สทนช.เตือน 46 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่า 19-25 ก.ย.นี้

ภัยพิบัติ
18 ก.ย. 67
07:01
17,689
Logo Thai PBS
สทนช.เตือน 46 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่า 19-25 ก.ย.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประกาศฉบับที่ 16/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และ ภาคใต้ ช่วงวันที่ 19 – 25 ก.ย.2567

วันนี้ (18 ก.ย.2567) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่า พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ในช่วงวันที่ 20-21 ก.ย.2567 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางและอ่อนกำลังลงตามลำดับ ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ทั้งนี้ สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์ จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 19-25 ก.ย.2567 ดังนี้

อ่านข่าว : "ดีเปรสชัน" ลูกแรกจ่อถล่มอีสาน จับตาแรงเป็นโซนร้อน 20-23 ก.ย.

1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ

1.1 ภาคเหนือ

  • จ.เชียงราย (อ.เมืองเชียงราย แม่สาย เชียงของ เชียงแสน เวียงแก่น ขุนตาล พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง และแม่ลาว)
  • จ.เชียงใหม่ (อ.แม่อาย ฝาง และเชียงดาว)
  • จ.แม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย)
  • จ.ตาก (อ.เมืองตาก ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง)
  • จ.ลำปาง (อ.วังเหนือ และงาว)
  • จ.พะเยา (อ.เมืองพะเยา แม่ใจ ภูซาง ปง เชียงคำ จุน และเชียงม่วน)
  • จ.น่าน (อ.เมืองน่าน เฉลิมพระเกียรติ ปัว ท่าวังผา เวียงสา ทุ่งช้าง เชียงกลาง บ่อเกลือ สองแคว และภูเพียง)
  • จ.แพร่ (อ.เมืองแพร่ เด่นชัย สอง ลอง และวังชิ้น)
  • จ.อุตรดิตถ์ (อ.เมืองอุตรดิตถ์ ลับแล พิชัย ทองแสนขัน และท่าปลา) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย วังทอง และเนินมะปราง)
  • จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า และหล่มสัก)

1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • จ.เลย (อ.นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และปากชม)
  • จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย และโพธิ์ตาก)
  • จ.บึงกาฬ (อ.เมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา และบึงโขงหลง)
  • จ.อุดรธานี (อ.เพ็ญ บ้านดุง และหนองหาน)
  • จ.สกลนคร (อ.อากาศอำนวย สว่างแดนดิน คำตากล้า และพรรณานิคม)
  • จ.นครพนม (อ.เมืองนครพนม บ้านแพง ศรีสงคราม ท่าอุเทน นาหว้า โพนสวรรค์ ปลาปาก และธาตุพนม)
  • จ.ชัยภูมิ (อ.เมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า จัตุรัส และคอนสวรรค์)
  • จ.ขอนแก่น (อ.เมืองขอนแก่น)
  • จ.นครราชสีมา (อ.เมืองนครราชสีมา เมืองยาง ลำทะเมนชัย และพิมาย)
  • จ.กาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และกมลาไสย)
  • จ.มุกดาหาร (อ.เมืองมุกดาหาร และนิคมคำสร้อย)
  • จ.มหาสารคาม (อ.เมืองมหาสารคาม และโกสุมพิสัย)
  • จ.ร้อยเอ็ด (อ.เมืองร้อยเอ็ด เสลภูมิ ทุ่งเขาหลวง และเกษตรวิสัย)
  • จ.ยโสธร (อ.เมืองยโสธร ป่าติ้ว และคำเขื่อนแก้ว)
  • จ.อำนาจเจริญ (อ.เมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน)
  • จ.สุรินทร์ (อ.เมืองสุรินทร์ ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี จอมพระ สนม โนนนารายณ์ และศีขรภูมิ)
  • จ.ศรีสะเกษ (อ.เมืองศรีสะเกษ ราษีไศล และยางชุมน้อย)
  • จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ ตาลสุม น้ำยืน พิบูลมังสาหาร และน้ำขุ่น)

1.3 ภาคตะวันออก

  • จ.นครนายก (อ.เมืองนครนายก ปากพลี และบ้านนา)
  • จ.ปราจีนบุรี (อ.เมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี และกบินทร์บุรี)
  • จ.สระแก้ว (อ.เมืองสระแก้ว และอรัญประเทศ)
  • จ.ชลบุรี (อ.เมืองชลบุรี บางละมุง และศรีราชา)
  • จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง และนิคมพัฒนา)
  • จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ และมะขาม)
  • จ.ตราด (อ.เมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง และเกาะกูด)

1.4 ภาคใต้

  • จ.ชุมพร (อ.ท่าแซะ และสวี)
  • จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ)
  • จ.พังงา (อ.เมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง)
  • จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
  • จ.สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองสุราษฎร์ธานี คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง และเวียงสระ)
  • จ.กระบี่ (อ.เขาพนม)
  • จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช เชียรใหญ่ ลานสกา ถ้ำพรรณรา และทุ่งใหญ่)
  • จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง สิเกา ย่านตาขาว กันตัง ห้วยยอด รัษฎา และวังวิเศษ)
  • จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ และควนขนุน)
  • จ.สตูล (อ.เมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง)

2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ สุโขทัย ตาก อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ระนอง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ตรัง และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก

3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย (อ.แม่สาย จ.เชียงราย) แม่น้ำกก (อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ อ.เมืองเชียงราย และเชียงแสน จ.เชียงราย) แม่น้ำอิง (อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา) แม่น้ำยม (อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก) แม่น้ำป่าสัก (อ.หนองไผ่ และวิเชียรบุรี) แม่น้ำเลย (อ.เชียงคาน จ.เลย) ห้วยหลวง (จ.อุดรธานี) แม่น้ำสงคราม (จ.อุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ และนครพนม) แม่น้ำจันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี และมะขาม จ.จันทบุรี) แม่น้ำตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง และบ่อไร่ จ.ตราด)

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1.ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และ ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและพนังกั้นน้ำ เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ให้พร้อมใช้งาน

2.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

อ่านข่าว :

เช็กเกณฑ์ เงื่อนไขเยียวยาน้ำท่วมปี 67 จังหวัดไหนบ้างได้สิทธิ

เช็ก 13 เส้นทางน้ำท่วม "เหนือ-อีสาน" สัญจรผ่านไม่ได้

“โพนพิสัย” ยังอ่วม! รับน้ำสองทาง “น้ำโขง-เขื่อนห้วยหลวง”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง