ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ก.แรงงาน" มุ่งผลักดันแรงงานมีฝืมือ ทำงานเกาหลีใต้

สังคม
15 พ.ค. 68
17:16
107
Logo Thai PBS
"ก.แรงงาน" มุ่งผลักดันแรงงานมีฝืมือ ทำงานเกาหลีใต้
อ่านให้ฟัง
03:01อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ก.แรงงาน หารือ สมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างเฉพาะทางแห่งสาธารณรัฐเกาหลี หวังเพิ่มจำนวนแรงงานไทยในเกาหลีใต้มากขึ้น พร้อมยกระดับจากแรงงานให้เป็นแรงงานมีทักษะมากขึ้นเพื่อเพิ่มค่าแรง -สร้างโอกาสเลื่อนตำแหน่ง

วันนี้ (15 พ.ค.2568) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมหารือกับสมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างเฉพาะทางแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบริษัทสมาชิกกว่า 56,000 แห่งทั่วเกาหลีใต้ เกี่ยวกับการจัดหาแรงงานไทยไปทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

นายยุน ฮัก ซู ประธานสมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างเฉพาะทางแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เปิดเผยว่า แรงงานไทยมีคุณภาพสูง ขยัน มีทัศนคติที่ดี และปรับตัวเก่ง เป็นแรงงานที่ตลาดแรงงานเกาหลีใต้ต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคก่อสร้างที่กำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนจากสังคมสูงวัยและคนรุ่นใหม่เลือกงานสายนี้น้อยมาก

อัตราค่าจ้างแรงงานก่อสร้างในเกาหลี อยู่ที่ ประมาณ 276,000 วอนต่อวัน หรือ 6,400 บาทต่อวัน และจะสูงขึ้น หากเป็นแรงงานมีทักษะฝีมือ เช่น ช่างเชื่อม จะได้ค่าจ้างประมาณ 300,000 วอนต่อวัน หรือ 7,000 บาทต่อวัน

นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังสนใจที่จะรับผู้จัดการงานก่อสร้าง หรือ วิศวกรจบใหม่จากไทยไปดูแลแรงงานไทยในไซต์งาน

รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า เป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะด้านการก่อสร้าง ทักษะภาษา และหรือความรู้ด้านวิศวกรรม ซึ่งแรงงานที่ถูกจัดส่งจะต้องผ่านการฝึกอบรม ทดสอบฝีมือ และรับรองมาตรฐานจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

สำหรับแรงงานไทยที่ทำงานภาคการก่อสร้างในเกาหลีใต้ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 9,000 คน โดยเป็นการจัดส่งในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ประเภทวีซ่า E9 เป็นแรงงานไร้ทักษะฝีมือ

ขณะนี้ กระทรวงแรงงาน กำลังผลักดัน เพื่อให้สามารถจัดส่งแรงงานกลุ่มในรูปแบบเอกชนต่อเอกชน วีซ่า E7 แรงงานมีทักษะฝีมือ เพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น และมีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง และต่ออนุญาติทำงานต่อได้

ปัจจุบัน แนวโน้มแรงงานผีน้อย หรือ แรงงานผิดกฎหมายไทยมีแนวโน้มลดลงในรอบ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ กว่า 130,000 คน จากเดิมที่เคยพุ่งสูงกว่า 200,000 คน ทำให้การรับแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายจึงมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น

อ่านข่าว : แรงงานไทย “หนี้” เต็มกระเป๋า 98.8% ชี้ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ไม่สอดคล้องยุคของแพง

1 พ.ค.วันแรงงาน แรงงานทั่วประเทศ ร่วมยื่น 9 ข้อเรียกร้อง 

"ผีน้อย" ลด ก.แรงงาน เปิดโควตาส่ง 10,000 แรงงานถูกกฎหมาย 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง