ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไอทีดี ชงรัฐ ขับเคลื่อน 4 อุตฯ รับมือความท้าทายโอกาสในอนาคต

เศรษฐกิจ
29 พ.ย. 67
11:34
160
Logo Thai PBS
ไอทีดี ชงรัฐ ขับเคลื่อน 4 อุตฯ รับมือความท้าทายโอกาสในอนาคต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เผยความสำเร็จแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนา 4 อุตสาหกรรม “ท่องเที่ยว เกษตรและอาหาร การแพทย์ เศรษฐกิจดิจิทัล” เตรียมนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเสนอภาครัฐ ภาคเอกชน หวังใช้สร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจประเทศ

วันนี้( 29 พ.ย.2567 ) นายสุภกิจ เจริญกุล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่งในขณะนี้ คืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว เกษตรและอาหาร การแพทย์ และเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาสถานบันได้มีการเปิดหลักสูตรผู้นำยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการพัฒนา รุ่นที่ 1 หรือ LTD เป็นการรวบหัวกะทิทั้งภาครัฐและเอกชนออกแบบยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศ เพื่อรับมือกับความท้าทายและโอกาสในอนาคต

นายสุภกิจ เจริญกุล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD

นายสุภกิจ เจริญกุล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD

นายสุภกิจ เจริญกุล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD

โดยปีนี้ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายใน 4 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ท่องเที่ยว เกษตรและอาหาร การแพทย์ และเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างงานและเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต

นายสุภกิจ กล่าวว่า สำหรับผลการศึกษาของกลุ่มที่นำเสนอด้านการท่องเที่ยว ได้ข้อสรุปว่า จะผลักดันการท่องเที่ยวทั่วไทย และยกระดับการท่องเที่ยวไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเชื่อว่าการท่องเที่ยวไทย มีการเติบโตต่อเนื่อง จาก 15 ล้านคนในปี 2553 เพิ่มเป็น 40 ล้านคนในปี 2562 มีส่วนแบ่ง 20% ของ GDP

และเริ่มฟื้นตัวในปี 2566 หลังโควิด19 ที่เติบโตกว่า 30% ขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อหัว ลดลง 15% จากปี 2560 โดยพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นจีนและเอเชีย 72% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด แต่กลับพบว่านักท่องเที่ยวจากจีนเริ่มลดลง ถือเป็นสัญญาณความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ

ข้อเสนอแนะ คือให้เพิ่มความสำคัญกับคุณภาพนักท่องเที่ยวมากกว่าจำนวน พัฒนาเมือง เชื่อมโยงท่องเที่ยวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อาหาร การคมนาคม และการแพทย์ และเชื่อมโยง Soft Power กับการท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

สำหรับภาคการเกษตร มองในเรื่องการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรไทยสู่การเป็นครัวของโลกและห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยั่งยืน เพราะภาคเกษตรเป็นพื้นฐานของสังคมและเศรษฐกิจ มีแรงงานมากกว่า 19 ล้านคน มีพื้นที่เกษตรกรรม 44% ของประเทศ

ปัจจุบันภาคเกษตรมีสัดส่วน 8.8% ใน GDP เติบโตเฉลี่ยปีละ 1.9% ซึ่งข้อเสนอให้ปรับปรุงโครงสร้างภาครัฐและนโยบายการเกษตรเพื่ออนาคต รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมและอาหาร เช่น หน่วยงานด้านการตลาด การวิจัยนวัตกรรม และการแปรรูปสินค้าเกษตร มาอยู่ภายใต้สังกัดเดียว

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอย่างครบวงจร และการพัฒนาระบบ Super Smart Agri Map ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการ และภาครัฐ

โดยใช้ข้อมูลจากการคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการติดตามราคาสินค้าเกษตรแบบเรียลไทม์ การให้คำแนะนำในการผลิตสินค้าเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการ เช่น โปรตีนทางเลือก หรืออาหารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

ผอ.สถานบันITD กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมการแพทย์ มีเป้าหมายการพัฒนาไทยสู่ศูนย์กลางธุรกิจผ่าตัดเสริมความงามระดับโลก ซึ่งไทยมีจุดแข็งจากด้านการท่องเที่ยว และบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน ถือเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และความงามจากทั่วโลกได้

โดยเสนอผลักดันให้มีการจัดตั้งหน่วยงาน Thailand Aesthetic Surgery Agency (TASA) ที่จะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตแก่แพทย์ต่างชาติ การควบคุมมาตรฐาน ระบบการจัดการข้อร้องเรียน การจัดตั้งกองทุนพัฒนาแพทย์เชิงรุก ในการสนับสนุนการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆเพื่อช่วยให้แพทย์และศัลยแพทย์ในไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้ AI , หุ่นยนต์ , และเทคโนโลยีการแพทย์ล้ำสมัย และการผ่อนปรนเรื่องการนำเข้าแพทย์ต่างชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง

การผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผ่าตัดเสริมความงามระดับโลก เพื่อสร้างการรับรู้และดึงดูดคนเข้ามาใช้บริการ รวมไปถึงการผลักดันการส่งออกเครื่องมือทางการแพทย์ที่ผลิตในไทย

ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัล มีเป้าหมายการเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วยเทคโนโลยี Generative AI เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพราะ SMEs มีสัดส่วนถึง 99.5% ของธุรกิจทั้งหมดในไทย จ้างงาน 12.8 ล้านคน คิดเป็น 71.8% ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้ถึง 35.2% ของ GDP แต่พบว่า SMEs มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้อย่างเต็มที่

หลักสูตรผู้นำยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการพัฒนา รุ่นที่ 1 หรือ LTD  เป็นการรวบหัวกะทิทั้งภาครัฐและเอกชนออกแบบยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

หลักสูตรผู้นำยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการพัฒนา รุ่นที่ 1 หรือ LTD เป็นการรวบหัวกะทิทั้งภาครัฐและเอกชนออกแบบยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

หลักสูตรผู้นำยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการพัฒนา รุ่นที่ 1 หรือ LTD เป็นการรวบหัวกะทิทั้งภาครัฐและเอกชนออกแบบยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ข้อเสนอแนะให้พัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลให้กับ SMEs ทั้งการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แรงงาน การสนับสนุนทางการเงิน การใช้โซลูชัน IT ที่เหมาะสม โดยเสนอจัดทำโครงการ TH ai prospersที่มุ่งพัฒนา SMEs ไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการโดยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นอุตสาหกรรมนำร่อง

อย่างไรก็ตามผลการศึกษาทั้งหมดสถาบันฯจะมีการนำข้อเสนอแนะ เสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนต่อไป ทั้งนี้ยืนยันข้อเสนอแนะจากผู้นำองค์กรในครั้งนี้จะไม่ได้ถูกวางไว้บนหิ้งเหมือนงานวิจัยต่างๆ เพราะสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน

อ่านข่าว:

"คลัง" โอนเงิน 10,000 รอบจ่ายซ้ำครั้งสุดท้าย 19 ธ.ค. เร่งผู้มีสิทธิผูกพร้อมเพย์

ศึกสิบทิศ “ข้าวไทย” 2568 “สต็อก” โลกล้น เขย่าธุรกิจวงการค้า

คลี่ยุทธศาสตร์การค้า โชว์พาว “สุนันทา กังวาลกุลกิจ” อธิบดีป้ายแดง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง