ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ลุ้น "ภาษีสหรัฐฯ" ขีดเส้นตายไทย สัญญาณมรณะ "วงการค้าโลก"

เศรษฐกิจ
17:44
147
ลุ้น "ภาษีสหรัฐฯ" ขีดเส้นตายไทย สัญญาณมรณะ "วงการค้าโลก"

สะเทือนวงการค้าโลก หลังสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีประเทศที่ได้ "ดุล" การค้า และไทยคือหนึ่งในนั้น ที่ถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 36% จนรัฐบาลต้องตั้ง "ทีมไทยแลนด์" ไปเจรจาขอปรับลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าภายในวันที่ 9 ก.ค.นี้  ล่าสุด "พิชัย ชุณหวิชร" รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะหัวหน้าทีมไทยแลนด์ ได้บินไปเจรจาตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา และผลลัพธ์ คือ "ยังไม่มีข้อสรุป"

ทำให้ต้องกลับมาทำข้อเสนอใหม่เพื่อยื่นให้ทางสหรัฐฯพิจารณาในวันที่ 9 ก.ค.นี้ โดยมีข้อกังวล อาจไม่ทันเส้นตายที่ทางสหรัฐฯขีดเส้นตายไว้ ต้องรอลุ้นว่า "ทีมไทยแลนด์"จะยื่นข้อเสนอใหม่แบบ WIN WIN หรือไม่ เพราะหากหาจุดสมดุลทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทยด้วยเช่นกันหากต้องถูกเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น

"ไทยพีบีเอสออนไลน์" สัมภาษณ์ นายกิตติกร กาญจนคูหา จากหจก. ชวนหลงเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา (ม้า เซรามิค) จากเตาชวนหลง จ.ลำพูน ในฐานะผู้ประกอบการรายย้อยที่ส่งสินค้าไปตลาดสหรัฐฯกว่า 80%

นายกิตติกร กาญจนคูหา ผู้จัดการฝ่ายส่งออก หจก.ชวนหลงเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา (ม้า เซรามิค) จากเตาชวนหลง จ.ลำพูน

นายกิตติกร กาญจนคูหา ผู้จัดการฝ่ายส่งออก หจก.ชวนหลงเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา (ม้า เซรามิค) จากเตาชวนหลง จ.ลำพูน

นายกิตติกร กาญจนคูหา ผู้จัดการฝ่ายส่งออก หจก.ชวนหลงเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา (ม้า เซรามิค) จากเตาชวนหลง จ.ลำพูน

กิตติกร กล่าวว่า สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัทส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ยอมรับว่าก่อนหน้านี้ไม่ได้มีแผนจะหาตลาดเพิ่ม แต่เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจและมาตรการทางภาษีของสหรัฐเปลี่ยนไป จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจเซรามิค

ดังนั้นบริษัทจึงมีแผนจะเพิ่มสัดส่วนตลาดอื่นให้มากขึ้น ควบคู่กับการทำตลาดสหรัฐฯเพราะยังมีฐานลูกค้าเดิมอยู่มานาน และแม้ว่าตลาดสหรัฐจะมีปัญหา แต่ขนาดตลาดที่ใหญ่ทำให้ตลาดนี้ยังน่าสนใจและต้องวางไว้เป็นตลาดหลักของธุรกิจต่อไป

ต้องรอดูมาตรการทางภาษีอย่างชัดเจนอีกครั้งก่อน และแม้ไม่มีมาตรการภาษี สินค้าในกลุ่มที่ส่งออกไปสหรัฐถูกเก็บภาษี 6% อยู่แล้ว โดยหลักการภาษีนำเข้าจะเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าปลายทาง แต่ในทางปฏิบัติจริงภาษีคือ ส่วนลด ที่ผู้ซื้อจะใช้ต่อรองจากผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต

นายกิตติกร กล่าวอีกว่า ถ้าสหรัฐ ฯเก็บภาษีสูง การต่อรองขอส่วนลดก็จะสูงตามไปด้วย และผู้ผลิตจะต้องกลับมาบริหารจัดการต้นทุนเพื่อคงสัดส่วนกำไร แต่หากทำไม่ได้อาจต้องยอมลดกำไรลง หมายถึง รายได้ที่จะหล่อเลี้ยงธุรกิจ รวมถึงสายป่านที่จะประคองธุรกิจให้ฝ่าความท้าทายต่างๆนั้นจะลดลงไปอย่างต่อเนื่อง เหมือนขีดความสามารถการแข่งขันทั้งกับคู่แข่ง ตัวเอง และความท้าทายลดลงไปทุกวัน

ตอนนี้สินค้าถูกเก็บจากภาษีจาก 6% ไปที่ 10% แต่หากต้องถูกเก็บภาษีที่ 36% จริงๆยอมรับว่าจะกระทบสูงมาก ปัจจุบันเริ่มมองหาแนวทางปรับตัวด้วยการ นำเสนองานดีไซด์ที่คงความโดดเด่น มีความซับซ้อนชิ้นงานน้อยลงเพื่อลดต้นทุนและทำราคาขายได้มากขึ้น ซึ่งผู้ซื้อที่สหรัฐ ค่อนข้างพอใจและยอมรับได้

พบสัญญาณสั่ง "ชะลอ"ซื้อเข้ามาแล้ว

แต่แนวทางนี้ยังไม่สามารถประเมินผลได้หากถูกภาษีในอัตราที่สูง เพราะผู้นำเข้าที่สหรัฐก็เผชิญแรงกดดันหลายทาง ทั้งเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและราคาขายที่ต้องสูงขึ้นจากภาษีนำเข้า

มีสัญญาณมาสักระยะแล้ว คือ การชะลอคำสั่งซื้อ การรอให้สต๊อกหมดจึงสั่งใหม่ และการต่อรองราคา หรือ ขอส่วนลดที่มากขึ้นเพื่อชดเชยอัตราภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม มองว่าตลาดสหรัฐ มีความโดดเด่นเฉพาะตัว คือ มีกลุ่มที่ยังมีกำลังซื้อที่สูง ประกอบกับขนาดตลาดที่ใหญ่มา เช่น บริษัทส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อ ราว 200-300 ชิ้นต่อครั้ง ผู้นำเข้านำไปวางที่สโตร์ที่มี 4,000 แห่งทั้งสหรัฐ จึงใช้เวลาไม่นานสินค้าจะขายหมด

ดังนั้นมองว่าตลาดสหรัฐยังมีโอกาสที่ดีอยู่แต่ต้องเสริมกำลังและศักยภาพให้ผู้ประกอบการคงสายป่านและประคองตัวผ่านวิกฤติครั้งนี้และที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตไปให้ได้

ชงฟื้นงาน BIG ตอบโจทย์ลูกค้ามากกว่า

สำหรับข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล อยากให้นำงานแสดงสินค้าที่มุ่งเสนอแต่งานดีไซด์ หรือ งาน BIG เฉพาะกลับมา เพราะเดิมเคยได้รับความนิยมจากผู้ซื้อที่รวมอยู่ในโปรแกรมการร่วมงานควบคู่ไปกับ งานที่ฮ่องกงและอินเดีย แต่ปัจจุบันงานดังกล่าวไม่มีแล้วหลังจากที่นำไปรวมกับงานแสดงสินค้าอื่นทำให้ไม่มีความโดดเด่นด้านการดีไซด์จึงไม่มีผู้นำมาร่วมงานแต่ยังคงเดินทางไปยังอินเดียและฮ่องกงแทน

ในส่วนแนวทางรับมือปัญหาภาษีสหรัฐ อีกด้านหนึ่ง เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบแนวทางการออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันการค้า พิจารณาศึกษาแนวทางและมาตรการส่งเสริมและกำกับดูแลเศรษฐกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับบริบทของประเทศไทย

โดยสาระสำคัญของเรื่องว่าด้วยการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลต ฟอร์มพิจารณาแนวทางในการออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล แม้ว่ากลไกของร่างกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลจะช่วยให้การกำกับดูแล การบังคับใช้และบทกำหนดโทษมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน

แต่การออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้สัดส่วนและมีประสิทธิภาพตามหลักสากล นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในประเทศไทยแล้ว ยังอาจใช้เป็นประโยชน์ในการต่อรองกับมาตรการทางภาษีศุลกากร (Tariffs) ของประเทศสหรัฐได้

หอการฯ รับได้ แผนลด "ขาดดุล" สหรัฐฯ

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นถึงข้อเสนอใหม่ที่ไทยส่งให้สหรัฐฯพิจารณา กรณีไทยจะลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 70% ภายใน 5 ปี ซึ่งปัจจุบัน ไทยเกินดุลสหรัฐฯ 46,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และได้เสนอเพิ่มการซื้อขายพลังงาน และเครื่องบินโบอิ้งเพิ่มขึ้นว่า ภาคเอกชนรับได้กับเงื่อนไข ดังกล่าว โดยเห็นว่าทีมเจรจาทำงานเต็มที่

นายพจน์   อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย

สิ่งที่ภาคเอกชน คาดหวัง จากสหรัฐคือ อยากเห็นสหรัฐฯ รับข้อเสนอของรัฐบาลไทย และขอให้ กำหนดอัตราภาษี ที่เป็นธรรม และไม่เป็นอัตราที่เสียเปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และ อยากเห็น ข้อตกลงที่เป็นลักษณะ สร้างความสมดุลของสองประเทศ แบบบ WIN WIN ทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม หากไทยถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรา 36 % จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมาก ขณะนี้ทำได้เพียงรอความชัดเจนจากทางรัฐบาลสหรัฐ ส่วนการที่ไทยจะเปิดตลาดให้สหรัฐ โดยการลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% คาดว่าของไทย คงจะไม่ลดภาษี 0% ในสินค้าทุกรายการ

นายนายพิชัย ชุณหวิชร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์

นายนายพิชัย ชุณหวิชร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์

นายนายพิชัย ชุณหวิชร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์

ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคตกล่าวกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์”ว่า ไทยส่งออกไปยังสหรัฐ ช่วง 5 เดือน(ม.ค.-พ.ค.68) มีมูลค่ารวม 27,098 ล้านดอลลาร์สหรัฐ +27.2% และมีส่วนแบ่งตลาด 19.6%

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

โดยสินค้า 5 อันดับแรก ที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มูลค่า 6,567 ล้านดอลลาร์ (+71.67%) ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่า1,985 ล้านดอลลาร์ (+10.95%) เครื่องโทรศัพท์และส่วนประกอบ มูลค่า1,802 ล้านดอลลาร์ ( +5.77% ) อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า1,049 ล้านดอลลาร์ (+21.83%) และ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 1,045 ล้านดอลลาร์ ( +55.22% )

หากทีมไทยแลนด์เสนอเงื่อนไขใหม่ไม่ทัน 9 ก.ค. ก็ยังมีโอกาสที่จะยื่นอีกครั้ง เพราะทางสหรัฐฯประกาศจะขยายเวลาไปถึง 1 ส.ค. ดังนั้นเชื่อว่ายังไม่โอกาสที่จะต่อรองตัวเลขได้ และคาดว่าน่าจะอยู่ในระดับ15-18 % แต่ก็ต้องลุ้นต่อ

ชงแผนเยียวยา "เอกชน" เจอมาตรการ "ภาษีสหรัฐฯ"

ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า เรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ คือ เจรจาภาษีสหรัฐฯ ซึ่งทีมเจรจาภาษีสหรัฐฯ ที่มีนายพิชัย ชุณหวิชร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์ ได้ส่งข้อเสนอใหม่ให้สหรัฐฯพิจารณาแล้วเมื่อวานนี้ (6 ก.ค.68) ซึ่งมีทั้งการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ การเปิดตลาดสินค้าให้แก่สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ส่วนไทยจำเป็นจะต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตรเพื่อแลกกับการลดภาษีหรือไม่

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ รมว.พาณิชย์

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ รมว.พาณิชย์

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ รมว.พาณิชย์

โดยรมว.พาณิชย์ไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธ แต่ยอมรับว่าได้มีการเตรียมแผนเยียวยาเพื่อรองรับผลกระทบจากการเจรจาภาษีสหรัฐฯไว้แล้ว

กระทรวงฯ มีแนวทางการเยียวยาหลายแนวทางผ่าน กองทุนเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก ที่รัฐบาลกันเงินสำรองไว้ราว 10, 000 ล้านจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปแผนการเยียวยาผู้เกี่ยวข้องแล้ว ต้องเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติใช้งบประมาณ

สำหรับผลการเจรจาภาษีสหรัฐฯ หากได้สรุปแล้ว จะต้องรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ และให้เป็นไปตามกฏหมายข้อตกลงระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ นายพิชัย ชุณหวชิร รมว.คลังได้เปิดเผย กับ สื่อบลูมเบิกร์ ว่า ไทยได้ยื่นข้อเสนอใหม่ต่อสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบการเก็บภาษีนำเข้าที่ 36% โดยตั้งเป้าอัตราภาษีให้เหลือภาษีต่ำสุด10-20 %

สำหรับข้อเสนอใหม่ที่ไทยส่งให้สหรัฐฯพิจารณา เช่น ไทยจะลดการเกินดุลกับสหรัฐฯ 70% ภายใน 5 ปี ปัจจุบัน ไทยเกินดุลสหรัฐฯ 46, 000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้เสนอเพิ่มการซื้อขายพลังงาน และเครื่องบินโบอิ้งเพิ่มขึ้น ล่าสุดสหรัฐฯ เตรียมส่งจดหมายอัตราภาษีใหม่กับประเทศคู่ค้ากว่า 100 ประเทศ 9 ก.ค. แต่จะเลื่อนการบังคับใช้ภาษีไปเป็นวันที่ 1ส.ค.นี้

หวั่นไทย "เสียเปรียบ"ดุลการค้าเวียดนาม

ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แสดงความกังวลว่า ไทยอาจเสียเปรียบทางการค้า เพราะเป้าหมายอัตราภาษีที่ไทยจะได้รับจากสหรัฐต้องไม่เสียเปรียบเวียดนาม เนื่องจากสินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐส่วนใหญ่ เป็นสินค้าคล้ายกับเวียดนาม เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารแปรรูป ฯลฯ หากไทยยังต้องเผชิญกับภาษี 36% ขณะที่เวียดนามจ่ายเพียง 20% จะทำให้สินค้าไทยมีต้นทุนสูงกว่า และจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทันที

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ไทยเป็น 1 ในประเทศที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯสูงประมาณ 4.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และถูกสหรัฐฯเรียกเก็บภาษี36% และยังไม่สรุปตัวเลขภาษีที่สหรัฐฯจะเรียกเก็บจริง ในขณะที่เวียดนามถูกสหรัฐเก็บภาษี 20% กรณีที่เป็นสินค้าจากเวียดนาม และสินค้าที่มีการสวมสิทธิ์โดยผ่านเวียดนามจะถูกเรียกเก็บที่ 40% และสินค้าสหรัฐฯที่นำเข้าเวียดนามภาษี0%

ประธานสอท. กล่าวอีกว่า ต้องลุ้นว่าสหรัฐฯจะเก็บภาษีไทยที่เท่าไหร่ไม่มีใครบอกได้ และก็ไม่รู้ว่าไทยจะยอมรับเงื่อนไขการไม่เก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯได้หรือไม่ แต่หากได้ลดภาษีเท่ากับเวียดนามก็ยังพอไปไหว หรือหากได้ลดต่ำกว่าเวียดนาม 5-10% ก็จะเป็นผลดีกับไทย แต่ในทางกลับกันหากไทยไม่ได้รับการลดภาษี และสหรัฐฯยึดแนวทางการเก็บภาษีที่ 36% ไทยจะเสียหายอย่างมาก แต่จะมากแค่ไหนต้องมาดูเป็นรายอุตสาหกรรมอีกครั้งหนึ่ง

ประเด็นที่น่าหนักใจเวลานี้ คือ ข้อเสนอจากเวียดนามในการเก็บภาษีนำเข้าสหรัฐฯเป็น 0%เบื้องต้นมีการตรวจสอบไม่กระทบต่อสินค้าอุปโภค บริโภค และเอสเอ็มอี (SMEs) มากมายเท่าใดนัก แต่สิ่งที่ห่วงจากการที่ไม่เก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯเป็น 0% คือ สินค้าภาคการเกษตร ซึ่งปัจจุบันสินค้าจากสหรัฐฯที่ส่งออกทางการเกษตรราคาถูก และผลิตได้ประมาณมาก

ห่วงเกษตรกรไทย 20 ล้านราย เจอผลกระทบหนัก

โดยอุตสาหกรรมเกษตร ที่จะกระทบคือ กลุ่มเกษตรกรไทย ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เลี้ยงหมู วัว ซึ่งจะกระทบกับเกษตรกร และภาคปศุสัตว์ที่มีผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมประมาณ 20 กว่าล้านราย ซึ่งเป็นหมวดที่อ่อนแอ เปราะบางต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่กลับกันอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เช่น การนำวัตถุดิบราคาถูกจากสหรัฐฯเข้ามามาแปรรูปจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปอาจจะได้ต้นทุนทีดีขึ้น กำไรมากขึ้น ส่งออกได้มากขึ้น

ในขณะเดียวกันกลุ่มที่ทำอาหารสัตว์ ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมีการส่งออกไปทั่วโลก เครื่องในหมู เครื่องในวัวจากสหรัฐฯเหล่านี้ สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารสุนัขกับแมว ซึ่งอาจจะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวโตเพิ่มมากขึ้น และอาจขยายมากกว่าที่ผ่านมา เพราะได้เปรียบ ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ได้และเสีย

สิ่งที่ห่วง คือ เกษตรกรกว่า 20 ล้านราย บางกลุ่มอุตสาหกรรมจะได้เปรียบแต่เวลานี้ไทยเปรียบเสมือนลุ้นหวยที่ออกทุกวัน เพราะไม่รู้ว่าจะถูกส่งจดหมายมาถึงเมื่อไหร่ และมีเงื่อนไขอย่างไร

เผย 3 กลุ่มสินค้าไทยรับศึกสงครามการค้า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กล่าวว่า ข้อมูล Trademap.org ปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าเกษตร (HS 01-24) ไปยังสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 4,759.5 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ไทยส่งออกเป็นมูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ อาหารสุนัขหรือแมว ข้า ปลาทูน่าปรุงแต่ง น้ำผลไม้หรือน้ำผักอื่น ๆ อาหารปรุงแต่งอื่น ๆ ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส กุ้งปรุงแต่ง กุ้งแช่แข็ง ผลไม้ ลูกนัตปรุงแต่ง และ สับปะรดปรุงแต่ง

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

สนค.แบ่งผลกระทบของสินค้าเกษตร ไทย ออกเป็น 3 กลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ประกอบด้วย สินค้าที่ไทยมีศักยภาพ เป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ อยู่อันดับต้น ๆ จึงอาจได้รับส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าเพื่อทดแทนสินค้าจีน เช่น อาหารสุนัขและแมว ข้าว ปลาแมคเคอเรลปรุงแต่ง เนื้อปลาลิ้นหมาแบบฟิลเล หน่อไม้ปรุงแต่ง

ส่วน สินค้าที่ไทยมีโอกาส เป็นกลุ่มสินค้าที่จีนครองส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ อันดับต้น ๆ ขณะที่ไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่มากนัก ซึ่งหากได้รับการผลักดันและเสริมสร้างศักยภาพทางการผลิตและการตลาดเพิ่มขึ้น อาจทำให้ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เช่น สินค้ากลุ่มพาสต้าอื่น ๆ อย่าง เส้นหมี่ วุ้นเส้น ปลาหมึกแช่แข็ง ซอสถั่วเหลือง เป็นต้น

เหลือเวลาอีก 1 วัน ที่ “ทีมไทยแลนด์”จะส่งเงื่อนไขการเจรจาใหม่กลับไปให้ทางสหรัฐฯพิจารณาภาษี ต้องลุ้นว่า 9 ก.ค. 2568 นี้ ไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีจากสหรัฐฯ อย่างไร รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เด็ดดอกไม้สะเทือนดวงดาวฉันท์ใด เจอมาตรการภาษีทรัมป์ ก็สะเทือนการค้าโลกฉันท์นั้น 

อ่านข่าว:

 ยังไม่ได้ข้อสรุป "พิชัย" รับฟีดแบ็กสหรัฐฯปรับปรุงข้อเสนอ ย้ำจุดยืนวิน-วิน

หวั่นกระทบส่งออกครึ่งปีหลัง บิ๊กเอกชนห่วงเจรจาภาษีสหรัฐฯล่าช้า

 สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% กรุงไทยฯหั่นเป้าผลิตเหลือ 1.4-.1.45 ล้านคัน