ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ชาติพันธุ์-ไทยพลัดถิ่น” เกณฑ์ใหม่สมช.รับสัญชาติไทย 4.8 แสนคน

การเมือง
11 พ.ย. 67
16:22
2,959
Logo Thai PBS
“ชาติพันธุ์-ไทยพลัดถิ่น” เกณฑ์ใหม่สมช.รับสัญชาติไทย 4.8 แสนคน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2567 คณะรัฐมนตรี( ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการ หลักเกณฑ์เร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ตามที่สมช.เสนอ เพื่อทดแทนมติ ครม. 7 ธ.ค. 2559 และ 26 ม.ค. 2564 ให้กับบุคคล 4 กลุ่ม รวม 483,626 คน ให้ได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ถาวร หรือสัญชาติไทยรวดเร็วมากขึ้น

กลุ่มแรก เป็นกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นและผู้ที่ไร้สัญชาติ ที่เคยสำรวจไว้ตั้งแต่ปี 2527-2542 มีจำนวน 120,000 คน , กลุ่มที่ 2 สำรวจเมื่อปี 2548-2554 จำนวน 215,000 คน ส่วนกลุ่มที่ 3 กลุ่ม เป็นบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ของชนกลุ่มน้อย มีประมาณ 29,000 คน

และสุดท้าย เป็นกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ของบุคคลที่ไม่มีสถา นะทางทะเบียน โดยมีการสำรวจไปแล้วประมาณ 113,000 คน รวมทั้งหมด 483,000 คน ซึ่งครม.ได้พิจารณาลดขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว เห็นว่า หากต้องพิจารณาทั้งหมดต้องใช้เวลานานถึง 44 ปี

ข้อมูลจากการสำรวจตั้งแต่ปี 2548- 2554 พบคนไทยพลัดถิ่นและกลุ่มชาติ พันธุ์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในไทยมี 19 กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นบุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูง ที่ตกหล่นจากการสำรวจประชากร ประมาณ 215,000 คน , เป็นกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของชนกลุ่มน้อย 29,000 คน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของบุคคลที่ไม่มีสถานะตามทะเบียนประมาณ 113,000 คน

คุมเข้ม? จีนเทา สอดใส้รับสัญชาติไทย

นับตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน รัฐมีนโยบายให้เด็กกลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าเรียนโดยไม่ต้องมีเอกสารหลักฐาน มีการอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวในระดับประ ถมศึกษาเท่ากับเด็กสัญชาติไทย ขณะที่ในปี 2523 และ 2558 ครม.มีมติให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบการรักษาพยาบาล สำหรับกลุ่มคนที่มีสถานะ เฉพาะ คือ มีเลขประจำตัว 13 หลักเท่านั้น

ทำให้มีข้อจำกัดด้านสิทธิการศึกษาในทางปฏิบัติ บางโรงเรียนก็ไม่มั่นใจไม่อยากรับเด็กกลุ่มนี้ รวมทั้ง ยังมีปัญหาการเดินทางออกนอกพื้นที่อำเภอ จังหวัด เพื่อการทำงานหรือเพื่อเรียนต่อ หากไม่มีบัตรประชาชน เป็นเหตุให้เสียโอกาสในชีวิต

แม้จะการให้สัญชาติจะถือเป็นสิทธิตามกฎหมายกับคนไทยพลัดถิ่น (ผู้มีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติ ของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับ การสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร์ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ครม.กำหนด หรือเป็นผู้มีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง) และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อพยพและอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยมานานก็จริง

แต่ประเด็นดังกล่าว ได้มีการตั้งคำถามถึงมาตรการในการตรวจสอบ และขั้นตอนการอนุมัติจากสมช.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่า รัดกุมและเข้มข้นพอที่จะไม่ให้มีการสอดใส้ -และป้องกันปัญหาการทุจริตในการให้สัญชาติกับบุคคลที่ไร้สถานะทางทะเบียนอย่างไร 

แม้ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การให้สัญชาติกับกลุ่มบุคคลข้างต้น เป็นการให้สัญชาติต่อผู้ที่ยื่นขอไว้ และอยู่ในระบบของทางราชการมากว่า 30 ปี ไม่ใช่ให้สัญชาติแก่คนสีเทาๆ หรือพวกอาชญากรข้ามชาติ

การที่สมช.เสนอ ครม.ถือเป็นการลดขั้นตอนและเงื่อนไข ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2535 – 2566 มีจำนวนกว่า 825,000 คน ใช้เวลานานถึง 31 ปี ในหลายรัฐบาล แต่อนุมัติไปได้แค่ 324,000 แสนคน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีผู้เฝ้ารอที่จะได้สัญชาติจนเสียชีวิตไปไม่น้อย เนื่อง จาก ต้องรอขั้นตอนทางราชการของหน่วยงานความมั่นคงทางปกครอง มานานกว่า 30 ปี และปัจจุบันยังมีผู้ตกค้างอยู่อีกราว 483,000 คน ซึ่งสมช. เห็นว่า หากยังใช้ขั้นตอนเดิมที่ต้องตรวจสอบ และจัดทำประวัติแบบแอนะล็อก ไม่รวดเร็วและทันสมัยเท่าปัจจุบัน ต้องใช้เวลาถึง 44ปี

ข้อมูลจากสมช.ระบุว่า คนทั้ง 4 กลุ่ม ปัจจุบันกลุ่มแรกจำนวน 340,000 คน ได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและจัดเก็บฐานข้อมูลต่าง ๆหมดแล้ว ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้รับใบถิ่นที่อยู่ถาวร และต้องใช้เวลาอย่างต่ำอีก 5 ปี จึงจะสามารถขอแปลงสัญชาติเป็นไทย และเมื่อได้รับสัญชาติไทยแล้ว ก็ยังไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในทุกระดับ เนื่องจากจะต้องแปลงสัญชาติมาแล้ว อย่างน้อย 5 ปี จึงจะมีสิทธิ หรือต้องใช้ระยะเวลาอย่างต่ำ 10 ปี

ส่วนกลุ่มที่ 2 ประมาณ 143,000 คน เป็นบุตรที่เกิดจากบุคคลกลุ่มแรกที่เกิดในประเทศไทย ที่มีเอกสารการเกิดจากสถานที่เกิดต่าง ๆ ในประเทศไทย

“ในอดีตมีคนโพ้นทะเลอพยพมาในสยาม หรือประเทศไทย เรามีผู้อพยพ ยุคเวียดนามใต้ ยุคไซ่ง่อนแตก มีไทยรามัญ และหลากหลายประเทศเข้ามาอยู่อาศัย ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลก็เข้มงวดในการให้สัญชาติ โดยประเทศไทยได้ให้สัญชาติไทยไปแล้วนับล้านคน...หากมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็จะช่วยสร้าง ความมั่นคงในประเทศ ทำให้ผู้ตกสำรวจมีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาล การทำงาน ทำธุรกรรมทางการเงิน ถือเป็นการดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล” นายจิรายุ ระบุ

ขณะที่แหล่งข่าวด้านความมั่นคง ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมาไม่มีใครทราบขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดตามแนวตะเข็บชายแดนไทย ว่า เข้มงวดและถูกต้องหรือไม่ ในมุมมองของงานด้านความมั่นคง มองว่า หากรัฐบาลจะให้สัญชาติไทยโดยวิธีนี้ ต่อไปคงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญชาติอีกแล้ว

เดิมการขอขอแปลงสัญชาติไทยของคนต่างด้าว หรือกลุ่มชาติพันธุ์ต้องใช้เวลานาน 5 ปี แต่ที่เกิดขึ้นขณะนี้ใช้เวลาเพียง 5-6 เดือน และการให้สัญชาติไทยจำนวนกว่า 400,000 คน ถือว่ามากเกินไป

“ปี 2545-2547 ข้อมูลจากสมช.ที่ร่วมกับกรมการปกครอง สำรวจตัวเลข คนไทยพลัดถิ่นและคนไร้สัญชาติ ที่ไม่ได้สัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทยที่อยู่ในทะเบียนมีประมาณ 30,000-40,000 คน ต่อมาปี 2547-2549 เริ่มมีการสำรวจพบตกหล่นอยู่ประมาณ 300,000-400,000 คน และในปี 2551 มีการสำรวจอีกรอบพบผู้ตกหล่นอีก 2,000,000 คน โดยปี 2554 มีการให้สถานะสัญชาติเขาไปแล้ว คำถาม คือ ทำไมจำนวนบุคคลที่ตกสำรวจไม่ได้ลดลง ข้อมูลจึงดูแปลก ๆ ” เจ้าหน้าที่คนเดิม ระบุ

แม้ปัจจุบันจะมีระบบจัดเก็บข้อมูลประวัติลายนิ้วมือทางคอมพิวเตอร์ และการ นำระบบข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล หรือ ไบโอเมทริกซ์ (Biometric) มาใช้ในการพิสูจน์ตัวตนเพื่อลดขึ้นตอนการตรวจให้รวดเร็วขึ้น แต่กว่าจะถึงขั้นตอนนี้ ในพื้นที่ต้องการมีการรับรองตัวคนผู้ที่ขอสัญชาติ หรือได้รับสัญชาติก่อน จึงมีความเป็นไปได้ ในการสอดใส้ให้กลุ่มจีนเทา เข้ามาสวมสิทธิได้

ข้อเท็จจริงที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่จ.เชียงราย ทุกครั้งที่มีการสำรวจสถานะบุคคลเพื่อขอสัญชาติไทย จะมีรถสองแถว นำคนจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาฝั่งไทย ไปจุดที่มีการทำประชาคมหมู่บ้าน พอเขาขึ้นทะเบียนเสร็จก็กลับไป และรอให้ทางฝั่งไทยเรียกสัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่ง

ลักษณะนี้ เชื่อว่าสามารถสอดใส้ได้ จริง ๆ ในช่วงที่ต้องให้มีผู้รับรองตัวตน ในหมู่ บ้านจะให้เครือญาติ และครอบครัว รับรองไปก่อน พูดง่ายๆคือ ต่างฝ่ายต่างรับรอง จากนั้นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จึงรับรองตอนบันทึกปากคำ อีกครั้งว่า เป็นคนในพื้นที่จริงที่ตกสำรวจหรือไม่

“เช่น ในหมู่บ้านนี้ มีผู้ตกสำรวจ 200 คน ก็ให้ญาติ หรือครอบครัว มารับรองว่า เป็นคนในหมู่บ้านหรือไม่ แต่จำนวนนี้จะมีคนนอกเพิ่มเข้ามาด้วยอีก 20-30 คน ช่องว่างนี้ตรง เป็นปัญหามาก ซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่น จะต้องเข้มงวดและคุมเข้มเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากมองนโยบายนี้ ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ดี คนไร้รัฐและไร้สัญชาติที่ตกสำรวจในพื้นที่ น่าสงสาร เขาไม่มีสิทธิอะไรเลย หากเป็นคนกลุ่มนี้จริง สมควรให้สัญญาติไทยเขา

แต่ถามว่า หากคนกลุ่มนี้เป็นจีนเทา และแอบเข้ามาสวมสิทธิ จะทำอย่างไร และเราจะมีมาตรการอย่างไรในการตรวจสอบ ให้รัดกุมอีกชั้นหนึ่ง

ส่องเกณฑ์ใหม่สมช. ปรับสถานะบุคคล รับสัญชาติไทย

สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ตามนโยบายของสภาความมั่งคงแห่งชาติ (สมช.)ต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน ตามมติครม.เมื่อ 26 ม.ค.25 64 กล่าวคือ เป็นบุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 (เลขประจำตัวประเภท 6) และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลระหว่างปี พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2554 (เลขประจำตัวประเภท 0 กลุ่ม 89)

เป็นบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายในปี พ.ศ. 2542 เด็กและบุคคลที่กำลังเรียนหรือจบการศึกษาแล้ว คนไร้รากเหง้า และคนที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ ซึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ภายในวันที่ 18 มกราคม 2548 แต่ตกหล่นจากการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติตามมติคณะรัฐมนตรีในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2554 (เลขประจำตัวประเภท 0 กลุ่ม 00)

กลุ่มย่อย ต้องเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน (ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม) กลุ่มเด็กและบุคคลที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรและกำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาหรือจบการศึกษาแล้วแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย , กลุ่มบุคคลไร้รากเหง้า, กลุ่มบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ

หลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับผู้ที่สามารถได้รับสัญชาติได้ มีดังนี้ มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติและมีเลขประจำตัว 13 หลัก , ภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ มีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมือง โดยชอบด้วยกฎหมาย

ให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองเพื่อเร่งรัดคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยปรับ ให้ผู้ขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเองแทนการสอบสวนผู้ขอและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือและแทนการส่งไปตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและตรวจสอบพฤติการณ์ด้านความมั่นคงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ,ประพฤติดี ไม่เป็นภัยต่อสังคม, ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากเคยได้รับโทษดังกล่าว ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง เว้นแต่โทษในคดียาเสพติดฐานเป็นผู้ค้าหรือผู้ผลิต ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี

ยกเว้นสำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์ ไม่สามารถกลับประ เทศต้นทาง ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวใด ๆ กับประเทศต้นทาง ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

โดยผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ผอ.สำนักกิจการความมั่นคงภายใน เป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หากมีภูมิลำเนาจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาตและออกหนังสือ รับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักร โดยอธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร

ทั้งนี้เพิ่มเงื่อนไขว่า หากภายหลังปรากฏว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้มีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือมีลักษณะไม่เป็นไปสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายหลักเกณฑ์ที่กำหนด อาจถูกถอนการอนุญาตให้มีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 17 แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ประเภทไร้สัญชาตินอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าวโดยกระบวนการถอน การอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมการปกครองกำหนด

ส่วนบุตรของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้ สัญชาติไทย (เฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม ไม่รวมชาวต่างด้าวอื่น ๆ ) ปรับ ให้เป็นบุตรของบุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2554 เพื่อให้ครอบคลุมการแก้ไขทุกกลุ่มและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน

โดยบิดาหรือมารดา เป็นบุคคลที่ได้รับการสำรวจ จะต้องได้รับการจัดทำทะ เบียนประวัติ มีเลขจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมระหว่างปีพ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2554 ต้องได้รับการจัดทำทะ เบียนประวัติ มีเลขประจำตัว 13 หลักตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและต้องเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่บุตรยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย

มีหลักฐานการเกิดในไทยและมีชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ พูด เข้าใจ ภาษาถิ่นในภูมิลำเนาและภาษาไทยได้ ต้องไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี คนพิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทางการสื่อสารจิตใจ และทางพฤติกรรม ไม่เคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป

ทั้งนี้ การปรับแก้หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรแล้ว จะมีการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาใหม่เพื่อให้เร่งรัดกระบวนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำตารางเปรียบเทียบ ขั้นตอนการกำหนดสถานะ ของกลุ่มเป้าหมายในการขอมีสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน (การมอบใบสำคัญถิ่นที่อยู่) รวมถึงการขอสัญชาติไทยสำหรับบุตรคนต่างด้าวที่เกิดในไทย

และให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน โดยผู้ขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง และอำเภอหรือสำนักกิจการความมั่นคงภายใน (แล้วแต่กรณี) ในเขตกทม.และจังหวัดอื่นตามภูมิลำเนา ระยะเวลาการดำเนินการไม่เกิน 5 วัน จากเดิม 270 วัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

อ่านข่าว

“ฟอกเงิน-แชร์ลูกโซ่” ดิไอคอนกรุ๊ป เส้นทาง(ไกล)ประกันตัว 18 บอส

เปิดช่อง “ครูต่างชาติ” ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง