"แบงก์ชาติ" เผย คนไทยเปย์เกินตัว มี "หนี้เรื้อรัง" กว่า 1.8 ล้านบช.

เศรษฐกิจ
23 พ.ค. 67
16:27
593
Logo Thai PBS
"แบงก์ชาติ" เผย คนไทยเปย์เกินตัว  มี "หนี้เรื้อรัง" กว่า 1.8 ล้านบช.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แบงก์ชาติ เผยคนไทยใช้จ่ายเกินตัว มียอด"ลูกหนี้" เข้าข่ายหนี้เรื้อรัง-หนี้เรื้อรัง กว่า 1.8 ล้านบัญชี วงเงินรวม 7.4 หมื่นล้าน และกำลังเป็นหนี้เรื้อรังอีก 1.33 ล้านบัญชี เจอหนี้เรื้อรังแล้ว 4.8 แสนบัญชี เตรียมเรียกคุย ลูกหนี้-แบงก์ปรับมาตรการแก้หนี้

วันนี้ (23 พ.ค.2567) นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย ผลการสำรวจการแก้หนี้เรื้อรังของแบงก์ชาติ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2567 จากผู้ให้บริการทั้ง 37 ราย ทั้งธนาคารพาณิชย์ และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน พบว่า มีลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt : PD) ทั้งกลุ่มที่มีปัญหาและที่เป็นหนี้เรื้อรัง

โดยแบ่งเป็นลูกหนี้ที่กำลังมีปัญหาหนี้เรื้อรัง (General PD) มีจำนวน 1.33 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดภาระหนี้ถึง 60,882 ล้านบาท และกลุ่มที่เป็นลูกหนี้เรื้อรังแล้ว (Severe PD) แล้ว ที่ 4.8 แสนบัญชี คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ 14,433 ล้านบาท

จากการติดตามความคืบหน้าของมาตรการพบว่า ผู้ประกอบการบางราย ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนกับลูกหนี้ ในการเชิญชวนเข้ามาตรการแก้หนี้เรื้อรัง โดยเฉพาะไม่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ 15% เมื่อลูกหนี้เข้าโครงการแล้ว ดังนั้นส่วนนี้แบงก์ชาติมีการให้ผู้ให้บริการแจ้งเตือนกลับไปที่ลูกหนี้ใหม่เพื่อให้มีการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น

ตั้งแต่ประกาศเริ่มมาตรการพบว่ามีลูกหนี้เริ่มทยอยสมัครเข้าโครงการ แต่ยอดสมัครเข้าโครงการยังไม่มากนัก ดังนั้นแบงก์ชาติจะมีการติดตามและดูผลกระทบของมาตรการหลังจากนี้ จนถึงเดือนก.ค. ปี 2567

นางสาวสุวรรณี กล่าวอีกว่า หากพบว่ามีลูกหนี้เข้าโครงการน้อยแบงก์ชาติจะมีการหารือกลุ่มสุ่มคุยกับลูกหนี้เพิ่มเติม ถึงสาเหตุในการเข้าไม่เข้าร่วมโครงการ และจะมีการหารือกับลูกหนี้เพิ่มเติม ว่าจะมีการปรับมาตรการหรือไม่

แบงก์ชาติมองว่าโครงการนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และลดภาระดอกเบี้ยให้ลดลงมาก โดยเฉพาะยอดผ่อนชำระต่อเดือน

นางสาวสุวรรณี ตัวอย่างของการเข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง ว่า หากเป็นบัตรกดเงินสด โดยมีวงเงินต้นอยู่ที่ 15,000 บาท หากผ่อนชำระขั้นต่ำที่ 3% มาแล้ว 5 ปี จะต้องจ่ายเงินต้นอีก 8,700 บาท ซึ่งหากลูกหนี้เลือกที่จะชำระขั้นต่ำต่อไปจนครบ บนดอกเบี้ยที่ 25% ลูกหนี้จะใช้เวลาผ่อนอีก 13 ปี 5 เดือน โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยอีก 14,000 บาท ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งสัญญาอยู่ที่ 29,000 บาท

โดย หากเข้าโครงการแก้หนี้เรื้อรัง หากลูกหนี้จ่ายมาแล้ว 5 ปี เหลือเงินต้นอีก 8,700 บาท ลูกหนี้จะผ่อนต่อไปอีกเพียง 3 ปี 6 เดือน บนดอกเบี้ยที่ 15% ต่อปี หรือวงเงินผ่อนที่ 260 บาทต่องวด ทำให้เหลือดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพียง 2,500 บาท

ดังนั้นเมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วลูกหนี้จะจ่ายดอกเบี้ยทั้งสัญญาเพียง 17,500 บาท ดอกเบี้ยลดลง 11,500 บาทหากเทียบกับการผ่อนขั้นต่ำจนครบสัญญา

หลังจากนี้จะมีการมอนิเตอร์การเข้าโครงการใกล้ชิด หากพบว่าเข้าโครงการน้อย จะสุ่มคุยกับคุยกับลูกหนี้ ที่เป็นเรื้อรังแล้ว ว่าเหตุผลใดถึงไม่เข้า ซึ่งทำให้มีเวลาดูข้อมูลหลังจากนี้จนถึงไตรมาส 2 และต่อเนื่องไปถึงก.ค. ซึ่งหากเข้าไม่ได้มาก เราอาจจะมีการหารือกับเจ้าหนี้ เพื่อทบทวนและพิจารณาปรับมาตรการต่อไป

สำหรับกลุ่มลูกหนี้เรื้อรัง คือกลุ่ม สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียน ที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย หากดูคำนิยามของลูกหนี้ที่จะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ กลุ่มแรก ลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาหนี้เรื้อรัง (General PD) คือ ลูกหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม มาแล้ว 3 ปี แต่ไม่ถึง 5 ปี

ดังนั้น ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง (Severe PD) ลูกหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม มาแล้ว 5 ปี แบงก์ชาติกำหนดรายได้ลูกหนี้สำหรับธนาคารพาณิชย์ จะมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท และนอนแบงก์น้อยกว่า 10,000 บาท โดยลูกหนี้จะได้รับความช่วยเหลือให้ปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี และลดภาระดอกเบี้ยเหลือ 15%

อ่านข่าว:

ศูนย์วิจัยกสิกร เผย "สูงวัยเพิ่ม-รายได้น้อย" ฉุดบริโภคไทยวูบ 34%

ราคาทองเช้านี้ ร่วงแรง 500 บาท แนะขายกำไรระยะสั้นที่ 41,950 บาท

คลัง ตั้งงบเงินดิจิทัลเพิ่ม ไม่กระทบกรอบ คาดจ่ายทันใช้ไตรมาส 4

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง