ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "การใส่แร่" ทางเลือกรักษา "มะเร็งปากมดลูก"

ไลฟ์สไตล์
18 มิ.ย. 67
13:30
2,943
Logo Thai PBS
รู้จัก "การใส่แร่" ทางเลือกรักษา "มะเร็งปากมดลูก"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การใส่แร่เป็นวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพและทำลายเซลล์ร้ายได้อย่างแม่นยำ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจและประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการรักษา และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ

การใส่แร่ (Brachytherapy) เป็นประเภทหนึ่งของรังสีรักษา (Radiotherapy) ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง วิธีการคือนำเม็ดแร่ที่เป็นแหล่งกำเนิดของรังสี ใส่เข้าไปในร่างกายคนไข้ บริเวณที่ใกล้กับเซลล์มะเร็ง เพื่อให้รังสีทำลายเซลล์มะเร็งให้ตายลง อาจใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่น เช่นการฉายแสง หรือการผ่าตัด การใส่แร่มักใช้บ่อยกับมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, มะเร็งต่อมลูกหมาก

การใส่แร่รักษาโรคมะเร็ง

โดยทั่วไปการฝังแร่รักษาโรคมะเร็งนั้น แบ่ง เป็น 2 รูปแบบหลัก คือ

  1. การใส่แร่แบบชั่วคราว เป็นการใส่แร่ในอวัยวะที่เป็นมะเร็งโดยตรง หรือใกล้เคียงกับอวัยวะนั้น เพื่อให้ตัวแร่ปล่อยรังสีออกมาตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วดึงแร่ออก โดยที่วิธีนี้จะไม่มีเม็ดแร่และไม่มีรังสีตกค้างในตัวผู้ป่วยเลย ทำให้ไม่เกิดอันตรายแก่บุคคลรอบข้าง โรคมะเร็งที่นิยมใช้การรักษาโดยการใส่แร่แบบชั่วคราว เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก
  2. การฝังแร่แบบถาวร ตัวแร่ยังค้างอยู่ในอวัยวะและปล่อยรังสีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยแร่จะปล่อยรังสีน้อยลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาครึ่งชีวิตของแร่ประเภทนั้น ใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

ขั้นตอนการใส่แร่

  1. เตรียมตัวก่อนการรักษา ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินสภาพร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น MRI, CT scan เพื่อวางแผนการรักษา
  2. ขณะใส่แร่ ใส่อุปกรณ์เข้าไปในตำแหน่งที่ต้องการรักษา การใส่แร่อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ต้องการและตำแหน่งของมะเร็ง
  3. ติดตามผลหลังการรักษา เพื่อประเมินผลการรักษาและตรวจสอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ข้อดีของการใส่แร่

  • ส่งรังสีอย่างแม่นยำ ลดการทำลายเนื้อเยื่อปกติรอบข้าง
  • ได้ประสิทธิภาพสูงในการทำลายเซลล์มะเร็ง และสามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • การใส่แร่สามารถทำได้ในเวลาที่สั้นกว่าการรักษาด้วยรังสีบำบัดแบบปกติ

ข้อเสียและผลข้างเคียงของการใส่แร่

  • ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สะดวกตัวขณะใส่อุปกรณ์และอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
  • ผลข้างเคียง เกิดอาการระคายเคืองในบริเวณที่รับการรักษา อาการปวด หรือความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะและลำไส้
  • ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลและติดตามผลอย่างใกล้ชิดหลังการรักษา

การดูแลและป้องกัน

ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ คัดกรองด้วยวิธี Pap smear และการตรวจหาเชื้อ HPV เป็นวิธีที่สำคัญในการป้องกันและตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก นอกจากนี้ การฉีดวัคซีน HPV ก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ ทั้งนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค รวมถึงส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และการสนับสนุนการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญในการลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูก

อ่านข่าว : รพ.ธรรมศาสตร์ ยอมรับผิดปมลืมผ้ากอซในช่องคลอด

"มะเร็งปากมดลูก" วายร้ายของเพศหญิง

มะเร็งปากมดลูกเป็น 1 ใน 5 มะเร็งที่พบมากในผู้หญิงไทย พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 ในผู้หญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม การตรวจพบและการรักษาในระยะแรกเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ เพราะส่วนใหญ่มักตรวจพบในระยะที่ลุกลามแล้ว ปัจจุบันพบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงไทย ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทและกลุ่มที่เข้าถึงบริการสุขภาพได้ยาก

กว่าร้อยละ 90 สาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และการไม่ใช้ถุงยางอนามัย การสูบบุหรี่ รวมถึงผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง 

ที่มา : โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 

อ่านข่าวอื่น :  

ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา "ยุบพรรคก้าวไกล" อีกครั้ง 3 ก.ค.นี้

ศาลรัฐธรรมนูญนัดถกคดีถอด "เศรษฐา" พ้นนายกฯ 10 ก.ค.

ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ มติเอกฉันท์เลือกสว.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง