Paris 2024 ศตวรรษแห่งการเฉลิมฉลอง "โอลิมปิก" ครั้งที่ 33

กีฬา
12 ก.ค. 67
15:05
2,839
Logo Thai PBS
Paris 2024 ศตวรรษแห่งการเฉลิมฉลอง "โอลิมปิก" ครั้งที่ 33
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ฝรั่งเศส" กลับมาเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกอีกครั้งในรอบ 100 ปี หลังครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1900 และ 1924 โดย "ปารีส" เป็นเมืองหลักและมีการแข่งขันในอีก 16 เมืองทั่วประเทศ รวมถึงตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซีย ดินแดนในปกครองของเจ้าภาพ

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 จัดขึ้นที่กรุงปารีสตั้งแต่วันศุกร์ที่ 26 ก.ค. ถึงวันอาทิตย์ที่ 11 ส.ค. ถือเป็นโอลิมปิกครั้งที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศส ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 1900 โลกได้เห็นผู้หญิงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ต่อมาในการจัดการแข่งขันครั้งที่ 2 ในปี 1924 ฝรั่งเศสได้โชว์ศักยภาพสร้างหมู่บ้านโอลิมปิกแห่งแรก

หอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)

หอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)

หอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)

ครั้งนี้ในปี 2024 เมื่อการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกกลับมาจัดในประเทศแห่งศิลปะ วัฒนธรรม ความอาร์ตติส "Paris 2024" ตั้งเป้าสร้างชื่ออีกครั้งในรอบ 100 ปีบนประวัติศาสตร์โอลิมปิก ในแบบฉบับการแข่งขันที่ผสมผสานเอาทั้งวัฒนธรรมและกีฬาเข้าด้วยกัน เจ้าภาพจัดให้มีกิจกรรมมากมายที่จัดขึ้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย คอนเซปต์งานที่เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม การมีส่วนร่วมของชุมชน ดึงอดีตเข้าสู่ปัจจุบันและส่งต่อความยั่งยืนสู่อนาคต ผ่านการแสดงออกทางศิลปะและกีฬา

"ความยั่งยืน" สำหรับทุกคน

"ความยั่งยืน" ถือเป็นหัวใจหลักของการบริหารการจัดการแข่งขันโอลิมปิกปีนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฝรั่งเศสได้วางแผนเรื่องอาหารการกินของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน คาดว่าจะมีการเสิร์ฟมื้ออาหารมากกว่า 13 ล้านจานในช่วงการแข่งขัน ซึ่งจะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติตามฤดูกาลในท้องถิ่นทั่วประเทศฝรั่งเศส นำมาปรุงเป็นอาหารตามสไตล์ฝรั่งเศสอีกด้วย  

นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังปรับปรุงสถานที่เดิมที่เคยใช้ในการจัดโอลิมปิกเมื่อ 100 ปีก่อนรวมถึงสร้างสนามแข่งขันชั่วคราวในสถานที่สำคัญ ๆ ของประเทศมากถึงร้อยละ 95 ของการจัดการแข่งขันโอลิมปิกปีนี้ จุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างสถานที่มากที่สุดเท่าที่ทำได้ สำหรับสนามแข่งขันที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ ก็จะใช้นวัตกรรมการก่อสร้างที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจะถูกนำไปใช้งานต่อในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

สนามกีฬาหอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)

สนามกีฬาหอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)

สนามกีฬาหอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)

หลายสถานที่ที่เคยถูกใช้ในอดีต โอลิมปิกเมื่อปี 1924 ถูกนำมาปรับปรุงเพื่อเตรียมจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2024 ที่มีพิธีเปิดในวันที่ 26 ก.ค.นี้ เช่น 

  • สนามกีฬา Stade Olympique de Colombes ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสนามกีฬา Yves-du-Manoir สถานที่หลักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1924 หนึ่งศตวรรษต่อมา สนามกีฬาแห่งนี้จะถูกใช้งานอีกครั้ง โดยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันฮอกกี้สนาม 
  • Stade Nautique des Tourelles ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน้ำ Georges-Vallerey เคยถูกใช้ในการแข่งขันว่ายน้ำ ดำน้ำ และโปโลน้ำในปี 1924 ก็จะถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมของนักว่ายน้ำ ว่ายน้ำมาราธอน และไตรกีฬาในการแข่งขันปารีสในปี 2024 
  • หมู่บ้านนักกีฬาในอดีต ถูกปรับปรุงเป็นที่พักรองรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่สนับสนุนรวม 23,500 คนในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 และพาราลิมปิก 2024 และฝรั่งเศสยังวางแผนว่า หลังจบการแข่งขันแล้ว จะเปิดให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัย โดยมีอพาร์ตเมนต์ 2,800 ยูนิตสำหรับผู้คนประมาณ 6,000 คน ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
  • นอกจากนี้ ปารีสยังได้ปรับปรุงเส้นทางรถไฟ 3 สายและสร้างสถานี Gare du Stade ที่ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกให้กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ระยะยาวแก่ระบบขนส่งมวลชนในอนาคตอีกด้วย

สนามแข่งโอลิมปิก 2024

สนามแข่งขันกีฬาต่าง ๆ จะถูกจัดขึ้นใจกลางกรุงปารีส และส่วนใหญ่จะเป็นสนามที่สร้างขึ้นชั่วคราว รอบบริเวณสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส เช่น หอไอเฟล, จัตุรัสคองคอร์ด (Place de la Concorde) และ อนุสรณ์สถาน อูแตล เด แซ็งวาลีด Esplanade des Invalides พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทหารของฝรั่งเศสและอนุสรณ์สถาน มีหลุมฝังศพของนโปเลียน โบนาปาร์ต ที่จะเป็นเวทีสำหรับการยิงธนูทั้งของโอลิมปิกและพาราลิมปิก

จัตุรัสคองคอร์ด Place de la Concorde

จัตุรัสคองคอร์ด Place de la Concorde

จัตุรัสคองคอร์ด Place de la Concorde

ไม่ใช่แค่กรุงปารีสเท่านั้นที่จะรองรับการแข่งขัน แต่เมืองต่าง ๆ ทั่วฝรั่งเศสก็เป็นเจ้าภาพร่วมใช้จัดการแข่งขันยิงปืน แล่นเรือใบ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล และ แฮนด์บอล ความพิเศษของมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่ของโลกครั้งนี้ คือ เป็นครั้งแรกที่ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

หาด Teahupo’o บนเกาะตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซีย เกาะที่เรียกกันว่าเป็นเมืองโพ้นทะเล เกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะวินด์เวิร์ดของเฟรนช์โปลินีเซีย ที่อยู่ภายใต้การดูแลของประเทศฝรั่งเศส ก็จะถูกใช้สำหรับการแข่งขันโต้คลื่นอีกด้วย

หาด Teahupo’o บนเกาะตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซีย

หาด Teahupo’o บนเกาะตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซีย

หาด Teahupo’o บนเกาะตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซีย

ตราสัญลักษณ์ Paris 2024

ประกอบด้วยองค์ประกอบเชิงสัญลักษณ์ 3 อย่าง ได้แก่ เหรียญทอง เปลวไฟโอลิมปิก และ Marianne เป็นหญิงสาวที่สื่อถึงตัวตนความเป็นฝรั่งเศส ที่สื่อถึงคำขวัญประจำชาติฝรั่งเศส "Liberté, Égalité, Fraternité" หรือ "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" ซึ่งจะใช้ทั้งการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิก

  • เหรียญทอง สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ จุดมุ่งหมายอันสูงสุดของเหล่านักกีฬาที่เข้าแข่งขันทั้งโอลิมปิกและพาราลิมปิก ในการแข่งขันครั้งนี้ เหรียญรางวัลใจะซ้อนด้วยโลหะอีก 4 ชั้น ให้นักกีฬาได้นำไปแบ่งให้กับทีมและครุผู้ฝึกซ้อน เข้ากับคอนเซปต์ "Made of sharing" ของผู้ออกแบบ Philippe Starck
  • เปลวไฟ สัญลักษณ์แห่งพลังของโอลิมปิกและพาราลิมปิก ที่ร่วมกันสื่อความหมายอันเป็นเอกลักษณ์ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมยิ่งใหญ่ครั้งนี้
  • มารีแอนน์ สัญลักษณ์ฝรั่งเศส คือตัวแทนของจิตวิญญาณแห่งความคิดสร้างสรรค์อันกล้าหาญที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับการจัดการแข่งขันครั้งนี้ Marianne เป็นตัวแทนของค่านิยมเดียวกันกับที่พบในกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก นั่นคือ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ
โลโก้โอลิมปิก ปารีส 2024

โลโก้โอลิมปิก ปารีส 2024

โลโก้โอลิมปิก ปารีส 2024

การจัดวางองค์ประกอบให้ออกมาเป็นภาพของผู้หญิงคนหนึ่ง ก็สื่อถึงในโอลิมปิก 1900 เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ของโลกที่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าร่วม นี่ยังเป็นการอ้างอิงถึงความเท่าเทียมกันของเหล่านักกีฬาชายและหญิงรวมกัน 10,500 คนที่เข้าร่วม

"ไฟรเจส" มาสคอตโอลิมปิก-พาราลิมปิก 

"Phryges" ได้รับแรงบันดาลใจจากหมวก Phrygian ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อิสรภาพในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ถูกสวมใส่โดยทาสในสมัยนั้น มาสคอตสีแดงสด ดวงตาโตสีฟ้า ขนตาเป็นรูปธงชาติฝรั่งเศส มีความหมายสื่อถึง การส่งเสริมด้านกีฬาและครอบคลุมจริยธรรม ในการแข่งขันโอลิมปิก ไฟรเจสจะใส่ถุงเท้ายาวสีน้ำเงินทั้ง 2 ข้าง แต่ในกีฬาพาราลิมปิก ไฟรเจสจะใส่ขาเทียม 

ไฟรเจส มาสคอตโอลิมปิก-พาราลิมปิก

ไฟรเจส มาสคอตโอลิมปิก-พาราลิมปิก

ไฟรเจส มาสคอตโอลิมปิก-พาราลิมปิก

คบเพลิงโอลิมปิก

มีลักษณะเป็นผิวเรียบนูนเป็นคลื่นเลียนแบบผิวน้ำแม่น้ำแซนที่เป็นศูนย์กลางของโอลิมปิก เส้นโค้งที่นุ่มนวลดูอ่อนโยนของคบเพลิงสะท้อนถึงความสงบ วัสดุที่ใช้เป็นเหล็กรีไซเคิลที่ผลิตในโรงงานฝรั่งเศส เปลวไฟโอลิมปิกถูกจุดและส่งต่อในเดือน เม.ย.ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ จุดกำเนิดของการแข่งขันโอลิมปิกสมัยโบราณ จากนั้นจะเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วยเรือเบแลม เรือใบ 3 เสากระโดงแบบโบราณ ที่มีอายุการใช้งานกว่า 120 ปี

เรือเบแลม เรือใบ 3 เสากระโดงแบบโบราณ ที่มีอายุการใช้งานกว่า 120 ปี

เรือเบแลม เรือใบ 3 เสากระโดงแบบโบราณ ที่มีอายุการใช้งานกว่า 120 ปี

เรือเบแลม เรือใบ 3 เสากระโดงแบบโบราณ ที่มีอายุการใช้งานกว่า 120 ปี

อ่านข่าว : จุดไฟคบเพลิงโอลิมปิก นับถอยหลังปารีสเกมส์ 2024

โดยมีกำหนดขึ้นฝั่งที่เมืองมาร์กเซย วันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นขบวนวิ่งคบเพลิงจะออกเดินทางไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ รวมถึงชาติต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และถูกนำมาจุดในพิธีเปิดการแข่งขันวันที่ 26 ก.ค. ที่กรุงปารีส ก่อนจะถูกดับลงในพิธีปิดการแข่งขันในวันที่ 11 ส.ค. จากนั้นเปลวไฟพาราลิมปิกก็จะถูกจุดขึ้นอีกครั้ง เริ่มจากบ้านเกิดของกีฬาพาราลิมปิก "สโต๊ค แมนเดวิลล์" ในสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะเดินทางสู่ปารีส เพื่อเป็นสัญญาณของพิธีเปิดการแข่งขันพาราลิมปิกที่ฝรั่งเศส

คบเพลิงพาราลิมปิก ปารีส 2024

คบเพลิงพาราลิมปิก ปารีส 2024

คบเพลิงพาราลิมปิก ปารีส 2024

คบเพลิงโอลิมปิก ครั้งที่ 33 นี้ มีสีแชมเปญ ความยาว 70 ซม. น้ำหนัก 1.5 กก. ทำมาจากเหล็กรีไซเคิล ใช้เชื้อเพลิงไบโอโพรเพน และผู้ออกแบบ คือ Mathieu Lehanneur

คบเพลิงโอลิมปิก ปารีส 2024

คบเพลิงโอลิมปิก ปารีส 2024

คบเพลิงโอลิมปิก ปารีส 2024

อ่านข่าวอื่น : 

ช้างพังมะลิ อายุ 4 ปี ป่วยติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์

ความในใจ 1 ใน 23 คนทับลาน กับ "ข้อหาบุกรุกป่า"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง