ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สภาอุตฯคาดศก.ดิจิทัลช่วยดันสะพัดโต 10% รอรัฐบาลแก้ก.ม.หนุน-ชงเอกชนเดินคู่ขนาน

เศรษฐกิจ
7 ส.ค. 58
09:21
176
Logo Thai PBS
สภาอุตฯคาดศก.ดิจิทัลช่วยดันสะพัดโต 10% รอรัฐบาลแก้ก.ม.หนุน-ชงเอกชนเดินคู่ขนาน

รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมาย 6 ฉบับ กระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม คาดโตกว่า 3.3 แสนล้าน มาจากตลาดอุปกรณ์เครื่องรับโทรทัศน์ ตลาดบริการคอมพิวเตอร์ และตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ จะเห็นชัดขึ้นตั้งแต่ปีหน้า คาดรัฐบาลจะประกาศนโยบาย และปฏิบัติได้ตามแผนงานเศรษฐกิจดิจิทัล ได้ชัดเจนขึ้น

วันนี้ (7 ส.ค.2558) นายจำรัส สว่างสมุทร ผู้อำนวยการใหญ่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล แม้ว่าตอนนี้จะรัฐบาลจะอยู่ระหว่างการผลักดัน แต่ก็ต้องรอขั้นตอนการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 6 ฉบับ แต่หากไม่มีปัญหาเชื่อว่า จะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและภาคการผลิตของกลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ได้กว่า 3.3 แสนล้านบาท หรือ เติบโตขึ้นกว่าปัจจุบันเฉลี่ยร้อยละ 10 ซึ่งมาจากตลาดอุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ ตลาดบริการคอมพิวเตอร์ และตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เป็นช่วงที่คาดว่า รัฐบาลจะประกาศนโยบาย และปฏิบัติได้ตามแผนงานเศรษฐกิจดิจิทัล ได้ชัดเจนขึ้น

นอกจากนี้จะเป็นช่วงหลังจากการประมูลคลื่นความถี่ 4 จี เสร็จสิ้น ทำให้ประชาชน บริโภคสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีและไอทีมากขึ้นไปด้วย ทั้งการซื้อโทรศัพท์รุ่นที่รองรับ 4 จี หรือเครื่องโทรทัศน์ ที่สามารถรองรับความคมชัดสัญญาณภาพแบบ 4 เค (4K) ซึ่งคมชัดกว่าระบบเอชดี ประมาณ 4 เท่า ซึ่งเทรนด์ของผู้บริโภค ยังสนใจการรับชมรายการโทรทัศน์ ผ่านโน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต และ โทรศัพท์มือถือเป็นหลัก

ข้อมูลจากฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระบุมูลค่าตลาดอุปกรณ์ เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ ปี 2557 มีจำนวน 88,699 ล้านบาท คาดว่าปี 2558 จะมีมูลค่า 93,220 ล้านบาท หรือ เติบโตขึ้นร้อยละ 5.1เปอร์เซนต์ โดยแบ่งตามสัดส่วนอุปกรณ์ ที่มีมูลค่าในตลาดมากที่สุดปี 2557 ได้แก่ เครื่องโทรทัศน์ จำนวน 77,488 ล้านบาท กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ทุกประเภท 7,161 ล้านบาท จานดาวเทียม 2,996 ล้านบาท และ แผงสัญญาณสายอากาศ (ก้างปลา) จำนวน 1,054 ล้านบาท

ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานกสทช.พบว่า ปัจจุบันการรับชมเนื้อหารายการโทรทัศน์ ผ่านจอโทรทัศน์ เฉลี่ย 70 นาทีต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าการรับชมเนื้อหารายการต่างๆ ผ่านทาง อุปกรณ์สื่อสารแท็บเล็ต สมาร์โฟน เฉลี่ยวันละ 150 นาที

ด้าน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า เป็นความท้าทายและโอกาสของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ที่กำลังเปลี่ยนผ่าน และมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งการรับชมรายการต่างๆ ผ่านทางสมาร์ทโฟน จะเป็นความท้าทายของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ว่า จะทำอย่างไร การรักษาฐานคนดูหน้าจอจึงจะอยู่รอด หรือ จะทำเนื้อหา (คอนเท้นท์) แบบใด ไปออกในช่องทางอินเทอร์เน็ต ผ่านอุปกรณ์มือถือมากขึ้น

ซึ่งช่วงนี้ ไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล รวมถึงการเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเดิมไปสู่การออกใบอนุญาต ก็จะทำให้ผู้ประกอบการ สามารถสร้างสรรค์ ด้านการผลิตเนื้อหาต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น รวมถึง ปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบัน สิ่งที่ท้าทายมากที่สุด คือ เนื้อหาที่จะทำให้คนรับชม และช่องทางการเสนอเนื้อหาที่ทำให้ผู้ชมเข้าถึง และการทำให้ผู้คนมีส่วนร่วม และพัฒนาไปสู่การซื้อขายสินค้าของทางรายการต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้นเหมือนในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับ "ช่องทาง" ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร, การทำ"เนื้อหา" ที่ผลิตรายการให้น่าสนใจในระหว่างที่มีคู่แข่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น และ "รูปแบบหลากหลาย" จะเป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการทุกราย

กดถูกใจหน้าเพจ ThaiPBSNews
https://www.facebook.com/ThaiPBSNews?ref=hl


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง