บรรดาหัวกะทิของอาเซียนใช้เวลาถึงสองปีในการร่าง “วิสัยทัศน์ประ ชาคมอาเซียน 2045” โดยมีการประชุมหารือกันถึง 22 ครั้ง เพื่อจัดทำวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย ครอบคลุมทั้งหมด 1,860 คำ กล่าวโดยสรุป คือ อาเซียนในอนาคต ต้องเป็นประชาคมที่ยืดหยุ่น มีนวัตกรรม มีพลวัต และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 ประธานอาเซียนคือมาเลเซียจะประกาศวิสัยทัศน์ฉบับใหม่นี้ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ประชาชนกว่า 700 ล้านคนในประชาคมต่างเฝ้ารอดูว่าอนาคตของพวกเขาจะเดินไปในทิศทางใด
อย่างไรก็ดี คำถามหนึ่งที่ยังสะดุดใจคือ แผนงานอีกยี่สิบปีข้างหน้าอาจล้าสมัยก่อนถึงเวลาก็ได้ เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างยิ่ง ตัวอย่างชัดเจนคือ ไม่มีใครคาดคิดว่าสหรัฐอเมริกาจะได้ “โดนัลด์ ทรัมป์” กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง พร้อมนโยบายสุดโต่งที่มุ่ง “ทำอเมริกาให้ยิ่งใหญ่อีกครั้ง”

ในแวดวงการทูตของอาเซียนมีการพูดเปรยว่า ผู้นำอาจจำเป็นต้องปรับแก้ร่างวิสัย ทัศน์อย่างเร่งด่วนก่อนการประกาศอย่างเป็นทางการ เพราะในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา ระเบียบการเมืองระหว่างประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน สหรัฐฯ ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญในเวทีการเมืองโลก ทั้งในกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน อิสราเอล-ฮามาส รวมถึงมาตรการขึ้นกำแพงภาษีที่รุนแรงเกินคาด และจิปาภะอื่นๆ
ในร่างวิสัยทัศน์ อาเซียนได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับตัวและตอบ สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและเมกะเทรนด์ต่าง ๆ โดยเฉพาะความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ สมาชิกอาเซียนต้องอยู่ร่วมกับมหาอำนาจให้ได้ เพราะไม่มีทางเลือกอื่น

เป็นที่ทราบกันดีว่า อาเซียนยึดหลักไม่เลือกข้าง แต่เมื่อสถานการณ์โลกเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ก็ทำให้อาเซียนต้องเร่งเสริมความร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อรักษาสมดุลอำนาจและไม่เปิดช่องให้มหาอำนาจใดเข้ามาแทรกแซงภูมิภาค ด้วยเป้าหมายคือป้องกันการครอบงำหรือก่ออิทธิพลเหนืออาเซียน
ด้านเศรษฐกิจ อาเซียนตั้งเป้าที่จะมีบทบาทในการกำหนดกฎเกณฑ์เศรษฐกิจโลกในอนาคต ในฐานะกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยตลาดเดียวที่ยั่งยืนและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมการค้า การลงทุน และการบูรณาการภายในภูมิภาค เพื่อทำให้อาเซียนกลายเป็นศูนย์กลางด้านการผลิต นวัตกรรม และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
ในด้านสังคมและวัฒนธรรม วิสัยทัศน์เน้นว่า ประชาคมอาเซียนต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ครอบคลุม เชื่อมโยง และสร้างอัตลักษณ์ร่วมกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

วิสัยทัศน์ยังครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ปัญญ า ประดิษฐ์ และความมั่นคงทางไซเบอร์ การกีดกันทางการค้า ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน และอุปสรรคทางเศรษฐกิจอื่น ๆ
ในเรื่องความยั่งยืน อาเซียนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสีฟ้า/สีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงด้านทรัพยากร การลดความยากจน และการลดช่องว่างด้านการพัฒนา รวมถึงการดูแลผู้สูงวัยและผู้อพยพ และการเสริมพลังให้กับกลุ่มเปราะบางให้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม
สมาชิกอาเซียนยังคงยืนยันในความยึดมั่นต่อกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรอาเซียน และข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยมีประชาชนอาเซียนเป็นหัวใจของกระบวนการสร้างประชาคมในอนาคต
รายละเอียดของวิสัยทัศน์ยังมีอีกมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นแรงบันดาลใจของอาเซียนตลอดช่วงยี่สิบปีข้างหน้า มีความเป็นไปได้ที่ประชุม สุดยอดอาเซียนอาจจะตัดสินใจให้มีการปรับปรุงวิสัยทัศน์เป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้วิสัยทัศน์ทันสมัยอยู่เสมออย่างไรก็ดี
มองเทศคิดไทย โดย : กวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอาวุโส
อ่านข่าว
"ทรัมป์" ยกหูคุย "ปูติน" ชี้รัสเซีย-ยูเครนเจรจาหยุดยิงทันที
"โจ ไบเดน" ตรวจพบ "มะเร็งต่อมลูกหมาก" ชนิดรุนแรง