ้างบอกไม่มีงาน รอบนี้เธอไม่ได้รับเงินค่าจ้างแม้แต่บาทเดียว เพราะนายจ้างแจ้งว่า เงินเดือนที่จะได้รับก้อนแรก ต้องหักไปจ่ายค่าประกัน เมื่อถึงจุดที่ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เธอจึงตัดสินใจกลับไทยโดยเข้าไปรายงานตัวที่ตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่น 

พี่ก็ไม่อยากให้ใครไปแบบนี้ เพราะมันเสียเยอะมาก เป็นไปได้พี่ก็อยากให้เราไปแบบกรมการจัดหางาน ไปเป็นผีน้อยที่โน่น มันลำบากมากเป็น มันไม่มีงาน ไม่มีคนรู้จัก เจอคนไทยเขาก็หลอกเอาเงินเรา

IM JAPAN ทางเลือก คนหางาน บริการของรัฐ

การเดินทางไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มี 5 วิธี คือ บริษัทจัดหางานจัดส่ง(เป็นบริษัทที่มีใบอนุญาตการจดทะเบียนเป็นตัวแทนจัดหางานต่อกรมการจัดหางาน) กรมการจัดหางานจัดส่ง เดินทางไปทำงานด้วยตัวเอง นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงาน และ นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างไปฝึกงาน

คนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านกรมการจัดหางาน

คนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านกรมการจัดหางาน

คนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านกรมการจัดหางาน

กรณีกรมการจัดหางานจัดส่ง เป็นบริการของรัฐที่ส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ กรณีประเทศญี่ปุ่น เช่น โครงการ IM ซึ่งหลังจากยื่นใบสมัครแล้วจะมีการสอบและอบรมทั้งภาษา วัฒนธรรม และ สมรรถภาพร่างกาย ใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 5 เดือน ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ไปฝึกงานโดยได้ระยะเวลาฝึกสูงสุด 3 ปี ได้รับเงินเดือน มีประกันรายได้ และเงินสนับสนุนประกอบอาชีพหลังกลับไทย พร้อมประกาศนียบัตร

นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน  บอกว่า กำลังหารือกับ IM JAPAN  ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการหารือพูดคุยกันอยู่ 

ระยะเวลาตรงนี้ เราก็พยายามจะพูดคุยกับทาง IM JAPAN เพื่อร่นระยะเวลาให้สั้นลง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการหารือพูดคุยกันอยู่ ถ้าเป็นไปได้อาจร่นระยะเวลาให้สั้นลง แต่คุณภาพยังต้องเหมือนเดิม
นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน

นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน

นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน

'wwoof' เที่ยวแนวใหม่ หรือ ช่องโหว่ลอบทำงาน

4 ปีก่อน หญิงสาวคนหนึ่ง ไปเที่ยวญี่ปุ่น 14 วัน เสียค่าใช้จ่ายไม่ถึง 2 หมื่นบาท  เธอเล่าว่า ตอนนั้น หางานผ่านเว็บไซต์ wwoof japan ได้ โฮสต์ เป็นฟาร์มเกษตรที่จังหวัดยามานาชิ งานของเธอคือห่อลูกพีชและตัดองุ่น ทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวัน ใน 1 สัปดาห์ มีวันหยุด 1 วัน ทุกเย็นหลังเลิกงาน โฮสต์ หรือ จะพาไปเที่ยว

หน้าเว็บไซต์ WWOOF

หน้าเว็บไซต์ WWOOF

หน้าเว็บไซต์ WWOOF

เหตุผลที่เธอเลือกไปท่องเที่ยวกึ่งทำงานผ่าน wwoof เพราะขณะนั้นยังเรียนอยู่ อยากได้ประสบการณ์ใช้ชีวิตใหม่ๆ และ มีข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย ซึ่ง wwoof ก็ตอบโจทย์เหล่านี้เพราะเป็นการทำงานแลกกับที่พักและอาหารฟรี

เธอบอกว่า ประสบการณ์ที่ได้ในครั้งนั้น นับว่าคุ้มค่า เพราะหากไปเที่ยวเองในระยะเวลาเท่าๆกัน ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่านี้

โชคดีที่ได้โฮสต์ที่ดี เพราะใช้งานไม่หนัก ที่พักและอาหารตรงปก และเธอก็มั่นใจในความปลอดภัย เพราะโฮสต์มีตัวตนและมีคนอื่น ให้รีวิวที่ดีแต่บางราย แชร์ประสบการณ์ว่าถูกโฮสต์ให้ช่วยสร้างบ้าน

อีกคน เป็นชายหนุ่มไปท่องเที่ยวและทำงานที่ญี่ปุ่น ผ่าน WWOOF JAPAN มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2558 และล่าสุดเมื่อปีก่อน รายนี้ตอบเหมือนกันว่า ต้องการไปหาประสบการณ์ทำงาน ได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ และใช้ชีวิตแบบที่ไม่ได้เจอในการไปเที่ยวปกติ แต่ประเด็นหลัก คือ ต้องการไปเที่ยวแบบประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียค่าที่พักและอาหารมื้อหลัก

โครงการวูฟไม่ได้มีแค่ญี่ปุ่น แต่มีไปทั่วโลก รวมถึงไทยด้วย และเว็บไซต์ยังแจ้งชัดเจนว่าไม่ได้ไปทำงาน แต่ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้ในสิ่งที่เรามีและรับในสิ่งที่ไม่เคยมี
รายละเอียดบนหน้าเว็บไซต์ WWOOF

รายละเอียดบนหน้าเว็บไซต์ WWOOF

รายละเอียดบนหน้าเว็บไซต์ WWOOF

“วูฟเฟอร์” คือ คำเรียก นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งที่สมัครสมาชิกเว็บไซต์วูฟ (wwoof) ที่มีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึง wwoof japan 

ทีมข่าว ค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์วูฟเจแปน ที่เป็นเสมือนหน้าร้านเปิดให้โฮสต์ ซึ่งมีจำนวนกว่า 300 ราย ประกาศหาอาสาสมัคร หรือ วูฟเฟอร์ ไปทำงานสวน งานบ้าน คาเฟ่ร้านอาหาร โดยไม่จ่ายค่าตอบแทนเป็นเงิน แต่ให้ที่พักและอาหาร เป็นการตอบแทน
วูฟนิยามตัวเอง ว่าเป็นการท่องเที่ยวและผจญภัย พร้อมสานสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่ แต่ยังมีคำเตือนตัวเล็กๆ ว่า อย่าสับสน คำว่า วูฟกับการทำงาน เพราะอาจถูก ตม.ญี่ปุ่นปฏิเสธการเข้าประเทศ  ทั้งโฮสต์และวูฟเฟอร์ ต่างต้องเสียค่าสมัครให้กับเว็บไซต์

โฮสต์แต่ละราย จะบอกข้อมูลต่างๆ ให้วูฟเฟอร์พิจารณา เช่น สถานะว่ากำลังเปิดรับคนหรือไม่ รูปแบบกิจการ รวมทั้ง งานของวูฟเฟอร์

รายละเอียดเงื่อนไขการทำงาน ผ่านเว็บไซต์ WWOOF

รายละเอียดเงื่อนไขการทำงาน ผ่านเว็บไซต์ WWOOF

รายละเอียดเงื่อนไขการทำงาน ผ่านเว็บไซต์ WWOOF

 

ไม่มีโฮสต์รายใดพูดถึงค่าจ้าง และ ทุกที่ กำหนดหลักเกณฑ์ระยะเวลาการอยู่อาศัยเอาไว้ไม่เท่ากัน บางรายระบุเวลาให้อยู่ได้ 8 ถึง 10 วัน แต่ โฮสต์บางราย ระบุให้นักท่องเที่ยวอยู่ได้ระยะยาวนานกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี แต่มีเงื่อนไขคือให้ทดลองทำงานในสัปดาห์แรกก่อน หากถูกใจค่อยอยู่ต่อ

ประเด็นไปเที่ยวพ่วงทำงานแลกอาหารที่พักผ่านโครงการวูฟ เป็นข้อถกเถียงในโลกออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2559 มีข้อมูลปรากฏในกระทู้พันทิป ตั้งคำถาม เช่น ไปวูฟถูกกฎหมายหรือไม่ มีคำตอบทั้งจากผู้ที่เคยไปและไม่เคยไป

ส่วนใหญ่ ตอบไปในทางเดียวกันว่า หากเป็นการไปทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต หรือ ทำงานด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ก็ถือเป็นการทำงานที่ไม่ถูกต้อง บางส่วนแสดงความกังวลว่าอาจไม่ปลอดภัย แต่ส่วนหนึ่งมองว่า วูฟ มีหลายประเทศทั่วโลก และ หากการไปวูฟผิดกฎหมาย เว็บไซต์ น่าจะถูกปิดแล้ว

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง