ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ถาม-ตอบ "ดร.ธรณ์" เอาหรือไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่

สังคม
23 ก.ค. 58
11:30
318
Logo Thai PBS
ถาม-ตอบ "ดร.ธรณ์" เอาหรือไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่

นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านประมงและโฆษกกรรมาธิการด้านพลังงานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้สัมภาษณ์ในรายการ "ชั่วโมงทำกิน" วันนี้ (23 ก.ค.2558) ว่าด้วยความขัดแย้งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ โดยโฆษกกรรมาธิการฯ ไม่ได้ตอบชัดเจนว่าตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ระบุว่าขณะนี้ถือว่าภาครัฐและกฟผ.ทำทุกอย่างถูกกฎหมาย

มีคำถามว่าจะเอาการท่องเที่ยว จะเอาวิถีชีวิต หรือจะเอาไฟฟ้า
คำถามนี้แปลกนะ ถ้าคำถามแรกคือมีโรงไฟฟ้าเพื่ออะไร คนกระบี่บอกว่าจะใช้พลังงานทดแทน ทางรัฐบาลบอกว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อจังหวัดในภาคใต้ ถ้าถามว่าไฟฟ้าใช้พอหรือไม่ ตอบได้ว่ามันพอเพราะตาม แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (แผน PDP) มีปริมาณไฟฟ้าเกินกว่าความจำเป็น แต่ปริมาณไฟฟ้าสำรองในภาคใต้ไม่ได้มีมากเหมือนกับไฟทั้งประเทศ ยังคงต้องใช้ไฟฟ้าจากที่อื่น ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว  นักท่องเที่ยวหรือคนที่ทำงานด้านทะเลก็คงไม่ชอบโรงไฟฟ้าเพราะเป็นห่วงทะเลมากกว่า ถ้าเรือบรรทุกถ่านหินล่มขึ้นมาก็จะเกิดปัญหาจึงไม่อยากให้สร้างโรงไฟฟ้า แต่ถ้าถามคนในภาคอุตสาหกรรม เขาก็คงคิดว่าถ้าไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้วไปใช้พลังงานอย่างอื่น ราคาก็จะพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีเชื้อเพลิงอะไรที่ถูกกว่าถ่านหิน คนในภาคอุตสาหกรรมก็ไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง เพราะค่าไฟที่สูงขึ้นกระทบต่อเขามากกว่า

กลุ่มที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ บอกว่าจุดที่สร้างโรงไฟฟ้ามีระบบนิเวศที่สมบูรณ์มาก โรงไฟฟ้าจะกระทบต่อระบบนิเวศและการประมง อาจารย์มีข้อมูลในประเด็นนี้อย่างไรบ้าง
ขณะนี้ข้อมูลยังไม่ครบ เพราะยังไม่ได้พิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) แล้วจะมีปัญหาได้ยังไง ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. อยากจะทำอะไรก็เรื่องของกฟฝ. แต่เขาจะสร้างโรงฟฟ้าไม่ได้ตราบใดที่อีไอเอกับอีเอชไอเอไม่ผ่าน ก็ออกใบอนุญาตก่อสร้างไม่ได้

ถ้าดูการความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ตอนนี้ ถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะได้หรือไม่
ก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงพลังงาน ข้อมูลบอกว่าสถิติการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เพิ่มขึ้นปีละ 7 เปอร์เซ็นต์ เฉพาะในจังหวัดภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวกว่า 10 ล้านคน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าก็จะขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยว ก็กังวลว่าถ้าจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นแล้วไฟฟ้าจะพอไหม

ถ้ามีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นที่จ.กระบี่ จะเป็นอย่างไร
ทั่วประเทศมีโรงไฟฟ้าอยู่ประมาณ 1,240 โครงการ ทุกโครงการผ่านขั้นตอนเดียวกัน ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการได้ ถ้าสงสัยก็สามารถถามได้
 
ทางออกของความขัดแย้งเรื่องโรงไฟฟ้ากระบี่ขณะนี้ควรเป็นอย่างไร
ขณะนี้หน่วยงานของรัฐทำตามประบวนการตามกฎหมาย กฟฝ.ก็ทำทุกอย่างถูกกฎหมาย เพราะฉะนั้นถ้าไปบอกเขาทำผิดกฎหมายเขาไม่ยอมเด็ดขาด ขณะที่คนในพื้นที่รู้สึกไม่ไว้วางใจ ก็เป็นสิทธิที่แสดงออกโดยที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ผมก็ไม่รู้ว่าปลายทางของเรื่องนี้อยู่ตรงไหน

โครงการนี้จะต้องใช้เวลาอีกกี่ปีจะได้ข้อสรุป
ถ้าเป็นไปตามกระบวนการปกติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะพิจารณาอีไอเอ ซึ่งในส่วนของการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อขนถ่ายถ่านหินนั้น คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอไปแล้วและส่งกลับให้เจ้าของโครงการกลับไปแก้ไข ซึ่งยังไม่ได้ส่งกลับมาให้พิจารณาอีกครั้ง ในส่วนของโรงไฟฟ้า ยังไม่ได้ส่งอีไอเอมาให้พิจารณา ถ้าอีไอเอผ่านก็เดินหน้าโครงการต่อไป แต่ถ้าผ่านไม่ได้ก็วนอยู่ตรงนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง