Thailand Web Stat
ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำไม “เครื่องบินโดยสาร” ยุคใหม่ มี “เครื่องยนต์” ที่ใหญ่กว่าในอดีต


Logo Thai PBS
แชร์

ทำไม “เครื่องบินโดยสาร” ยุคใหม่ มี “เครื่องยนต์” ที่ใหญ่กว่าในอดีต

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1383

ทำไม “เครื่องบินโดยสาร” ยุคใหม่ มี “เครื่องยนต์” ที่ใหญ่กว่าในอดีต
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

หากเรามองไปที่เครื่องบินโดยสารที่เราใช้งานกันในปัจจุบันเราจะพบว่าเครื่องยนต์เจ็ตของเครื่องบินมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำไมเครื่องยนต์ของเครื่องบินในยุคใหม่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเก่า หาคำตอบได้ในบทความนี้

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน (Turbofan) คือขุมพลังหลักของเครื่องบินโดยสารในปัจจุบัน เพราะด้วยประสิทธิภาพต่อการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ในกลุ่มนี้มากกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นอย่างมาก เราจึงเห็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนติดตั้งในเครื่องบินโดยสารแทบจะทุกลำ

เครื่องยนต์เครื่องบิน

เครื่องยนต์เครื่องบิน

แต่เมื่อเรามองเข้าไปในตัวเครื่องยนต์เหล่านี้เราจะพบสิ่งที่น่าสนใจอยู่อย่างหนึ่ง ในเครื่องบินรุ่นเก่า ๆ หรือที่มีอายุมากแล้ว ตัวเครื่องยนต์ของเครื่องบินนั้นจะมีขนาดที่เล็ก เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เครื่องใหม่ในยุคใหม่ ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเครื่องบินในยุคใหม่ขนาดของเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าในอดีต แล้วทำไมเครื่องยนต์ของเครื่องบินในยุคสมัยใหม่ถึงมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าอดีตกัน ทั้งที่เครื่องบินบางลำมีขนาดและน้ำหนักที่แทบจะใกล้เคียงกัน

ภาพถ่ายเครื่องบิน Boeing 737-300 ของ USAir ที่เป็นเครื่องพัฒนาต่อยอดจากเครื่อง Boeing 737-200 เห็นได้จากการเปลี่ยนเครื่องยนต์ขนาดเล็กเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนขนาดใหญ่ CFM56 ภาพถ่ายโดย Aero Icarus

ภาพถ่ายเครื่องบิน Boeing 737-300 ของ USAir ที่เป็นเครื่องพัฒนาต่อยอดจากเครื่อง Boeing 737-200 เห็นได้จากการเปลี่ยนเครื่องยนต์ขนาดเล็กเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนขนาดใหญ่ CFM56 ภาพถ่ายโดย Aero Icarus

Boeing 737 คือหนึ่งในตัวอย่างที่ดีในการอธิบายถึงเรื่องราวนี้ เครื่องบิน Boeing 737 เป็นเครื่องบินลำตัวแคบที่ออกมาในช่วงทศวรรษที่ 1960 ซึ่งเครื่องยนต์ของเครื่องบินในเวลานั้นใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กตระกูล Pratt & Whitney JT8D โดยเรียกเครื่องยนต์ประเภทนี้ว่า Low Bypass Turbofan ซึ่งมันถูกติดตั้งในเครื่องบิน Boeing 737 เจเนอเรชันแรกในรุ่น Boeing 737-100 และ Boeing 737-200 ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1980 ภายหลังจากวิกฤติราคาน้ำมันพุ่งสูง Boeing ได้ออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของเครื่องบินตระกูล Boeing 737 มาใหม่ในชื่อเจเนอเรชัน Boeing 737 Classic เครื่องบิน Boeing 737 ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นในตระกูล CFM56 ที่เป็นเครื่องยนต์ประเภท High Bypass Turbofan ในเครื่องบินเจเนอเรชัน Classic นี้ยังมีขนาดของลำตัวเครื่องบินที่เล็กและใกล้เคียงกับเครื่องบินในรุ่นก่อนหน้าอย่าง Boeing 737-100 และ Boeing 737-200 และเราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนได้มากที่สุดในเครื่องบินรุ่น Boeing 737 MAX ที่มีการเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมากอย่างเครื่องยนต์ตระกูล LEAP-1B ที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในเครื่องบินตระกูล Boeing 737 ใหญ่ถึงขั้นที่ว่าการออกแบบต้องยกเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นจากการติดตั้งในเครื่องบินเจเนอเรชันเดิมเพื่อให้สามารถติดตั้งเครื่องยนต์ชนิดนี้เข้าไปที่ใต้ปีกได้

ภาพถ่ายเครื่องบิน Boeing 737 MAX 8 ที่สามารถเห็นขนาดของเครื่องยนต์ที่ใหญ่มากเป็นพิเศษ ภาพจาก pjs2005

ภาพถ่ายเครื่องบิน Boeing 737 MAX 8 ที่สามารถเห็นขนาดของเครื่องยนต์ที่ใหญ่มากเป็นพิเศษ ภาพจาก pjs2005

สาเหตุที่เครื่องยนต์เครื่องบินในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้นมากเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ในอดีต เป็นผลมาจากความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มระยะทางในการดำเนินการ และความประหยัดในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ที่มีขนาดที่ใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้นต่อหน่วยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง นั้นหมายถึงการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและลดต้นทุนในการดำเนินงานของสายการบิน แต่พัฒนาเพียงแค่ขนาดของเครื่องยนต์ไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพการทำงานและประหยัดน้ำมันขึ้นเพียงอย่างเดียว ต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนด้วยจากประเภท Low Bypass เป็นเครื่องยนต์แบบ High Bypass

ภาพถ่ายเครื่องยนต์ Pratt & Whitney JT8D เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนรุ่นเก่าที่ถูกติดตั้งบนเครื่องบิน Boeing 727-100 LAS Cargo ในเที่ยวบิน HK-1271 ภาพถ่ายโดย Pablo Andrés Ortega Chávez

ภาพถ่ายเครื่องยนต์ Pratt & Whitney JT8D เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนรุ่นเก่าที่ถูกติดตั้งบนเครื่องบิน Boeing 727-100 LAS Cargo ในเที่ยวบิน HK-1271 ภาพถ่ายโดย Pablo Andrés Ortega Chávez

เครื่องยนต์แบบ High Bypass คือเครื่องยนต์ที่มีสัดส่วนของอากาศที่ไม่ได้ผ่านห้องเผาไหม้มากกว่าอากาศที่ผ่านห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ อากาศที่ไม่ได้ผ่านห้องเผาไหม้จะมีประโยชน์ในการบินในความเร็วต่ำจากการสร้างแรงผลักและระบายความร้อนจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ทำงานได้ดีขึ้น

เครื่องบินพาณิชย์นั้นเป็นเครื่องบินที่บินในความเร็วที่ต่ำกว่าเสียงอยู่แล้ว (Subsonic) นั่นทำให้ประโยชน์ของการใช้เครื่องยนต์แบบ High Bypass แสดงออกมาได้อย่างชัดเจน คือการที่เครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันมากขึ้นกว่าเครื่องยนต์รุ่นเก่าที่เป็นเทคโนโลยีแบบ Low Bypass อีกทั้งยังทำให้ห้องโดยสารเงียบกว่าเดิมอีกด้วย

ภาพเครื่องยนต์ CFM International LEAP บนเครื่องบิน Boeing 737 MAX ภาพถ่ายจาก Clemens Vasters

ภาพเครื่องยนต์ CFM International LEAP บนเครื่องบิน Boeing 737 MAX ภาพถ่ายจาก Clemens Vasters

แต่ก็ใช่ว่าเครื่องยนต์แบบ High Bypass จะมีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อเครื่องยนต์ใหญ่ขึ้นหมายถึงเครื่องยนต์จะมีพื้นที่หน้าตัดต้านลมที่มากขึ้นด้วย เครื่องบินที่ติดตั้งเครื่องยนต์แบบ Low Bypass จะสามารถทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่าเครื่องบินที่ติดตั้งเครื่องยนต์สมัยใหม่ที่เป็นประเภท High Bypass เช่นในเครื่องบิน Boeing 707 ที่ใช้เครื่องยนต์ Pratt & Whitney JT8D สามารถทำความเร็วสูงสุดได้มากถึง Mach 0.89 หรือ 965 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเทียบกับเครื่องบินรุ่นใหม่อย่าง Boeing 737 MAX ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูงขนาดใหญ่เข้าไปจะสามารถทำความเร็วได้เพียง Mach 0.79 หรือ 839 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาพถ่ายเครื่องบิน Boeing 737-200 ของสายการบิน South Africa Airline ภาพถ่ายโดย Montague Smith

ภาพถ่ายเครื่องบิน Boeing 737-200 ของสายการบิน South Africa Airline ภาพถ่ายโดย Montague Smith

ดังนั้นสาเหตุที่เครื่องบินในปัจจุบันมีเครื่องยนต์ที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นทั้งหมดก็เป็นเพราะว่าทางผู้ผลิตและสายการบินต้องการเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อน เพื่อให้ต้นทุนในการดำเนินการของสายการบินในแต่ละเที่ยวบินลดลง ผู้ผลิตเครื่องบินจึงเลือกเปลี่ยนเครื่องยนต์ของเครื่องบินเป็นเครื่องยนต์ประเภท High Bypass Turbofan เพื่อให้เครื่องยนต์ของเครื่องบินมีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และยิ่งเครื่องยนต์มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น อัตราการ Bypass ที่สูงขึ้น ประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันของเครื่องบินก็จะมากยิ่งขึ้น นั้นทำให้เป็นสาเหตุว่าทำไมเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่เราเห็นในปัจจุบันจึงมีขนาดที่ใหญ่กว่าเครื่องยนต์ของเครื่องบินในอดีต

เรียบเรียงโดย จิรสิน อัศวกุล
พิสูจน์อักษร ศุภกิจ พัฒนพิฑูรย์


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เครื่องยนต์เครื่องบินเครื่องยนต์เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนTurbofanเครื่องบินThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech เทคโนโลยีTechnologyนวัตกรรมInnovationInnovation Tech World
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด

Failed to load player resources

Please refresh the page to try again.

ERROR_BYTEARK_PLAYER_REACT_100001

00:00

00:00

ให้คะแนนการอ่านข่าวนี้