พรรณไม้น่ารู้ ! “หมักม่อ” ไม้ป่าดอกสวย ณ อุทยานแห่งชาติตาดโตน


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

17 เม.ย. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
พรรณไม้น่ารู้ ! “หมักม่อ” ไม้ป่าดอกสวย ณ อุทยานแห่งชาติตาดโตน

ธรรมชาติน่าศึกษา Thai PBS Sci & Tech ขอพาไปรู้จัก พรรณไม้น่ารู้ ! “หมักม่อ” ไม้ป่าดอกสวย ณ อุทยานแห่งชาติตาดโตน จ.ชัยภูมิ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ : 𝘙𝘰𝘵𝘩𝘮𝘢𝘯𝘯𝘪𝘢 𝘸𝘪𝘵𝘵𝘪𝘪 (Craib) Bremek. อยู่ในวงศ์ : RUBIACEAE

“หมักม่อ”

สำหรับลักษณะทั่วไปของ “หมักม่อ” เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 6-8 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนมีขนอ่อนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น แตกกิ่งเป็นชั้น คล้ายกับฉัตร มีทรงพุ่มกลม โปร่ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เป็นคู่ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบค่อนข้างนิ่ม มีขนาดใหญ่ และเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ปลายใบ และโคนใบแหลม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มีดอกย่อย 5-12 ดอก ดอกย่อยรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และบานโค้งงอกลับ โคนกลีบด้านในมีแต้มสีเขียวและแถบประสีม่วงเข้ม ดอกบานคว่ำลง

“หมักม่อ”

เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 เซนติเมตร  มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลสด รูปทรงกลม ขนาด 3-4 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ แข็ง มีรอยตะเข็บสีน้ำตาลเป็นสันเล็กน้อย แบ่งครึ่งลูก เนื้อผลมีรสหวานเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าละเมาะ


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)

ภาพ : วิษณุรักษ์ ศรีบัณฑิต นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

หมักม่อไม้ป่าพรรณไม้น่ารู้พืชพรรณน่ารู้อุทยานแห่งชาติตาดโตนวิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (เซบา บาสตี้)

บทความ NOW แนะนำ